กลุ่มชาติพันธุ์

|
| | | ฆ | | | | | | ฌ | | ฎ | ฎ | ฐ | ฑ | ฒ | ณ | | | | | ธ | | | | | ฝ | | ฟ | | | | | | | ศ | ษ | | | ฬ | | | ทั้งหมด
แสดง 1-9 จากทั้งหมด 9 รายการ

กะแย, กะยา, คะยาห์, บเว

 
(กะเหรี่ยง, ยางแดง, เลากัง, กะยินนี่, กะเหรี่ยงแดง,กะเหรี่ยงแบร)
กะเหรี่ยงแดง กะเหรี่ยงแบร หรือบเว เริ่มอพยพเคลื่อนย้ายจากประเทศพม่าเข้ามาสู่ไทยหลังยุคล่าอาณานิคม ทวีความเข้มข้นเมื่อเกิดสถานการณ์สู้รบในประเทศผนวกกับความยากแค้นในการดำรงชีพ รวมถึงนโยบายด้านการท่องเที่ยวของประเทศไทยจึงเป็นแรงดึงดูดให้มีการนำเข้ากลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงกลุ่มย่อยอื่นตามมา ...

กะเหรี่ยง, ปกาเกอะญอ, จกอ, คานยอ

 
(ยางขาว, ยางเผือก, ญาง, สกอ, ยางเบียง, ยางกะเลอ, จกอ, ส่องปากี, กะหร่าง, ยางป่า, บาม่ากะวิน, สกอกะเรน, กะหยิ่น, เกรี่ยง, กะเรง)
กะเหรี่ยง เป็นคำที่มักหมายรวมถึงกลุ่มที่เรียกตนเองว่า ปกาเกอะญอ โพล่ง กะยาห์ กะยัน บเวและปะโอ ที่อาศัยอยู่ในภาคเหนือมีการตั้งถิ่นฐานของกะเหรี่ยงปกาเกอะญอบริเวณรอยต่อตะเข็บชายแดนไทย-เมียนมา ตั้งแต่ภาคตะวันตกจนถึงภาคเหนือประเทศไทย ก่อนการแบ่งแนวเขตแดนระหว่างประเทศพม่าหรือสาธารณรัฐเมียนมากับประเทศไทย ...

กะเหรี่ยงโพล่ง, โผล่ง, ซู, กะเหรี่ยง

 
(กะเหรี่ยงโป, โพล่ง, ยางเด้าะแด้, ยางบ้าน, ยางแดง, ฮซู่, กะเหรี่ยง, โปว์กะเรน, กะหยิ่น, ยางเปียง, ตะเลงกะริน, โปว์)
คนไทยในภาคเหนือเรียกกะเหรี่ยงโพล่ง ว่า "พล่อ" หรือ "โพล่ง" มีประชากรเป็นอันดับสองรองจากกะเหรี่ยงปกาเกอะญอ ผู้คนส่วนใหญ่มักเข้าใจว่าปกาเกอะญออาศัยอยู่เฉพาะทางภาคเหนือและกะเหรี่ยงโผล่งอาศัยอยู่เฉพาะทางภาคตะวันตกเท่านั้น แต่แท้จริงแล้วพบกะเหรี่ยงทั้งสองกลุ่มอยู่ในจังหวัดเดียวกันแต่แยกหมู่บ้านไม่ปะปนกัน...

ญ้อ, ย้อ, ญ่อ, โย้

 
(ไทญ้อ)
กลุ่มชาติพันธุ์ญ้อจัดอยู่ในตระกูลพูดภาษาไท-กะได ซึ่งภาษาพูดของกลุ่มชาติพันธุ์ญ้อนั้นเหมือนภาษาลาวอีสานแต่มีความแตกต่างของสำเนียงเล็กน้อย อาศัยอยู่หนาแน่นในพื้นที่จังหวัดสกลนคร นครพนม บึงกาฬ กาฬสินธุ์ มหาสารคาม นอกจากนี้ยังพบว่าอาศัยอยู่ที่ภาคตะวันออกด้วย ...

