ชื่อจารึก |
จารึกวัดใต้เทิง ๑ |
ชื่อจารึกแบบอื่นๆ |
- |
อักษรที่มีในจารึก |
ธรรมอีสาน |
ศักราช |
พุทธศักราช
๒๓๕๓ |
ภาษา |
ไทย |
ด้าน/บรรทัด |
จำนวนด้าน ๒ ด้าน มี ๓๔ บรรทัด ด้านที่ ๑ มี ๒๐ บรรทัด ด้านที่ ๒ มี ๑๔ บรรทัด |
วัตถุจารึก |
ไม้ ประเภทสักทอง |
ลักษณะวัตถุ |
รูปใบเสมา |
ขนาดวัตถุ |
กว้าง ๕๕ ซม. สูง ๑๔๓ ซม. หนา ๙ ซม. |
บัญชี/ทะเบียนวัตถุ |
๑) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น "อบ. ๑๓"
๒) ในวารสาร ศิลปากร ปีที่ ๑๕ ฉบับที่ ๓ (กันยายน ๒๕๑๖) กำหนดเป็น "จารึกบนไม้สัก อักษรไทยเหนือ ภาษาไทย"
๓) ในหนังสือ จารึกในประเทศไทย เล่ม ๕ และ ศิลาจารึกอีสานสมัยไทย - ลาว กำหนดเป็น "จารึกวัดใต้เทิง ๑" |
ปีที่พบจารึก |
พุทธศักราช ๒๕๑๑ |
สถานที่พบ |
วัดใต้เทิง (ปัจจุบันคือ วัดพระเจ้าใหญ่องค์ตื้อ หรือวัดใต้) ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี |
ผู้พบ |
พระศรีจันทราคุณ เจ้าอาวาสวัดใต้เทิง (ปัจจุบันคือ วัดพระเจ้าใหญ่องค์ตื้อ หรือวัดใต้) อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี |
ปัจจุบันอยู่ที่ |
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร จังหวัดกรุงเทพมหานคร |
พิมพ์เผยแพร่ |
๑) วารสารศิลปากร ปีที่ ๑๕ ฉบับที่ ๓ (กันยายน ๒๕๑๔) : ๘๔ - ๙๑.
๒) จารึกในประเทศไทย เล่ม ๕ (กรุงเทพฯ : หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร, ๒๕๒๙), ๒๖๓ - ๒๖๙.
๓) ศิลาจารึกอีสานสมัยไทย - ลาว (กรุงเทพฯ : คุณพินอักษรกิจ, ๒๕๓๐), ๓๙๙ - ๔๐๔. |
ประวัติ |
จารึกวัดใต้เทิง ๑ นี้ พระศรีจันทราคุณ เจ้าอาวาสวัดใต้เทิง (ปัจจุบันคือ วัดพระเจ้าใหญ่องค์ตื้อ หรือวัดใต้) อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี ได้มอบให้กรมศิลปากรในคราวที่นายธนิต อยู่โพธิ์ อธิบดีกรมศิลปากรขณะนั้น เดินทางไปตรวจราชการภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เมื่อวันที่ ๒๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๑๑ |
เนื้อหาโดยสังเขป |
ข้อความจารึกกล่าวถึงอัครวรราชครูปุสสีตธรรมวงศา พร้อมด้วยลูกศิษย์และญาติโยม, พระพรหมวรราชวงศาภูมินทร์ เจ้าเมืองอุบลฯ และบรรดาเสนาอมาตย์ มีศรัทธาสร้างวิหารและพระพุทธรูปไว้กับศาสนา |
ผู้สร้าง |
อัครวรราชครูปุสสีตธรรมวงศา |
การกำหนดอายุ |
ข้อความจารึกบรรทัดที่ ๑ ระบุ จ.ศ. ๑๑๙๒ ซึ่งตรงกับ พ.ศ. ๒๓๗๓ อันเป็นสมัยที่พระพรหมวรราชสุริยวงศ์ (พรหม) เป็นเจ้าเมืองอุบลราชธานี ซึ่งขณะนั้นเป็นประเทศราชขึ้นต่อราชอาณาจักรไทย ตรงกับสมัยที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ปกครองราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. ๒๓๖๗ - ๒๓๙๔) |
ข้อมูลอ้างอิง |
เรียบเรียงข้อมูลโดย : นวพรรณ ภัทรมูล, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., ๒๕๕๐, จาก :
๑) ประสาร บุญประคอง และเทิม มีเต็ม, "คำอ่านจารึกบนไม้สัก อักษรไทยเหนือ ภาษาไทย," ศิลปากร ๑๕, ๓ (กันยายน ๒๕๑๔) : ๘๔ - ๙๑.
๒) ประสาร บุญประคอง และเทิม มีเต็ม, "จารึกวัดใต้เทิง ๑," ใน จารึกในประเทศไทย เล่ม ๕ : อักษรธรรมและอักษรไทย พุทธศตวรรษที่ ๑๙ - ๒๔ (กรุงเทพฯ : หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร, ๒๕๒๙), ๒๖๓ - ๒๖๙.
๓) ธวัช ปุณโณทก, "จารึกวัดใต้เทิง ๑," ใน ศิลาจารึกอีสานสมัยไทย - ลาว : ศึกษาทางด้านอักขรวิทยาและประวัติศาสตร์อีสาน (กรุงเทพฯ : คุณพินอักษรกิจ, ๒๕๓๐), ๓๙๙ - ๔๐๔.
๔) เติม วิภาคย์พจนกิจ, ประวัติศาสตร์อีสาน, พิมพ์ครั้งที่ ๓ (กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ๒๕๔๒), ๙๑ - ๑๒๘.
๕) ฝ่ายวิชาการ สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์, ๕๓ พระมหากษัตริย์ไทย : ธ ทรงครองใจไทยทั้งชาติ (กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์, ๒๕๔๓), ๓๐๙ - ๓๓๐. |
ภาพประกอบ |
ภาพสำเนาจารึกจาก : จารึกในประเทศไทย เล่ม ๕ (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, ๒๕๒๙) |
ชุดคำค้น |
อายุ-จารึก พ.ศ. 2353, อายุ-จารึกพุทธศตวรรษที่ 24, วัตถุ-จารึกบนไม้, ลักษณะ-จารึกบนใบเสมา, ที่อยู่ปัจจุบัน-จารึกในพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ พระนคร, ยุคสมัย-จารึกสมัยรัตนโกสินทร์, ศาสนา-จารึกในพระพุทธศาสนา, เรื่อง-การบริจาคและการทำบุญ, เรื่อง-การบริจาคและการทำบุญ-สร้างพระวิหาร, เรื่อง-การบริจาคและการทำบุญ-สร้างพระพุทธรูป, บุคคล-อัครวรราชครูปุสสีตธรรมวงศา, |