กลุ่มชาติพันธุ์

|
| | | ฆ | | | | | | ฌ | | ฎ | ฎ | ฐ | ฑ | ฒ | ณ | | | | | ธ | | | | | ฝ | | ฟ | | | | | | | ศ | ษ | | | ฬ | | | ทั้งหมด
แสดง 1-9 จากทั้งหมด 21 รายการ

กะยัน, แลเคอ

 
(กะเหรี่ยงคอยาว, แลเคอ, คะยัน, กะจ๊าง, ปะดอง, ปาด่อง)
ชาวกะยัน หรือเป็นที่รู้จักกันในชื่อกะเหรี่ยงคอยาว เรียกตนเองว่า แลเคอ เป็นกลุ่มเล็ก ๆ ที่มีถิ่นอาศัยอยู่ในประเทศพม่า ได้รับผลกระทบจากการสู้รบอพยพหนีภัยสงครามเข้ามาอาศัยตามตะเข็บชายแดนและบางส่วนในเขตจังหวัดแม่ฮ่องสอน ปัจจุบันกระจายไปอยู่อาศัยในหลายจังหวัดที่มีกิจกรรมท่องเที่ยววิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์...

กะแย, กะยา, คะยาห์, บเว

 
(กะเหรี่ยง, ยางแดง, เลากัง, กะยินนี่, กะเหรี่ยงแดง,กะเหรี่ยงแบร)
กะเหรี่ยงแดง กะเหรี่ยงแบร หรือบเว เริ่มอพยพเคลื่อนย้ายจากประเทศพม่าเข้ามาสู่ไทยหลังยุคล่าอาณานิคม ทวีความเข้มข้นเมื่อเกิดสถานการณ์สู้รบในประเทศผนวกกับความยากแค้นในการดำรงชีพ รวมถึงนโยบายด้านการท่องเที่ยวของประเทศไทยจึงเป็นแรงดึงดูดให้มีการนำเข้ากลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงกลุ่มย่อยอื่นตามมา ...

ญัฮกุร, เนียะกุร, ละว้า, ชาวบน

 
(ละว้า, ชาวบน, คนดง ,ชาวดง)
ญัฮกุรพบอยู่ในสามจังหวัด คือ เพชรบูรณ์ ชัยภูมิและนครราชสีมา ในด้านภาษา วัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ของกลุ่มชาติพันธุ์ในแต่ละพื้นที่มีความแตกต่างกันพอสมควร ดังนั้นจึงได้เลือกนำเสนอกลุ่มญัฮกุรที่อาศัยอยู่ในจังหวัดชัยภูมิเป็นหลักจากสามหมู่บ้าน ได้แก่ บ้านไร่ บ้านวังอ้ายโพธิ์และบ้านวังอ้ายคง ...

ไทยโคราช

 
(ลาว, ไทยโคราช)
คนไทยโคราช ไม่ใช่ชื่อเรียกชนชาติและเชื้อชาติ ไม่ใช่อัตลักษณ์ชาติพันธุ์ที่ตายตัว แต่เป็นกระบวนการสร้างอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ที่ผ่านการกรองและต่อรองกับอำนาจของรัฐศูนย์กลางของคนกลุ่มวัฒนธรรมไทย จนตกผลึกเป็น "ไทยโคราช" อัตลักษณ์ที่มีความคล้ายไปทางวัฒนธรรมไทยภาคกลางมากกว่าวัฒนธรรมลาวในอีสาน ...

บีซู

 
(ละว้า, ลัวะ)
กลุ่มชาติพันธุ์ที่อาศัยอยู่บริเวณ จ.เชียงราย เรียกตนเองว่า บีซู ในอดีตคนบีซูถูกทางราชการไทยเรียกรวมว่า ละว้า หรือลัวะ เพราะคนบีซูไม่ค่อยเปิดเผยตัวและอยู่รวมกลุ่มกันเล็กๆ ตั้งบ้านเรือนอยู่ห่างไกลจากชุมชนอื่น ปัจจุบันคนบีซูจึงต้องการให้คนภายนอกเรียกตนเองว่า บีซู เสียมากกว่า ...

ปลัง, คาปลัง

 
(ลัวะ, ปะหล่อง, ไตหลอย, สามเต้า, ปู้หลัง)
ชาวปลังเป็นกลุ่มคนที่อพยพมาจากพื้นที่รอยต่อระหว่างประเทศพม่าและจีน ภายหลังได้เข้ามาอยู่อาศัยในแถบจังหวัดเชียงราย พบปัญหาหลักเกี่ยวกับภาวะการไร้สัญชาติของกลุ่มชาติพันธุ์ อย่างไรก็ตามชาวปลังบางส่วนก็ได้อพยพเคลื่อนย้ายมาทำงานในสวนกล้วยไม้แถบจังหวัดนครปฐมและจังหวัดใกล้เคียง ...

ผู้ย้อย, ย้อย, ลาวย้อย, ไทย้อย, โย่ย

 
(ไทโย้ย, ไทย้อย, สร้อง, โต้ย)
กลุ่มชาติพันธุ์โย้ยอพยพมาจากฝั่งลาว อาศัยอยู่หนาแน่นในเขตพื้นที่จังหวัดสกลนคร อำเภออากาศอำนวย, วานรนิวาส, พังโคนและสว่างแดนดิน ปัจจุบันชุมชนโย้ยในหลายพื้นที่ต่างพยายามสืบสานและฟื้นฟูรากเหง้า สร้างอัตลักษณ์ของตนเองเพื่อความภาคภูมิใจและรองรับการท่องเที่ยวอีกด้วย ...

พวน, ไทพวน

 
(ลาวพวน, ไทยพวน)
ชาวไทพวน หรือลาวพวน สันนิษฐานว่ามีถิ่นเดิมอยู่ในแคว้นเชียงขวาง ประเทศลาว ตั้งถิ่นฐานใกล้แม่น้ำ มีวิถีชีวิตผูกพันกับอาชีพเกษตรกรรม ทำให้เมื่อครั้งอพยพย้ายถิ่นมาตั้งถิ่นฐานในประเทศไทยจะอาศัยอยู่ในจังหวัดที่มีแม่น้ำ เช่น ในอำเภอปากพลี และอำเภอเมือง จังหวัดนครนายก เป็นต้น ...

ยวน, คนเมือง

 
(ชาวล้านนา, คนไทยทางเหนือไทยวน, ไตยวน, โยน, ยวน, ลาว, ขะหลอม, ก้อหล่ง, เจ๊ะ, กอเลาะ, จั่นกะหลอม, ไต๋มุง)
ไทยวน มีบรรพบุรุษจากเมืองเชียงแสนหรืออาณาจักรโยนก ภายหลังการล่มสลายจึงย้ายมาสร้างเมืองที่เชียงใหม่และเรียกว่า อาณาจักรล้านนา การรวมกลุ่มภายใต้โครงสร้างเครือญาติและผสมกลมกลืนกลุ่มวัฒนธรรมอื่น ๆ ก่อให้เกิดการนิยามตัวตนใหม่ เรียกว่า "คนเมือง" เพื่อสร้างความแตกต่างและความสัมพันธ์เชิงอำนาจกับกลุ่มอื่น ...