กลุ่มชาติพันธุ์

|
| | | ฆ | | | | | | ฌ | | ฎ | ฎ | ฐ | ฑ | ฒ | ณ | | | | | ธ | | | | | ฝ | | ฟ | | | | | | | ศ | ษ | | | ฬ | | | ทั้งหมด
แสดง 1-9 จากทั้งหมด 9 รายการ

กะยัน, แลเคอ

 
(กะเหรี่ยงคอยาว, แลเคอ, คะยัน, กะจ๊าง, ปะดอง, ปาด่อง)
ชาวกะยัน หรือเป็นที่รู้จักกันในชื่อกะเหรี่ยงคอยาว เรียกตนเองว่า แลเคอ เป็นกลุ่มเล็ก ๆ ที่มีถิ่นอาศัยอยู่ในประเทศพม่า ได้รับผลกระทบจากการสู้รบอพยพหนีภัยสงครามเข้ามาอาศัยตามตะเข็บชายแดนและบางส่วนในเขตจังหวัดแม่ฮ่องสอน ปัจจุบันกระจายไปอยู่อาศัยในหลายจังหวัดที่มีกิจกรรมท่องเที่ยววิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์...

กะเหรี่ยง, ปกาเกอะญอ, จกอ, คานยอ

 
(ยางขาว, ยางเผือก, ญาง, สกอ, ยางเบียง, ยางกะเลอ, จกอ, ส่องปากี, กะหร่าง, ยางป่า, บาม่ากะวิน, สกอกะเรน, กะหยิ่น, เกรี่ยง, กะเรง)
กะเหรี่ยง เป็นคำที่มักหมายรวมถึงกลุ่มที่เรียกตนเองว่า ปกาเกอะญอ โพล่ง กะยาห์ กะยัน บเวและปะโอ ที่อาศัยอยู่ในภาคเหนือมีการตั้งถิ่นฐานของกะเหรี่ยงปกาเกอะญอบริเวณรอยต่อตะเข็บชายแดนไทย-เมียนมา ตั้งแต่ภาคตะวันตกจนถึงภาคเหนือประเทศไทย ก่อนการแบ่งแนวเขตแดนระหว่างประเทศพม่าหรือสาธารณรัฐเมียนมากับประเทศไทย ...

กะเหรี่ยงโพล่ง, โผล่ง, ซู, กะเหรี่ยง

 
(กะเหรี่ยงโป, โพล่ง, ยางเด้าะแด้, ยางบ้าน, ยางแดง, ฮซู่, กะเหรี่ยง, โปว์กะเรน, กะหยิ่น, ยางเปียง, ตะเลงกะริน, โปว์)
คนไทยในภาคเหนือเรียกกะเหรี่ยงโพล่ง ว่า "พล่อ" หรือ "โพล่ง" มีประชากรเป็นอันดับสองรองจากกะเหรี่ยงปกาเกอะญอ ผู้คนส่วนใหญ่มักเข้าใจว่าปกาเกอะญออาศัยอยู่เฉพาะทางภาคเหนือและกะเหรี่ยงโผล่งอาศัยอยู่เฉพาะทางภาคตะวันตกเท่านั้น แต่แท้จริงแล้วพบกะเหรี่ยงทั้งสองกลุ่มอยู่ในจังหวัดเดียวกันแต่แยกหมู่บ้านไม่ปะปนกัน...

ชอง, ตัมเร็จ, สำแร

 
(ชอง, ปัว, ซองชีขะโมย, มโนะห์, มนิก, ขำของ)
ชาวชองเป็นกลุ่มคนดั้งเดิมที่อาศัยอยู่ในเขตรอยต่อระหว่างประเทศไทยและกัมพูชามาเป็นเวลาช้านาน แต่ไม่ปรากฏหลักฐานที่เอ่ยถึงกลุ่มคนเหล่านี้เอาไว้อย่างชัดเจน ปัจจุบันพบชาวชองอาศัยอยู่เป็นบริเวณกว้าง โดยเฉพาะภาคตะวันออกของประเทศไทย จังหวัดจันทบุรี ตราด ฉะเชิงเทรา ...

