สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject ลเวือะ,การทอผ้า,เชียงใหม่
Author จรัญญา ลีพาแลว
Title การทอผ้าของชาวละว้าบ้านมืดหลอง อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่
Document Type วิทยานิพนธ์ Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity ลัวะ (ละเวือะ) ลเวือะ อเวือะ เลอเวือะ ลวะ ละว้า, Language and Linguistic Affiliations ออสโตรเอเชียติก(Austroasiatic)
Location of
Documents
ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร Total Pages 74 Year 2545
Source หลักสูตรปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาอาชีวศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Abstract

การทอผ้าของละว้า ทั้งในอดีตและปัจจุบันยังคงใช้กี่ขนาดเล็ก ที่เรียกว่ากี่เอวเป็นอุปกรณ์หลัก ฝ้ายและด้ายที่ใช้ทอผ้า มีทั้งฝ้ายที่ปลูกเองและซื้อจากอำเภอแม่แจ่ม เช่นเดียวกับสีที่ใช้ในการย้อมผ้าจะได้จากสีธรรมชาติและสีเคมี การทอผ้าในอดีตของละว้าในอดีตจะทอไว้ใช้ในพิธีกรรมและใช้ในชีวิตประจำวันเท่านั้น ปัจจุบันมีพ่อค้าจากพื้นราบสนใจสั่งซื้อผ้าทอละว้า บางประเภทเพื่อนำไปจำหน่าย นอกจากนี้มีการรวมกลุ่มสตรีในหมู่บ้าน เพื่อทอผ้าขายเป็นรายได้เสริมภายในครอบครัว ซึ่งโดยทั่วไปแล้วชาวบ้านจะทอผ้าเมื่อมีเวลาว่างจากงานประจำ ในส่วนของลวดลายผ้าทอละว้าจากอดีตจนปัจจุบันจะพบเพียง 2 ลายคือ ลายเส้นที่เกิดจากการมัดย้อม เส้นยืนบนผืนผ้าซิ่น โดยที่ผู้ทอต้องใช้ความชำนาญมากเป็นพิเศษในการทอเพื่อให้ได้ลายเส้นสวยงาม และอีกลายคือลายข้าวหลามตัดซึ่งทอไว้สำหรับเป็นผ้าคลุมศพคนตาย สันนิษฐานว่าอาจได้รับอิทธิพลจากพุทธศาสนานิกายมหายาน

Focus

ศึกษาและรวบรวมข้อมูลการทอผ้าของละว้าบ้านมืดหลอง อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่

Theoretical Issues

ไม่มี

Ethnic Group in the Focus

ละว้า

Language and Linguistic Affiliations

ภาษาละว้าจัดอยู่ในตระกูลออสโตรเอเชียติก หรือเรียกให้แคบลงว่า ตระกูลภาษามอญ-เขมร สาขาย่อยปะหล่อง-ว้า (Palaung - Wa)(หน้า 7)

Study Period (Data Collection)

