|
Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database |
|
Record |
|
 |
Subject |
ขมุ กำมุ ตะมอย,ไต คนไต ไตโหลง ไตหลวง ไตใหญ่,จีนยูนนาน จีนมุสลิม,เมี่ยน อิวเมี่ยน,ลาหู่ ลาฮู,ปะโอ,โพล่ง โผล่ง โพล่ว ซู กะเหรี่ยง,คะยาห์ กะเรนนี บเว,คะยัน กะจ๊าง,ปกาเกอะญอ จกอ คานยอ กะเหรี่ยง,ชาวเขา,ชนกลุ่มน้อย,การสำรวจทางประชากร,การศึกษา,สาธารณสุข,ประเทศไทย |
Author |
ประจวบ คำบุญรัตน์, อนุรักษ์ ปัญญานุวัฒน์ และ เคน แคมป์ |
Title |
แนวโน้มด้านสังคมเกี่ยวกับชุมชนบนพื้นที่สูงในทศวรรษหน้า |
Document Type |
รายงานการวิจัย |
Original Language of Text |
ภาษาไทย |
Ethnic Identity |
ลีซู, ลาหู่ ลาฮู, ลัวะ, ม้ง, ไต คนไต ไตโหลง ไตหลวง ไตใหญ่, จีนยูนนาน จีนมุสลิม, คะยัน กะจ๊าง ปาด่อง, ขมุ กำมุ ตะมอย,
|
Language and Linguistic Affiliations |
ไม่ระบุ |
Location of
Documents |
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ |
Total Pages |
137 |
Year |
2539 |
Source |
สำนักงานกิจการพิเศษ กระทรวงศึกษาธิการ และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ |
Abstract |
ผู้วิจัยมุ่งศึกษาถึงแนวโน้มด้านสังคมของชุมชนบนพื้นที่สูงในทศวรรษหน้า โดยผู้วิจัยได้อาศัยข้อมูลพื้นฐานจากการสำรวจภาคสนามทั้งภาพรวม และกรณีศึกษาในระดับหมู่บ้าน ประกอบกับผลการศึกษาเอกสารในระดับนโยบาย แผนแม่บท แผนเฉพาะกิจเชิงยุทธวิธีตลอดจนผลการประเมินโครงการพัฒนาบนพื้นที่สูง ผลการศึกษาเกี่ยวกับเครือข่ายลุ่มน้ำ เครือข่ายป่าชุมชน และเครือข่ายกลุ่มเกษตรกรบนพื้นที่สูงมาเป็นข้อมูลสำคัญในการประยุกต์วิธีการวิจัยเชิงพยากรณ์แบบ Ethnographic Future Research (EFR) โดยการอภิปรายกลุ่มย่อยของผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้มีประสบการณ์เกี่ยวกับการทำงานด้านการพัฒนาชาวเขาและชนกลุ่มน้อย ทั้งด้านการศึกษา สาธารณสุข เศรษฐกิจ มานุษยวิทยาและสังคมวิทยา การทหาร และความมั่นคงภายในของรัฐ นักวิชาการและนักวิจัยชาติพันธุ์วิทยา และผู้นำชาวเขาในภาคเหนือ ซึ่งการอภิปรายกลุ่มดำเนินการ 2 ระดับ คือ ระดับนโยบาย และปฏิบัติการโดยเปรียบเทียบข้อมูลพื้นฐานในอดีตกับปัจจุบันเกี่ยวกับชาวเขาและชนกลุ่มน้อย ด้านเศรษฐกิจ การเมืองการปกครอง สิ่งแวดล้อม และสังคมที่ครอบคลุมทั้งด้านการศึกษา สาธารณสุข สังคมสงเคราะห์และการพัฒนาชุมชน แล้วนำข้อมูลนั้นมาพิจารณาคาดคะเนตามหลักวิชาการ และประสบการณ์ เพื่อหาแนวโน้มในอนาคต (หน้า116) ซึ่งได้ผลการศึกษาดังนี้ คือ รัฐบาลเล็งเห็นว่าชาวเขาและชนกลุ่มน้อยบนพื้นที่สูงยังมีปัญหาในด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ปัญหาการปลูกพืชเสพติดบนพื้นที่สูง เนื่องจากมีแนวโน้มว่าจำนวนผู้ติดยาเสพติดในรูปแบบต่าง ๆ จะเพิ่มสูงขึ้น ประกอบกับมียาเสพติดชนิดใหม่แพร่หลาย เช่น เฮโรอีน มอร์ฟิน ยาม้า กาว ทินเนอร์ และอื่น ๆ โดยมีผู้เสพในกลุ่มวัยแรงงาน และวัยรุ่นเพิ่มมากขึ้น (หน้า 117-118 ) อีกทั้งรัฐต้องการให้ชุมชนบนพื้นที่สูงมีความเป็นอยู่อย่างถูกต้องตามกฎหมาย สอดคล้องกับระบบการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพราะรัฐกำลังดำเนินการมุ่งเน้นการต่อสู้กับภาวการณ์ทำลายทรัพยากรธรรมชาติบนพื้นที่สูง โดยรัฐยังคงเชื่อ ว่าชาวเขาและชนกลุ่มน้อยเป็นกลุ่มหลักที่ทำลายทรัพยากรธรรมชาติ ทั้งที่มีข้อมูลจำนวนมากแสดงว่าผู้มีบทบาทในการทำลายทรัพยากรธรรมชาติ คือ บุคคลอื่นที่ไม่ใช่ชาวเขา และนอกจากนั้นรัฐยังต้องการแก้ปัญหาการตั้งถิ่นฐานของชาวเขาให้ถูกต้องตามกฎหมาย ทั้งนี้ก็เพื่อแก้ปัญหาด้านความมั่นคงของชาติ ส่วนในด้านเศรษฐกิจและสังคม ชาวเขาและชนกลุ่มน้อยก็ยังคงประสบปัญหาความยากจน ปัญหาด้านสาธารณสุข การขาดแคลนที่ทำกิน การอพยพแรงงาน ฯลฯ (หน้า 117-126) งานวิจัยได้เสนอว่าในอนาคตรัฐยังคงมีการกำหนดระบบงานแก้ไขปัญหาของชาวเขาในด้านต่าง ๆ ดังกล่าว แต่อาจจะเป็นไปในแนวทางลักษณะเดิมที่เคยปฏิบัติมาแล้ว และอาจดำเนินไปในอัตราช้า อีกทั้งยังอาจไม่สอดคล้องกับสภาพความต้องการและปัญหาหลักของชาวเขา และชนกลุ่มน้อย ในแต่ละพื้นที่และกลุ่มชาติพันธุ์ (หน้า 126) ทั้งนี้เนื่องจากในแทบทุกหน่วยงานที่ให้ความช่วยเหลือชาวเขามักมีบทบาทเป็น "ผู้ให้" และ "ผู้กำกับการดำเนินงาน" เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการโดยที่ชาวเขามีบทบาทน้อยมากในการเข้ามามีส่วนร่วมในการวางแผน และการตัดสินใจ (หน้า 118) |
|
Text Analyst |
ทรรศนันท์ ชินศิริพันธุ์ |
Date of Report |
30 มี.ค 2561 |
TAG |
ขมุ กำมุ ตะมอย, ไต คนไต ไตโหลง ไตหลวง ไตใหญ่, จีนยูนนาน จีนมุสลิม, เมี่ยน อิวเมี่ยน, ลาหู่ ลาฮู, ปะโอ, โพล่ง โผล่ง โพล่ว ซู กะเหรี่ยง, คะยาห์ กะเรนนี บเว, คะยัน กะจ๊าง, ปกาเกอะญอ จกอ คานยอ กะเหรี่ยง, ชาวเขา, ชนกลุ่มน้อย, การสำรวจทางประชากร, การศึกษา, สาธารณสุข, ประเทศไทย, |
Translator |
- |
|