ดาระอั้ง, ดาระอาง, ดาละอั้ง

 
(ปะหล่อง, ว้าปะหล่อง)
"ดาราอาง" กลุ่มชาติพันธุ์ที่อพยพมาจากประเทศเมียนมาเข้ามาตั้งถิ่นฐานเมื่อราวสามสิบกว่าปีที่ผ่านมา  อาศัยอยู่ในหมู่บ้านบริเวณชายแดน ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่และเชียงราย  ส่วนใหญ่ไม่มีที่ดินทำกิน จึงดำรงชีพด้วยการรับจ้างในภาคเกษตรเป็นหลัก  ...

ปลัง, คาปลัง

 
(ลัวะ, ปะหล่อง, ไตหลอย, สามเต้า, ปู้หลัง)
ชาวปลังเป็นกลุ่มคนที่อพยพมาจากพื้นที่รอยต่อระหว่างประเทศพม่าและจีน ภายหลังได้เข้ามาอยู่อาศัยในแถบจังหวัดเชียงราย พบปัญหาหลักเกี่ยวกับภาวะการไร้สัญชาติของกลุ่มชาติพันธุ์ อย่างไรก็ตามชาวปลังบางส่วนก็ได้อพยพเคลื่อนย้ายมาทำงานในสวนกล้วยไม้แถบจังหวัดนครปฐมและจังหวัดใกล้เคียง ...

ปะโอ

 
(ตองซู่, กะเหรี่ยงพะโค, กะเหรี่ยงดำ)
ชาวปะโออาศัยอยู่บริเวณรัฐฉานและที่ราบริมฝั่งแม่น้ำคง (สาละวิน) รวมกับชาวไทใหญ่ รวมไปถึงบางส่วนของรัฐมอญและรัฐกระเหรี่ยง และเนื่องด้วยชาวปะโอตั้งถิ่นฐานเป็นเพื่อนบ้านกับชาวไทใหญ่จึงมีการติดต่อไปมาหาสู่จนมีวัฒนธรรมที่คล้ายคลึงกัน  ...

ลัวะ, เลอเวือะ, ละเวือะ, ละว้า, ถิ่น, มัล, ไปร

 
(ลัวะ, เลอเวือะ, ละเวือะ, ละว้า, ถิ่น, มัล, ไปร)
ลัวะ ในประเทศไทยนั้น หากจำแนกตามลักษณะการตั้งถิ่นฐานแล้วจะพบว่ามีีสองกลุ่มใหญ่ คือ หนึ่ง ลัวะในเมืองเชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ที่เรียกตัวเองว่าลเวือะ ลวะ  สืบผีฝ่ายพ่อ  และสอง ลัวะ ในเมืองน่าน ที่เรียกตัวเองว่า ลัวะมัล ลัวะปรัย สืบผีฝ่ายแม่  ทั้งสองกลุ่มใช้ภาษาพูดที่แตกต่างกัน ไม่สามารถสื่อสารกันได้เข้าใ...

ลื้อ, ไทลื้อ, ไต, ไทยลื้อ

 
(ลื้อ, ไทลื้อ, ไต, ไทยลื้อ, ไปอี)
ไทลื้อ กลุ่มชนภาษาตระกูลไท อาศัยใช้ชีวิตตั้งถิ่นฐานมาอย่างยาวนานในเขตลุ่มน้ำโขงตอนบนหลายศตวรรษ นับถือทั้งความเชื่อดั้งเดิมและพุทธศาสนาเถรวาท จากหลักฐานตำนานประวัติศาสตร์ นับจากช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 17 เริ่มปรากฏการก่อตั้งรัฐชองชาวลื้อขึ้น ซึ่งตำนานของชาวไทถือพญาเจิงเป็นปฐมกษัตริย์ ...