พ.ศ. 2545

History of the Group and Community

ลัวะหรือละว้าเป็นชนเผ่าโบราณที่กระจายตัวอยู่ทั่วไปในแถบหุบเขาของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในภาคเหนือของประเทศไทยพบที่เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ลำพูน ลำปาง เชียงราย แพร่และพบในแถบเมืองเชียงตุงและเมืองยองในพม่า ตามตำนานล้านนาลัวะเป็นคนที่อยู่ในภาคเหนือมาก่อน และได้บอกชัดเจนถึงการตั้งถิ่นฐานชุมชนลัวะที่บริเวณเชิงดอยสุเทพเรียงรายลงมาตามที่ราบริมน้ำปิง มีหลักฐานว่าชุมชนลัวะนับถือดอยสุเทพเป็น "ภูเขาศักดิ์สิทธิ์" เพราะเป็นที่สิงสถิตย์ของ "ปู่แสะย่าแสะ" และผีบรรพบุรุษของลัวะ เชื่อกันว่ากลุ่มลัวะหรือละว้าที่อาศัยอยู่ตามแนวตะเข็บของเชียงใหม่ - แม่ฮ่องสอนถือได้ว่าเป็นลัวะดั้งเดิมกลุ่มใหญ่ที่สุดที่ยังหลงเหลือในภาคเหนือของประเทศไทย นอกจากนี้ยังมีนักวิชาการหลายท่านที่ได้แสดงทัศนะเกี่ยวกับ "ลัวะ" ว่ามีหลักแหล่งเดิมอยู่ตอนกลางของแหลมอินโดจีน โดยเฉพาะที่ "ละว้าปุระ" คือเมืองลพบุรีในปัจจุบันและได้อพยพไปทางเหนือโดยยึดแม่น้ำปิงเป็นแนวการเดินทาง พวกแรกๆ ได้อพยพไปตั้งถิ่นฐานอยู่ตามฝั่งแม่น้ำคง ในรัฐไทยใหญ่ (Shan State) ของพม่า ส่วนพวกที่ตามมาทีหลังได้ตั้งถิ่นฐานกระจัดกระจายอยู่ตามลุ่มน้ำปิงในประเทศไทย เรียกว่าพวก "กว้าเขิ้ด" ไทยเราเรียกว่า ลัวะ (Lua) (หน้า 1-2, 6) ชุมชนละว้าบ้านมืดหลอง หลังการสิ้นสุดสงครามของขุนหลวงวิลังคะเจ้าเมืองเชียงใหม่ผู้นำลัวะกับพระนางจามเทวีเจ้าเมืองลำพูน ละว้าแถบลุ่มแม่ปิงส่วนหนึ่งได้หลบหนีภัยสงครามมุ่งหน้าสู่ดอยสูงแถบรอยต่อจังหวัดเชียงใหม่และแม่ฮ่องสอนบริเวณเทือกเขาถนนธงไชยกลาง การอพยพมาในสภาพของผู้แพ้สงครามอาจเป็นสาเหตุหลักในการเลือกขุนเขาสูงเป็นแหล่งตั้งชุมชนในสมัยโบราณ เพื่อง่ายต่อการสื่อสารและง่ายต่อการป้องกันอันตรายจากสัตว์ป่า หรืออาจจะคุ้นเคยกับการอยู่ที่สูงมาก่อน "เยืองฮล่อง" หรือ "เยืองแมะฮล่อง" คือชื่อชุมชนโบราณของกลุ่มละว้าอีกกลุ่มในจำนวนกลุ่มละว้าอื่นๆ ในบริเวณใกล้เคียง เช่น เยืองโคระ (บ้านแปะ) เยืองโฮระ (บ้านเฮาะเก่า) เมืองฮล่องโบราณขุนเขาสูง (ทิศตะวันตกของหมู่บ้านมืดหลองปัจจุบัน) ประกอบด้วยบุคคล 3 กลุ่มคือ กลุ่มขุนสะมาง กลุ่มเยืองเหงียกและกลุ่มเยืองเรียง (เยือง หมายถึง รากไม้) เยืองฮล่องสิ้นสุดลงเนื่องจากตั้งไกลแหล่งน้ำ จึงต้องย้ายหาที่ใหม่และสุดท้ายคือชุมชนบ้านมืดหลองในปัจจุบัน ซึ่งย้ายมาได้ประมาณ 300 ปี ปัจจุบันบ้านมืดหลองมีกลุ่มเชื้อสายเยืองแมะฮล่องโบราณเพียง 2 กลุ่มคือ กลุ่มขุนสะมางและกลุ่มเยืองเหงียกส่วนล่าสุดคือกลุ่มที่ผู้แต่งงานข้ามกลุ่ม(หน้า 22-25)

Settlement Pattern

หมู่บ้านของละว้า มักจะตั้งอยู่ในหุบเขาที่สูงกว่าน้ำทะเลประมาณ 1,000 ฟุต อยู่ใกล้กับต้นน้ำลำธาร มีพื้นที่นาและไร่ ล้อมรอบหมู่บ้าน ภายในหมู่บ้านมีสาธารณูปโภค เช่น ระบบชลประทาน บางหมู่บ้านมีไฟฟ้า นอกจากนี้หมู่บ้านละว้ายังมีสถานที่สำคัญ เช่น โบสถ์คริสต์เตียน โบสถ์คริสต์ตัง วัด (บางหมู่บ้านไม่มี) โรงเรียนประถมศึกษา สถานีอนามัย (เฉพาะที่ทำการตำบล) เญียะยู ซึ่งเป็นศาลาผีสำหรับประกอบพิธีกรรมหรือเลี้ยงผี บางหมู่บ้านมี 2 หลังเนื่องจากการนับถือผีที่ต่างตระกูล (หน้า 10) บ้านมืดหลอง ผังชุมชนมีลักษณะรวมเป็นกลุ่มโดยมี ยุ้งข้าวหมู่บ้านอยู่กลางหมู่บ้าน มีลำห้วยแม่ตูมไหลผ่านทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ด้านทิศตะวันตกของหมู่บ้านเป็นที่ตั้งของศาลาผี เสาสะกัง แผงโซล่าเซลและวัด มีประปาหมู่บ้านตั้งอยู่ทางทิศใต้ของหมู่บ้าน (หน้า 27)

