สัญญาไทย-ฝรั่งเศส ครั้งสมเด็จพระนารายณ์ฯ
หน้าที่ ๑
|

คลิกที่ภาพด้านบน เพื่อชมภาพความละเอียดสูง
|
อักษรที่มีในจารึก |
ไทยอยุธยา
|
ศักราช |
พุทธศักราช
๒๒๓๐ |
ภาษา |
ไทย |
วัตถุจารึก |
กระดาษแข็งสีขาว |
ลักษณะวัตถุ |
แผ่นสี่เหลี่ยมผืนผ้า |
ด้าน/บรรทัด |
จำนวน ๑๒ หน้า มี ๒๔๙ บรรทัด |
บัญชี/ทะเบียนวัตถุ |
ใน ประชุมจดหมายเหตุอยุธยา ภาค ๑ พ.ศ. ๒๕๑๐ กำหนดเป็น “สัญญาไทย-ฝรั่งเศส ครั้งสมเด็จพระนารายณ์” |
|
|
ผู้ปริวรรต |
คณะกรรมการจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์วัฒนธรรมและโบราณคดี สำนักนายกรัฐมนตรี (พ.ศ. ๒๕๑๐) |
เชิงอรรถอธิบาย |
๑. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “โกษาธิบดี” เดิมคือ กรมคลัง มีการเปลี่ยนชื่อตั้งแต่สมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ เป็นหน่วยงานในสังกัดพระคลังสินค้า มีหน้าที่ติดต่อกับพ่อค้าและการค้าขายกับต่างชาติ รับผิดชอบการจับจ่ายและเก็บรักษาพระราชทรัพย์ที่ได้จากอากรและส่วย ดูแลพระราชทรัพย์และผลประโยชน์ของแผ่นดิน
๒. หอสมุดแห่งชาติ (พ.ศ. ๒๕๒๘) : มูสู หมายถึง “นาย” เป็นคำหน้าหน้าชื่อผู้ชาย มาจากคำภาษาฝรั่งเศสว่า Monsieur (เมอร์สิเออร์)
๓. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “มูสูลาลูเบ” คือ Monsieur Simon de LaLoubère เกิดเมื่อ พ.ศ. ๒๑๘๕ ที่เมืองตูลุส ประเทศฝรั่งเศส เดินทางเข้ามาในกรุงศรีอยุธยาในฐานะทูต เพื่อเจรจาทางด้านเศรษฐกิจการเมืองและศาสนาโดยออกเดินทางจากเมืองแบรสต์ เมื่อวันที่ ๑ มีนาคม พ.ศ. พ.ศ. ๒๒๓๐ ถึงกรุงศรีอยุธยาเมื่อวันที่ ๒๗ กันยายนในปีเดียวกัน ก่อนการทำสนธิสัญญาฉบับนี้ได้เข้าเฝ้าถวายพระราชสาสน์ของพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ แด่สมเด็จพระนารายณ์ที่พระบรมมหาราชวังพระนครศรีอยุธยา เมื่อวันที่ ๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๒๓๐ ลาลูแบร์ ใช้เวลาอยู่ในไทย ๓ เดือน ๖ วัน ได้บันทึกเหตุการณ์ต่างๆ ในช่วงเวลานั้นไว้และมีการตีพิมพ์ครั้งแรกที่กรุงอัมสเตอร์ดัมใน พ.ศ. ๒๒๓๔ ชื่อ “Du Royame de Siam” ต่อมาถูกแปลเป็นภาษาอังกฤษ ตีพิมพ์ที่กรุงลอนดอน เมื่อ พ.ศ. ๒๒๓๖ ในชื่อ “A New Historical Relation of the Kingdom of Siam” ได้รับการแปลเป็นภาษาไทย ๒ ครั้ง ครั้งแรกแปลจากภาษาอังกฤษในปี ๒๔๕๗ โดย พระนราธิปประพันธ์พงศ์ ในชื่อ “พงศาวดารสยามครั้งกรุงศรีอยุธยา” ครั้งที่ ๒ แปลจากภาษาฝรั่งเศส โดย นายสันต์ ท. โกมลบุตร ตีพิมพ์ในชื่อ “จดหมายเหตุลาลูแบร์ ฉบับสมบูรณ์” เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๐ เอกสารที่ LaLoubère เขียนไว้นับว่ามีประโยชน์อย่างมากในการศึกษาด้านประวัติศาสตร์และสังคมในสมัยอยุธยา เนื่องจากมีการบันทึกข้อมูลและบรรยายอย่างละเอียด นอกจากนี้ยังมีการวาดภาพรวมทั้งแผนที่ประกอบอีกด้วย
