|
Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database |
|
Record |
|
 |
Subject |
ลื้อ,ปราสาทผ้าขาว,พะเยา |
Author |
นริศ ศรีสว่าง |
Title |
ปราสาทผ้าขาวไทลื้อในเขตอำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา |
Document Type |
อื่นๆ |
Original Language of Text |
ภาษาไทย |
Ethnic Identity |
ลื้อ,
|
Language and Linguistic Affiliations |
ไท(Tai) |
Location of
Documents |
ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร |
Total Pages |
192 |
Year |
2542 |
Source |
รายงานประกอบวิชา หลักสูตรศิลปบัณฑิต(ศิลปะไทย) ภาควิชาศิลปะไทย คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ |
Abstract |
ในดินแดนล้านนาบริเวณตอนเหนือของประเทศไทยมีกลุ่มชนหลากหลายเชื้อชาติเผ่าพันธุ์อาศัยอยู่ร่วมกัน ผสมผสานวัฒนธรรมประเพณีจนเป็นเอกลักษณ์โดดเด่น มีทั้งการรับอิทธิพลจากภายนอกและการคลี่คลายที่เกิดจากปัจจัยภายในทำให้เกิดความหลากหลาย ในด้านศิลปวัฒนธรรม งานศิลปกรรมที่มีลักษณะเฉพาะของแต่ละกลุ่ม เกิดจากความเชื่อศรัทธาในสิ่งที่ตนนับถือ โดยเฉพาะพระพุทธศาสนาเพื่อเป็นผลบุญต่อตนเองในภายภาคหน้าและกุศลต่อผู้ล่วงลับ งานที่เกิดขึ้นด้วยจิตใจ ไม่คิดถึงมูลค่า ให้ความรู้สึกของจิตใจเป็นตัวกำหนด ปราสาทผ้าขาวไทลื้อเป็นหนึ่งในงานศิลปกรรมที่เกิดขึ้นจากความศรัทธาต่อความเชื่อ สร้างขึ้นเพื่อความสมบูรณ์ในภพภูมิโลกหน้า อาจจะเป็นทั้งเครื่องแสดงฐานะหรือเครื่องแสดงการสั่งสมบุญบารมี โดยผ่านทางประเพณีพิธีกรรมในพระพุทธศาสนา รูปแบบของปราสาทผ้าขาวไทลื้อมีความโดดเด่นทางด้านวัสดุ ฝีมือ การประดับตกแต่งซึ่งมีความหลากหลาย ลวดลายบางส่วนเป็นลวดลายดั้งเดิมในท้องถิ่น บางส่วนก็รับอิทธิพลลวดลายศิลปะจากต่างถิ่น ด้วยระยะเวลาที่ยาวนาน เกิดการเปลี่ยนแปลงในสังคม ทำให้ปราสาทผ้าขาวหมดหน้าที่ในการรับใช้ความเชื่อในสังคมของไทลื้อไปโดยปริยาย จากการศึกษาปราสาทผ้าขาวไทลื้อในเขตอำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยาแสดงให้เห็นถึงความผูกพัน ความคิด ความเชื่อ ตลอดจนงานช่างของไทลื้อที่มีต่อปราสาทผ้าขาวด้วยการแสดงออกทางศิลปกรรม เกิดเป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่นควรค่าแก่การสืบสานและอนุรักษ์ |
|
Text Analyst |
สุวิทย์ เลิศวิมลศักดิ์ |
Date of Report |
31 ต.ค. 2555 |
TAG |
ลื้อ, ปราสาทผ้าขาว, พะเยา, |
Translator |
- |
|