Demography

ลัวะดั้งเดิมที่อาศัยอยู่ตามแนวตะเข็บของเชียงใหม่-แม่ฮ่องสอน รวมชุมชนละว้าทั้งหมดมีประมาณ 700 หลังคาเรือน ละว้าที่ตั้งถิ่นฐานบนภูเขา มีสถานะเป็นชาวเขาเมื่อ พ.ศ. 2538 มีประชากรจำนวน 14,152 คน (หน้า 2) บ้านมืด หลอง เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2545 มีจำนวนประชากรทั้งหมด 267 คน จากทั้งหมด 48 หลังคาเรือน จำแนกเป็นเพศชาย 136 คน เพศหญิง 131 คน ในกลุ่มสตรีทอผ้ามีสมาชิกจำนวน 49 คน(หน้า 28)

Economy

ทอผ้า (ดู Art and Crafts)

Social Organization

ไม่มีข้อมูล

Political Organization

บ้านมืดหลอง มีผู้ปกครองคือ พ่อหลวง (ผู้ใหญ่บ้าน) ผู้สืบเชื้อสายมาจากสะมางโบราณ ในพิธีกรรมจะเป็นหมอผี และปัจจุบันขุนสะมางจะได้รับการนับถือสูงสุดในหมู่บ้าน อภิสิทธิ์ในการเลือกที่ทำกินจะขึ้นกับบุคคลทั้ง 3 กลุ่ม ตกลงกันว่าจะลือกที่ทำกินจุดใด(หน้า 25) ลักษณะโครงสร้างการปกครองของหมู่บ้าน มีผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน เจ้าหน้าที่ อบต. กรรมการ สารวัตรกำนัลและหมอผี(หน้า 28)

Belief System

พวกละว้าในเขตตำบลบ่อหลวง อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นพวกที่นับถือศาสนาพุทธ ในพิธีศพจะเผาแล้วนำอัฐิไปฝังไว้ในที่กำหนดไว้ โดยเฉพาะนอกเขตชุมชน (หน้า 6) พิธี "โนกควายเนิอม" หรือ "โนกสปัยซ" จุดมุ่งหมายสำคัญคือเพื่อให้ผีปกป้องดูแลคนในหมู่บ้าน และช่วยให้ทำไร่ทำนาได้พืชผลที่อุดมสมบูรณ์ พิธีเลี้ยงผีหมู่บ้าน 4-5 ปีจึงจะจัดขึ้นครั้งหนึ่ง ขึ้นอยู่กับเศรษฐกิจของหมู่บ้าน ในพิธีจะแบ่งออกเป็น 3 วันคือ - วันดา เป็นวันเตรียมของพิธี - วันเลี้ยงผี นำควายไปผูกที่เสาสะกัง ใช้หอกแทงควายจนตาย นำเลือดควายและชิ้นส่วนต่างๆ อย่างละน้อยบูชาที่เสานี้ จะมีการตีกลองประกอบตลอดตั้งแต่เริ่มจนเสร็จพิธี - วันส่งเคราะห์ (เตาสะอาง) หลังจากเลี้ยงผีหมู่บ้านแล้ว ส่งเคราะห์โดยใช้หมาดำและลูกหมูรวมทั้งกระทงส่งเคราะห์จากทุกบ้าน ขั้นตอนสุดท้ายในการส่งเคราะห์คือ นำหมาดำลอดใต้ศาลาผี คนในหมู่บ้านสาดน้ำไล่เคราะห์และยิงปืน จุดประทัด โห่ร้องแสดงความยินดีที่สิ่งไม่ดีทั้งหลายออกไปจากหมู่บ้าน (หน้า 10) สัตว์ที่ใช้ในพิธีกรรมส่วนใหญ่จะเป็น หมู ไก่ หมา วัวและควาย ซึ่งควายจะใช้ในพิธีกรรมขนาดใหญ่และซึ่งผู้มีฐานะในหมู่บ้านเป็นผู้จัด (หน้า 28) บ้านมืดหลอง ทุกบ้านนับถือผีอย่างเคร่งครัด ส่วนศาสนาพุทธมีการนับถือน้อย ทุกบ้านจะเลี้ยงผี 3 จุดคือ ผีใต้ถุนบ้าน ผีหัวบันไดบ้าน และผีในตัวบ้าน ทุกปีจะทำพิธีผีทั้ง 3 จุด ปีละ 1 ครั้ง (หน้า 25)

