ชื่อจารึก |
จารึกวัดพวกชอด (เชียงราย) |
ชื่อจารึกแบบอื่นๆ |
๑.๒.๑.๑ วัดพวกชอด พ.ศ. ๒๐๓๔, ชม. ๙ จารึกวัดพวกชอด (เชียงราย) (พ.ศ. ๒๐๓๔) |
อักษรที่มีในจารึก |
ฝักขาม |
ศักราช |
พุทธศักราช
๒๐๓๔ |
ภาษา |
ไทย |
ด้าน/บรรทัด |
จำนวน ๑ ด้าน มี ๗ บรรทัด |
วัตถุจารึก |
หินทรายสีแดง |
ลักษณะวัตถุ |
รูปใบเสมา |
ขนาดวัตถุ |
กว้าง ๔๙ ซม. สูง ๘๙ ซม. |
บัญชี/ทะเบียนวัตถุ |
๑) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “ชม. ๙”
๒) ในหนังสือ ประชุมจารึกล้านนา เล่ม ๔ กำหนดเป็น “๑.๒.๑.๑ วัดพวกชอด พ.ศ. ๒๐๓๔”
๓) ในหนังสือ จารึกล้านนา ภาค ๒ เล่ม ๑ กำหนดเป็น “ชม. ๙ จารึกวัดพวกชอด (เชียงราย) (พ.ศ. ๒๐๓๔)” |
ปีที่พบจารึก |
ไม่ปรากฏหลักฐาน |
สถานที่พบ |
พุทธสถานเชียงใหม่ ตำบลช้างคลาน อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ |
ผู้พบ |
ไม่ปรากฏหลักฐาน |
ปัจจุบันอยู่ที่ |
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ |
พิมพ์เผยแพร่ |
๑) ประชุมจารึกล้านนา เล่ม ๔ (เชียงใหม่ : คลังข้อมูลจารึกล้านนา สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, ๒๕๔๓), ๖๕-๗๕.
๒) จารึกล้านนา ภาค ๒ เล่ม ๑ : จารึกจังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน และแม่ฮ่องสอน (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, ๒๕๕๑), ๓๕. |
ประวัติ |
ใน ประชุมจารึกล้านนา เล่ม ๔ สันนิษฐานว่า “วัดพวกชอด” นี้เป็นวัดเดียวกับวัดร้าง ในเขตอำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ ที่พบศิลาจารึกหลักนี้ (พ.ศ. ๒๔๘๖) เบื้องต้นได้นำไปไว้ที่วัดเกตุการาม ตำบลวัดเกตุ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ต่อมาได้ย้ายไปไว้ที่ พุทธสถาน ตำบลช้างคลาน อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ และใน พ.ศ. ๒๕๑๔ ได้มอบให้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่ |
เนื้อหาโดยสังเขป |
ในปี พ.ศ. ๒๐๓๔ พระมหาเทวีทรงสร้างวัดพวกชอด บนที่ดินและหมู่บ้านซึ่งพระโอรสได้ทรงอุทิศไว้ พระนางได้มอบหมายให้ลุงของพระเจ้าแผ่นดินร่วมกับข้าราชการในนครเชียงรายสร้างจารึกหลักนี้ขึ้น |
ผู้สร้าง |
ไม่ปรากฏหลักฐาน |
การกำหนดอายุ |
กำหนดอายุโดยคำนวณจากข้อความจารึกบรรทัดที่ ๑-๒ ซึ่งกล่าวไว้ว่า “ปีรวงไค้ เดินยี่ ออกค่ำหนึ่ง วันพุธ ไทยวันกาบสี” ตรงกับวันที่ ๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๐๓๔ อันเป็นสมัยที่พญายอดเชียงราย ปกครองเมืองเชียงใหม่ (พ.ศ. ๒๐๓๐-๒๐๓๘) |
ข้อมูลอ้างอิง |
เรียบเรียงข้อมูลโดย : นวพรรณ ภัทรมูล, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., ๒๕๔๙, จาก :
๑) โครงการวิจัย : การปริวรรตและชำระจารึกล้านนา, “บัญชีจารึก จังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน และแม่ฮ่องสอน,” ใน จารึกล้านนา ภาค ๒ เล่ม ๑ : จารึกจังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน และแม่ฮ่องสอน (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, ๒๕๕๑), (๒๙)-(๕๙).
๒) โครงการวิจัย : การปริวรรตและชำระจารึกล้านนา, “ชม. ๙ จารึกวัดพวกชอด (เชียงราย) (พ.ศ. ๒๐๓๔),” ใน จารึกล้านนา ภาค ๒ เล่ม ๑ : จารึกจังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน และแม่ฮ่องสอน (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, ๒๕๕๑), ๓๕.
๓) ฮันส์ เพนธ์, “๑.๒.๑.๑ วัดพวกชอด พ.ศ. ๒๐๓๔,” ใน ประชุมจารึกล้านนา เล่ม ๔ : จารึกในพิพิธภัณฑ์ฯ เชียงใหม่ (เชียงใหม่ : คลังข้อมูลจารึกล้านนา สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, ๒๕๔๓), ๖๕-๗๕. |
ภาพประกอบ |
ภาพสำเนาจารึกจาก : จารึกล้านนา ภาค ๒ เล่ม ๒ : จารึกจังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน และแม่ฮ่องสอน (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, ๒๕๕๑) |
ชุดคำค้น |
อายุ-จารึก พ.ศ. 2034, อายุ-จารึกพุทธศตวรรษที่ 21, ยุคสมัย-จารึกสมัยล้านนา, ยุคสมัย-จารึกสมัยล้านนา-พญายอดเชียงราย, วัตถุ-จารึกบนหิน, วัตถุ-จารึกบนหินทราย, วัตถุ-จารึกบนหินทรายสีแดง, ลักษณะ-จารึกบนใบเสมา, ศาสนา-จารึกในพระพุทธศาสนา, ที่อยู่ปัจจุบัน-จารึกในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่, เรื่อง-การสร้างปราสาท, เรื่อง-การบริจาคและการทำบุญ, เรื่อง-พิธีกรรมทางศาสนา, เรื่อง-การบริจาคและการทำบุญ, เรื่อง-การบริจาคและการทำบุญ-สร้างวัดหรือศาสนสถาน, เรื่อง-การบริจาคและการทำบุญ-ถวายที่ดิน, บุคคล-กษัตริย์และผู้ครองเมืองเชียงใหม่, |
|
|
|
|
|