|
รีวิวพิพิธภัณฑ์ |
 |
|
|
|
|
|
พิพิธภัณฑ์รูปเหมือนเจ้าอธิการวัดฉลอง – โพสต์เมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2555
วัดฉลองเป็นวัดที่ประชาชนเคารพเลื่อมใสและมีนักท่องเที่ยวไปเที่ยวชมจำนวนมาก มีความเจริญอย่างรวดเร็วกว่าวัดอื่น ๆ ในภูเก็ต ด้วยเหตุที่ประชาชนจะมาสักการะบูชาหลวงพ่อแช่ม ซึ่งมีกิตติศัพท์ในทางคงกระพันชาตรี เนื่องจากมีประวัติว่าในสมัยรัชกาลที่ 5 เกิดจลาจลโดยอั้งยี่ที่เข้ามาเป็นกรรมกรเหมืองแร่ได้เข้าปล้นบ้านเรือนราษฎรเป็นที่เสียหาย และชาวบ้านหวาดกลัวภัยพากันหลบหนีเข้าป่าหมด แต่หลวงพ่อแช่มไม่ยอมหนีและคิดทำผ้าประเจียดสีขาวลงเลขยันต์แจกลูกศิษฐ์ใช้โพกศีรษะสู้รบกับพวกอั้งยี่จนแตกพ่ายไป
คำสำคัญ :
พระเกจิอาจารย์, วัตถุธรรม, วัดฉลอง,
|
|
พิพิธภัณฑ์ภูเก็ตไทยหัว – โพสต์เมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2555
ก่อนจะมาเป็นพิพิธภัณฑ์ “ภูเก็ตไทยหัว” ในปี 2553 อาคารโรงเรียนจีนหลังนี้ได้สร้างขึ้นในปี 2477 เป็นแหล่งเรียนรู้ภาษาจีนที่เก่าแก่ที่สุดของภูเก็ต
ภายในพิพิธภัณฑ์มีนิทรรศการทั้งหมด 13 ห้อง ซึ่งจัดแสดงวิถีชีวิตชาวจีนภูเก็ตตั้งแต่แดนดินถิ่นกำเนิดการเดินทางมา การก่อร่างสร้างตัว ความสัมพันธ์กับจีน แบบอย่างของผู้ประสบความสำเร็จ ประวัติโรงเรียน ครูใหญ่คนสำคัญ อาชีพสำหรับภูมิปัญญา ประเพณีพิธีกรรม ตึกเก่าชิโน-ยูโรเปียน การแต่งกาย และอาหารชาวบาบ๋า รวมทั้งวีดีทัศน์และภาพยนตร์อีก 14 เรื่อง
คำสำคัญ :
โรงเรียนภูเก็ตไทยหัว, ภูเก็ต, ชิโนโปรตุกีส, บ้านประวัติศาสตร์,
|
|
พิพิธภัณฑ์เปลือกหอย ภูเก็ต – โพสต์เมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2555
พิพิธภัณฑ์เปลือกหอย ก่อตั้งขึ้นโดยคุณสมนึก ปัทมคันธิน ผู้ซึ่งสนใจเรื่องราวเกี่ยวกับเปลือกหอย คุณสมนึกเริ่มศึกษาค้นคว้าอย่างจริงจัง รวมถึงรับซื้อและแลกเปลี่ยนเปลือกหอยจากคนภูเก็ต ผู้สนใจหอยทั่วไป จากเรืออวนลาก จากชายฝั่งที่ต่าง ๆ เป็นเวลาหลายสิบปี ทำให้มีเปลือกหอยแปลกใหม่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จึงคิดสร้างพิพิธภัณฑ์เปลือกหอยขึ้น
คำสำคัญ :
สัตว์ทะเล, ทรัพยากรธรรมชาติ, หอย, ธรรมชาติวิทยา,
|
|
ศูนย์วัฒนธรรมชาวเลบ้านทุ่งหว้า – โพสต์เมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2555
ชุมชนบ้านทุ่งหว้า หมู่ 5 ตำบลคึกคัก อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา เป็นชุมชนชาวเลกลุ่มมอแกน หรือชาวไทยใหม่ ที่ตั้งถิ่นฐานมานานกว่าร้อยปี แต่เมื่อเกิดภัยพิบัติสึนามิเมื่อปลายปี 2547 ชุมชนทั้งชุมชนได้รับความเสียหายทั้งผู้คน ทรัพย์สิน และบ้านเรือน ที่ดินที่เคยครอบครองร่วมกันทั้งชุมชนจำนวน 26 ไร่ ชาวบ้านไม่มีสิทธิ์เข้าปลูกบ้านเรือนอาศัยอยู่แบบเดิมได้
คำสำคัญ :
ชาวเล, มอแกน, เรือก่าบาง, อูรักลาโว้ย, มอแกลน, ชาติพันธุ์,
|
|
พิพิธภัณฑ์พระครูวินัยสารนิเทศก์ – โพสต์เมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2555
วัดสุวรรณคูหา หรือที่ชาวบ้านทั่วไปเรียกว่า "วัดถ้ำ" เป็นวัดที่น่าสนใจ และมีความสำคัญ ที่สุดวัดหนึ่งของจังหวัดพังงา เนื่องจาก เป็นโบราณสถาน ที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ โบราณคดี ในบริเวณ ที่ตั้งวัด มีภูเขาลูกหนึ่ง ซึ่งเขาลูกนี้มีถ้ำใหญ่น้อยหลายแห่งทั้งที่ต่ำและที่สูง ถ้ำที่สำคัญได้แก่ ถ้ำใหญ่ ถ้ำแจ้งถ้ำมืด และถ้ำแก้ว พื้นถ้ำเรียบ เพดานโค้งครึ่งวงกลมเหมือนประทุนเรือ ตลอดความยาวของถ้ำ ประดับตกแต่งด้วยกระเบื้องถ้วยจานเชิงลายคราม และเบญจรงค์ ชนิดขนาดต่างๆ ถ้ำใหญ่ใช้เป็นวิหาร มีพระพุทธรูปปูนปั้นต่าง ๆ ประดิษฐานอยู่จำนวนหลายองค์ที่สำคัญคือ พระพุทธไสยาสน์ ขนาดยาว 7 วา 2 ศอกองค์หนึ่งสวยงามมาก
คำสำคัญ :
โบราณสถาน, พระพุทธรูป, โบราณวัตถุ, เครื่องถ้วย, วัด,
|
|
พิพิธภัณฑ์เทพนารายณ์ภรณ์ – โพสต์เมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2555
วัดนารายณิการามเดิมชื่อว่าวัดในเหล เหตุที่ชื่อว่าวัดนารายณิการามเพราะมีการขุดค้นพบเทวรูปนารายณ์ในบริเวณวัด โดยในปี พ.ศ. ๒๕๒๒ พระครูโสภณประชานุกูล เจ้าอาวาสวัดนารายณิการามได้นำภิกษุและสามเณรไปช่วยกันขุดโคนต้นตะแบก พบเศียรและชิ้นส่วนของเทวรูปพระนารายณ์ พระลักษมณ์ และนางสีดา จึงนำมาประดิษฐานไว้ที่วัด โดยเทวรูปดังกล่าวทำด้วยหินขนาดใหญ่มีความสูงเท่าตัวคน(คนสิบคนยกไม่ขึ้น) เป็นศิลปะแบบปัลลวะ อินเดียใต้ ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๒-๑๔
คำสำคัญ :
พระพุทธรูป, โบราณวัตถุ, เครื่องปั้นดินเผา, วัด,
|
|
|
|
|