๔. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “มูสูสุปเรศ” คือ MonsieurCeberet
๕. หอสมุดแห่งชาติ (พ.ศ. ๒๕๒๘) : “ฝรั่งษ” หมายถึงประเทศฝรั่งเศส มาจากคำภาษาฝรั่งเศส ว่า France (ฟรังซ์)
๖. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : กุมบันหยี = company (บริษัท)
๗. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : หมายถึง สมเด็จพระนารายณ์มหาราช (ครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. ๒๑๙๙-๒๒๓๑)
๘. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “จังกอบ” คือ ภาษีที่เก็บตามด่านขนอนทั้งทางบกและทางน้ำ โดยชักส่วนสินค้า ๑ ใน ๑๐ ส่วน หรือเก็บเงินตามขนาดพาหนะที่ขนสินค้า
“ขนอน” หมายถึง ด่านเก็บภาษี ตั้งอยู่ปากทางที่จะเข้าเขตราชธานีทั้งทางบกและทางน้ำ นอกจากนี้ยังเป็นจุดตรวจสิ่งของต้องห้ามและอาวุธต่างๆตามกฏหมายรวมถึงส่งข่าวด่วนไปยังพระนครอีกด้วย ค่าอากรเรือผ่านด่านขนอน คิดตามความกว้างของเรือ ที่เรียกว่า “ค่าปากเรือ” ด่านขนอนในสมัยอยุธยามีอยู่ทั้ง ๔ ทิศ โดยคุมเส้นทางคมนาคมที่สำคัญของแม่น้ำลำคลองรอบกรุง
“ฤชา” หมายถึง ค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บจากราษฎรผู้มาติดต่อให้รัฐอำนวยความสะดวกต่างๆ เช่น การออกฉโนดที่ดินและเงินค่าปรับไหม เป็นต้น
๙. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : กปั่น = กำปั่น เป็นเรือเดินทะเลแบบฝรั่ง หัวเรือเรียวแหลม มีเสากระโดง ๓ เสา มีใบเรือ โดยทั่วไปมีขนาดใหญ่กว่าเรือสำเภา และมีการติดตั้งปืนใหญ่บนเรือด้วย
๑๐. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “ระวาง” หมายถึง ที่ว่างสำหรับบันทุกของในเรือ
อนึ่ง คำอ่านปัจจุบันที่นำมาลงในฐานข้อมูลนี้ ได้ทำการปรับเปลี่ยนการสะกดคำบางคำจากคำอ่านที่ตีพิมพ์ในประชุมจดหมายเหตุสมัยอยุธยา พ.ศ. ๒๕๑๐ เนื่องจากในปัจจุบันคำเหล่านั้นได้มีการสะกดต่างไปจากเดิม ส่วนเชิงอรรถโดยหอสมุดแห่งชาตินั้น นำมาจากคำอธิบายศัพท์ในบทความเรื่อง “บันทึกรายวัน ของออกพระวิสุทธสุนทร (โกษาปาน) ราชทูตไทยไปฝรั่งเศสสมัยอยุธยา” ในวารสาร ศิลปากร ปีที่ ๒๘ ฉบับที่ ๖ (ม.ค. ๒๕๒๘) หน้า ๒๗-๑๔๕ |
|