Education and Socialization

ไม่มีข้อมูล

Health and Medicine

ไม่มีข้อมูล

Art and Crafts (including Clothing Costume)

ละว้าบ้านมืดหลองจะให้ความสำคัญอย่างมากในผ้าทอที่ใช้ในโอกาสพิเศษ เช่น เสื้อสีดำของสตรี (เอื่อเป่ะลอง) จะกุ๊นตะเข็บด้วยด้ายเงินอย่างประณีตสวยงาม นอกจากนี้ยังมีผ้าที่ใช้ในพิธีศพ จะออกแบบลวดลายบนผืนผ้าด้วยรูปข้าวหลามตัด ซึ่งผู้ที่จะทอผ้าชนิดนี้ต้องเป็นหญิงที่สูงอายุเท่านั้น (หน้า 2-3) ประเภทของผ้าทอละว้า - เสื้อขาวสตรี เป็นผ้าทอสีขาวทั้งผืนตัดแบ่งครึ่งเย็บต่อเป็นผืนลักษณะคล้ายกระสอบผ่าร่องรูปตัววีที่คอจะตัดแขนทั้งสองข้างในการเย็บต่อและเก็บตะเข็บ และนำด้ายสีต่างๆ เย็บเป็นสีสันบนผืนผ้า หญิงละว้าทุกคนต้องมีอย่างน้อย 3 ชุด เพราะเป็นชุดที่ใส่ประจำวันและในพิธีกรรม แม้ในบางพิธีจะใส่เสื้อสีดำแต่ข้างในก็ต้องใส่เสื้อสีขาวก่อน - เสื้อสีดำสตรี ทอผ้าทั้งผืนด้วยสีดำขอบสีเลือดหมูกว้างประมาณ 1 นิ้วครึ่งถึง 2 นิ้ว นำมาตัดเย็บเช่นเดียวกับเสื้อขาว ต่างเพียงเสื้อสีดำจะเพิ่มด้ายแต่งขอบด้วยด้ายลวดเงินเส้นเล็กๆ นำมาถักแล้วปักลงในแนวรอยต่อด้านหน้าและด้านหลังอย่างประณีต ผ้าชนิดนี้จะสวมใส่ในพิธีกรรมเท่านั้นคือ งานพิธีเลี้ยงผีเสาสะกัง งานพิธีแต่งงานและงานพิธีเลี้ยงผีฟ้าผ่าในไร่ - ผ้าซิ่นละว้า เป็นผ้าซิ่นที่ทอยากที่สุดในบรรดาผ้าทอละว้าทั้งหมด ยิ่งลายละเอียดมากยิ่งต้องใช้ความชำนาญสูง ผ้ามีจุดเด่นตรงที่วิธีการมัดลายเส้นยืน หน้าแคบด้วยข้อจำกัดของกี่ทอผ้า ปัจจุบันมี 2 แบบ แบบลายเส้นสีน้ำเงินสลับขาวที่เกิดจากฝ้ายมัดย้อมเส้นยืนและการนำเส้นด้ายไหมมัดย้อมเส้นยืนเพิ่มเข้าไปในผืนผ้า - ผ้าพันแขนและผ้าพันแข้งของผู้หญิง เกิดจากการทอผ้าทั้งผืนแล้วนำมาตัดแบ่งเป็นผ้าพันแขนและแข้ง ผ้าพันแขนส่วนใหญ่จะเย็บต่อกันเป็นรูปทรงกระบอก ในเวลาสวมใส่จะใช้เป็นลักษณะการม้วนหรือพันรอบแข้งแล้ว ใช้สกุนหรือห่วงที่ข้อเท้าทับผ้าไว้ให้ติดกับแข้ง สีส่วนใหญ่นิยมใช้สีดำและสีน้ำเงิน ส่วนผ้าพันแขนมีทั้งสีน้ำเงิน สีขาว