ผู้ย้อย, ย้อย, ลาวย้อย, ไทย้อย, โย่ย

 
(ไทโย้ย, ไทย้อย, สร้อง, โต้ย)
กลุ่มชาติพันธุ์โย้ยอพยพมาจากฝั่งลาว อาศัยอยู่หนาแน่นในเขตพื้นที่จังหวัดสกลนคร อำเภออากาศอำนวย, วานรนิวาส, พังโคนและสว่างแดนดิน ปัจจุบันชุมชนโย้ยในหลายพื้นที่ต่างพยายามสืบสานและฟื้นฟูรากเหง้า สร้างอัตลักษณ์ของตนเองเพื่อความภาคภูมิใจและรองรับการท่องเที่ยวอีกด้วย ...

เมี่ยน, อิ้วเมี่ยน

 
(เย้า, เมี่ยน)
ชาวอิ้วเมี่ยน เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีถิ่นกำเนิดบริเวณเขตภูเขาสูงทางตอนกลางของประเทศจีน เมื่อประสบภัยทางการเมืองและความจำเป็นทางเศรษฐกิจจึงอพยพกระจายไปยังตอนใต้ของประเทศจีน และบริเวณภาคเหนือของเวียดนาม ลาว และไทย ในขณะที่บางส่วนได้อพยพไปตั้งถิ่นฐานในประเทศตะวันตกในช่วงหลังสงครามอินโดจีน ...

ยวน, คนเมือง

 
(ชาวล้านนา, คนไทยทางเหนือไทยวน, ไตยวน, โยน, ยวน, ลาว, ขะหลอม, ก้อหล่ง, เจ๊ะ, กอเลาะ, จั่นกะหลอม, ไต๋มุง)
ไทยวน มีบรรพบุรุษจากเมืองเชียงแสนหรืออาณาจักรโยนก ภายหลังการล่มสลายจึงย้ายมาสร้างเมืองที่เชียงใหม่และเรียกว่า อาณาจักรล้านนา การรวมกลุ่มภายใต้โครงสร้างเครือญาติและผสมกลมกลืนกลุ่มวัฒนธรรมอื่น ๆ ก่อให้เกิดการนิยามตัวตนใหม่ เรียกว่า "คนเมือง" เพื่อสร้างความแตกต่างและความสัมพันธ์เชิงอำนาจกับกลุ่มอื่น ...

ยอง, คนยอง

 
(ลื้อ, ไทยอง, ไตยอง, ลื้อเมืองยอง)
คนยอง เป็นชื่อเรียกของกลุ่มคนเชื้อสายไทลื้อกลุ่มหนึ่ง ที่ตั้งบ้านเรือนอยู่ที่เมืองยองหรือเวียงยอง ซึ่งมีชื่อในภาษาบาลีว่า มหิยังคนคร ผู้เฒ่าผู้แก่ชาวยอง เรียกว่า เมืองเจงจ้าง ปัจจุบันยังคงเรียกตนเองว่า คนยอง เพื่อแสดงให้เห็นถึงอัตลักษณ์ของพวกเขาที่ผูกติดกับพื้นที่  ...

ยุมบรี, มลาบรี, มละบริ

 
(ผีตองเหลือง, ผีป่า, ข่าตองเหลือง, ข่าป่า, ม้ากู่, จันเก้ม, ตองเหลือง, คนตองเหลือง, คนป่า, ชาวเขา)
ในอดีตคนไทยรู้จักกลุ่มชาติพันธุ์ "มลาบรี" ในชื่ออื่นที่แสดงถึงอคติทางวัฒนธรรม เช่น ผีป่า ผีตองเหลือง คำว่า "มลาบรี" แท้จริงแล้วมีความหมายว่า "คนป่า" อาศัยอยู่ในจังหวัดแพร่และน่าน ปัจจุบันทรัพยากรธรรมชาติที่เป็นรากฐานทางวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ได้ถูกทำลายลงอย่างมากจำต้องเปลี่ยนวิถีชีวิตไปจากเดิม ...