|
Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database |
|
Record |
|
 |
Subject |
ม้ง, เมี่ยน, ลีซู, ลาหู่, ลเวือะ, ลัวะ,ปกาเกอะญอ จกอ คานยอ (กะเหรี่ยง),โพล่ง โผล่ง โพล่ว ซู (กะเหรี่ยง), ชาวเขา,จักรวาลวิทยา,กระบวนการเคลื่อนไหวทางศาสนา,ศาสนาคริสต์,จิตสำนึกชาติพันธุ์,ภาคเหนือ |
Author |
Claes Corlin |
Title |
The Politics of Cosmology : An Introduction to Millenarianism and Ethnicity among Highland Minorities of Northern Thailand |
Document Type |
บทความ |
Original Language of Text |
ภาษาอังกฤษ |
Ethnic Identity |
ลีซู, ลาหู่ ลาฮู, ลัวะ, ลเวือะ ในเวบไซต์และในเครือข่ายเรียกตนเองว่า ละว้า, เมี่ยน อิวเมี่ยน, ม้ง, โพล่ง โผล่ง โพล่ว ซู กะเหรี่ยง, ปกาเกอะญอ จกอ คานยอ กะเหรี่ยง,
|
Language and Linguistic Affiliations |
ไม่ระบุ |
Location of
Documents |
ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร |
Total Pages |
16 |
Year |
2000 |
Source |
Civility and Savagery, ed. Andrew Turton |
Abstract |
การเคลื่อนไหวเพื่อโลกใหม่ที่ดีขึ้น(millenarian) ในหมู่ชาวเขาทางเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เกิดจากองค์ประกอบหลายอย่าง เช่น ความหมายทางวัฒนธรรมของชาวเขากลุ่มต่าง ๆ สถานะทางเศรษฐกิจ-การเมืองระหว่างปลายศตวรรษที่ 19 ถึงศตวรรษที่ 20 อิทธิพลทางวัฒนธรรมของชนส่วนใหญ่ที่ปกครองอยู่ (อาทิเช่น วัฒนธรรมพุทธนิกายเถรวาท) รวมทั้งอิทธิพลของมิชชันนารี (หน้า 116) ความหมายทางวัฒนธรรม หมายถึง วิถีทางเฉพาะที่ถือปฏิบัติในการเคลื่อนไหวเพื่อโลกใหม่ที่ดีกว่า แม้ว่าจะมีลักษณะร่วมกับแบบแผนการเคลื่อนไหวแบบ millenarian ทั่วไป แต่ก็จะมีลักษณะเฉพาะทางวัฒนธรรมสำหรับความเคลื่อนไหวของกลุ่มชาวเขาในประเทศไทย ซึ่งมีความหลากหลายทางชาติพันธุ์ อาจจะกล่าวได้ว่ามีความร่วมกันบางประการอันเนื่องจากการมีพื้นฐานระบบคิด และโลกทัศน์ในเรื่องจักรวาลที่คล้ายคลึงกัน ความหมาย หรือการสื่อเชิงวัฒนธรรมมิใช่เป็นเรื่องที่ตายตัว แต่ถูกก่อรูปมาในช่วงเวลาอันยาวนานที่ได้มีการปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน และกลุ่มชนที่อยู่รอบข้างตำนานบ่งบอกว่า "ชาวเขา" เป็นผู้พ่ายแพ้ แต่ตำนานก็ให้ความหวังว่า สักวันหนึ่งยุคทองจะกลับคืนมาในโลกปัจจุบัน วัฒนธรรมของชาวเขาต้องเผชิญหน้ากับวัฒนธรรมที่เป็นของรัฐไทย และอาจจะทำให้ชาวเขารู้สึกถูกคุกคามในทางวัฒนธรรม คริสตศาสนาอาจจะเป็นทางเลือกหนึ่ง (หน้า 117) คริสต์ศาสนากับความเชื่อท้องถิ่นของชาวเขาดูเหมือนจะเข้ากันได้ดี โดยความเชื่อบางอย่างของชาวเขานั้นสอดคล้องกับสิ่งที่ปรากฏอยู่ในคัมภีร์ไบเบิ้ล เช่น ความเชื่อเกี่ยวกับน้ำท่วมโลก มีมิชชันนารีผู้หนึ่งถึงกับกล่าวอ้างว่ากะเหรี่ยงก็คือกลุ่มชนในอิสราเอลที่สาบสูญไป อย่างไรก็ตาม พัฒนาการของความสัมพันธ์ดังกล่าวได้พิสูจน์แล้วว่าการพบกันของสองวัฒนธรรมจะทำให้เกิดสิ่งใหม่ขึ้น ทั้งนี้ องค์ประกอบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นวัฒนธรรมของชาวเขา สถานการณ์ที่ล่อแหลมในฐานะที่เป็นชนกลุ่มน้อย รวมทั้งอิทธิพลของศาสนาคริสต์ ได้ส่งผลให้เกิดความเคลื่อนไหวทางการเมืองขึ้นอย่างไม่คาดคิด ซึ่งก็รวมถึงการสร้างนิยามใหม่ให้กับชาติพันธุ์ของตนด้วย ตัวอย่างเช่น กองกำลังกะเหรี่ยงเพื่อการปลดแอก (Karen Liberation Army)(หน้า 117) ทุกวันนี้ชาวเขาชนกลุ่มน้อยเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ และวัฒนธรรม โดยทัวร์ต่างชาติและอุตสาหกรรมป่าไม้เป็นสิ่งที่สร้างรายได้เป็นอย่างดี(หน้า 117) อย่างไรก็ตาม ชีวิตของชาวเขาก็เปลี่ยนไปในหลาย ๆ ด้าน อย่างเช่น การมีโทรทัศน์เข้ามาแทนที่นิทานเรื่องเล่า และการใส่เสื้อแบบสมัยใหม่แทนเสื้อผ้าพื้นเมือง แต่ในขณะเดียวกันก็มีจิตสำนึกด้านชาติพันธุ์ในกลุ่มคนวัยรุ่นที่มีการศึกษา และความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความเป็น มาของชนกลุ่มน้อยก็ก่อให้เกิดความรู้ซึ้งในวัฒนธรรมที่เจริญงอกงามอย่างยิ่งของชาติพันธุ์ตนเอง นอกจากนั้น พวกเขายังตระหนักถึงประเด็นความเท่าเทียมกันทางการเมืองและเศรษฐกิจอีกด้วย(หน้า 119) |
|
Text Analyst |
เกรียงกมล ธีระศักดิ์โสภณ |
Date of Report |
22 ก.ย. 2555 |
TAG |
ม้ง, เมี่ยน, ลีซู, ลาหู่, ลเวือะ, ลัวะ, ปกาเกอะญอ จกอ คานยอ (กะเหรี่ยง), โพล่ง โผล่ง โพล่ว ซู (กะเหรี่ยง), ชาวเขา, จักรวาลวิทยา, กระบวนการเคลื่อนไหวทางศาสนา, ศาสนาคริสต์, จิตสำนึกชาติพันธุ์, ภาคเหนือ, |
Translator |
- |
|