เวลาสวมจะใส่เข้าชุดกับตัวเสื้อ - กางเกงผู้ชาย เกิดจากการนำผ้าทอ 7 ชิ้นมาเย็บต่อให้เป็นผืนรูปทรงกระบอกยาวถึงตาตุ่ม จึงต้องใช้ความชำนาญในการตัดเย็บเพื่อให้ได้รูปทรงที่สวยงาม - เสื้อสีขาวของผู้ชาย เกิดจากการนำผ้า 4 ชิ้น มาเย็บต่อเป็นผืนคล้ายเสื้อแบบจีน ไม่มีกระดุม ตัวเสื้อเกิดจากผ้า 2 ชิ้น เย็บต่อตะเข็บใต้รักแร้ทั้ง 2 ข้าง เว้นทรงกระบอกตรงแขนสำหรับต่อแขน ด้านหลังเย็บต่อแนวตามเส้นกระดูกสันหลัง ตกแต่งลวดลายด้านหน้ารูปสี่เหลี่ยมหรือ "ตัวตวน" เหมือนในผ้าคลุมศพ ใส่เฉพาะในงานพิธีกรรมเท่านั้น โดยจะสวมเข้าชุดกับกางเกงสีขาวซึ่งส่วนมากจะมีคนละ 1 ชุดเท่านั้น - ผ้าปูศพ ละว้าเรียกว่า "ผ้าลัมเบ" ใช้เฉพาะในพิธีศพเท่านั้น เกิดจากการทอผ้าทั้งผืน มาตัดแบ่งครึ่งแล้วเย็บตัวเป็นผืนตามความยาว ลวดลายที่ใช้จะสลับสีระหว่างขาวกับชมพู ต้องทอจากฝ้ายเท่านั้น และผู้ทอต้องอายุ 40 ปีขึ้นไป ทุกบ้านต้องมีอย่างน้อย 2 ชุด เพราะเมื่อมีคนตายถ้าไม่มีผ้าชนิดนี้จะนำไปฝังที่ป่าช้าไม่ได้ - ผ้าคลุมศพ ละว้าเรียกว่า "ผ้าตวน" เกิดจากผ้าทอ 2 ผืนมาเย็บรวมกันโดยลาย "ตัวตวน" รูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนจะแยกทอหนึ่งผืนเมื่อนำมาตัดแบ่งจะได้เป็น 2 ผืน ส่วนขอบจะทอผ้าอีก 1 ผืนมาตัดครึ่งแล้วเย็บต่อกับผ้าตวน - ผ้าห่มละว้า ปัจจุบันมี 2 แบบ ชนิดทอด้วยฝ้ายสีขาวทั้งผืนและแดงสลับขาว ผ้าห่มจะใช้ทั้งในพิธีแต่งงานและพิธีศพแต่ปัจจุบันใช้เป็นเปลใส่เด็กติดหลังแทนการอุ้ม - ย่าม เกิดจากผ้าทอทั้งผืนนำมาตัดเป็น 2 ชิ้นเย็บขอบตกแต่งให้เป็นถุง ย่ามเมื่อถูกนำไปใช้ในพิธีศพจะใช้จำนวน 3, 5, 7 หรือ 9 ใบ ขึ้นกับฐานะของผู้ตาย - ถุงใส่แถบ เกิดจากการทอผ้าผืนเล็ก เย็บขอบตามแนวยาวให้ได้รูปตรงกลางสำหรับใส่เหรียญแถบ ปัจจุบันถุงใส่แถบจะใช้ในพิธีแต่งงานเท่านั้น (หน้า 31-33) สีที่ใช้ย้อมผ้ามีทั้งสีที่ได้จากธรรมชาติและสีเคมี หากเป็นผ้าที่ใช้ในพิธีกรรมจะใช้สีย้อมจากธรรมชาติเป็นหลักและสีเคมีตกแต่งหรือใช้ด้ายหรือสีสำเร็จแทนสีเคมี (หน้า 40)

Folklore

ไม่มีข้อมูล

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

เรียกตัวเองว่า "ละเวือะ" (หน้า 26)

Social Cultural and Identity Change

ปัจจุบันมีอุตสาหกรรมทอผ้าด้วยเครื่องจักรทันสมัย รัฐบาลส่งเสริมอาชีพทอผ้าในชนบทใช้กี่กระตุกในการทอผ้า (หน้า 13) ผ้าพันแขนและผ้าพันแข้งของผู้หญิง ปัจจุบันใส่เฉพาะหญิงที่อายุเกิน 40 ปีขึ้นไป ส่วนวัยรุ่นจะหันมาใส่กางเกงวอร์มไม่นิยมใส่สกุนกางเกงผู้ชาย ปัจจุบันนิยมซื้อจากร้านในพื้นที่ราบ และโอกาสในการสวมใส่เริ่มน้อยลง แต่ในพิธีศพยังมีความจำเป็นต้องให้คลุมผู้ตายด้วยผ้าฝ้ายทอมือสีขาว เพราะผีจะไม่เอาผ้าที่ซื้อจากคนพื้นที่ราบและมิใช่ผ้าฝ้าย ผ้าปูศพ ในอดีตผู้ทอต้องอายุ 40 ปีขึ้นไป แต่ปัจจุบันมีข้อยกเว้นให้คนอื่นทอให้ได้ หากได้รับอนุญาตจากคนแก่ก่อน ปัจจุบันย่ามถูกทอและออกแบบตามความพอใจของผู้ทอซึ่งต่างกับในอดีตที่ย่ามละว้าจะทอสีพื้นขาวจากฝ้าย ขอบใช้สีแดงเลือดหมูตกแต่งด้วยด้ายสีแดง สีน้ำเงินและสีเหลือง (หน้า 32-33)

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

ไม่มี

Map/Illustration

ภาพ - ชาวเขา (อาจจะเป็นละว้า) จิตรกรรมบนตู้ไม้ลายกำมะลอที่พิพิธภัณฑ์กรุงเทพฯ (12) - ชาวลัวะในเขตที่ราบสูง (BOLOVEN) ทางตอนใต้ของประเทศลาว(12) - ชาวลัวะจากเขตที่ราบสูงทางตอนใต้ของประเทศลาว(14) - สาวละว้าบ่อหลวง(14) - จิตรกรรมวัดป่าแดด อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่(18) - ผ้าซิ่นแบบละว้า(18) - ผ้าซิ่นลัวะ(18) - ย่ามแบบต่างๆ ของละว้าในพิธีศพ(34) - ผ้าตวนและผ้าลัมเบสำหรับคลุมศพและปูศพคนตาย(34) - ผ้าพันแขนผู้หญิง(34) - ผ้าห่มในอดีต(35) - ผ้าห่มในปัจจุบัน(35) - ชุดสีขาวผู้หญิง(35) - ชุดสีดำผู้หญิง(35) - ชุดสีขาวละว้าบ้านมืดหลอง(36) - ชุดสีดำในพิธีเลี้ยงผีเสาสะกังบ้านมืดหลอง(36) - ชุดผู้ชายละว้าเจืองละมาง(ในพิธีศพ)(37) - หญิงละว้าเล่นเฆ(ในพิธีศพ)(37) - ชุดกี่ทอผ้าละว้า(39) - ชุดกี่เอวขนาดทอย่าม(39) - ย้อมสีธรรมชาติจากรากไม้(42) - ฝ้ายย้อมสีจากธรรมชาติ(42) - สีย้อมผ้า(42) - สีด้ายย้อมด้วยใบแน(42) - ฝ้าย(43) - ดีดฝ้าย(43) - ดึงเส้นใย(43) - เส้นด้ายจากฝ้าย(43) - เครื่องมือมัดด้ายเส้นยืน(43) - ย้อมด้ายมัดเส้นยืน(44) - แกะเชือกมัดลาย(44) - ลายที่ได้จากการมัดเส้นยืน(44) - จัดเรียงด้ายเตรียมลงกี่(44) - ทอผ้าซิ่นจากผ้าฝ้ายย้อมสีธรรมชาติ(44) - ลายผ้าซิ่นละว้า(45) - ลายข้าวหลามตัดในผ้าตวน(46) แผนภูมิ - แสดงกหารแบ่งสาขาภาษาตระกูลออสโตรเอเชียติคของ เจรารด์ ดิฟโฟล์ (Gerard Diffloth)(7) - แสดงภาษาในตระกูลออสโตรเอเชียติค(8) - แสดงการจัดแบ่งสาขาย่อยภายในสาขาปะหล่องของเจรารด์ ดิฟโฟล์ (Gerard Diffloth)(9) ตาราง - แสดงกิจกรรมประจำปีละว้าบ้านมืดหลอง(30) - แสดงช่วงเวลาที่ใช้ในกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวของกับการทอผ้าของละว้าบ้านมืดหลอง(38) - แสดงความสัมพันธ์ระหว่างประเภทผ้าทอและอายุผู้ทอผ้าแบบละว้า(47) - แสดงขั้นตอนการทอผ้าซิ่นละว้าบ้านมืดหลอง(48)

Text Analyst สุวิทย์ เลิศวิมลศักดิ์ Date of Report 06 ม.ค. 2566
TAG ลเวือะ, การทอผ้า, เชียงใหม่, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง