กลุ่มชาติพันธุ์

|
| | | ฆ | | | | | | ฌ | | ฎ | ฎ | ฐ | ฑ | ฒ | ณ | | | | | ธ | | | | | ฝ | | ฟ | | | | | | | ศ | ษ | | | ฬ | | | ทั้งหมด
แสดง 1-9 จากทั้งหมด 18 รายการ

กูย, กวย

 
(ส่วย, ไทย-เขมร, ข่า, ส่วยลาว, เขมรป่าดง, ไทยกวย)
"กูย" หรือ "กวย" เป็นคำเรียกชื่อตัวเองของกลุ่มชาติพันธุ์หนึ่งอาศัยอยู่อาณาบริเวณลุ่มน้ำโขงและเทือกเขาพนมดงรัก อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานบริเวณภาคอีสานของประเทศไทย แม้ยังไม่มีหลักฐานถึงสาเหตุการอพยพโยกย้ายที่แน่ชัด แต่กลุ่มชาติพันธุ์กูยถือว่ามีบทบาทในพื้นที่อีสานตอนใต้และอาศัยอยู่มาเป็นเวลานาน ...

ขแมร์ลือ

 
(เขมรสูง, ไทย-เขมร, เขมรถิ่นไทย, คนไทยเชื้อสายเขมร, เขมรสูง, เขมรเหนือ, เขมรป่าดง)
"เขมรถิ่นไทย" หรือชาวไทยที่มีวัฒนธรรม/เชื้อสายเขมร เรียกตนเองว่า "ขแมร์" ขณะเดียวกันชาวกัมพูชา มักเรียกคนสุรินทร์ว่า "ขะแมร์โสเร็น" ซึ่ง ขะแมร์ เขมร หรือแผ่นดินแม่ และสะเร็นหรือ โสเร็น หมายถึง สุรินทร์ ส่วนมากพูดภาษาเขมร การเรียกดังกล่าวเป็นการแสดงถึงความสัมพันธ์ที่เป็นมิตรไมตรีของชาวเขมรด้วยกัน ...

ขึน, ไทขึน, ไทเขิน

 
(ไทขึน, ไทเขิน)
กลุ่มชาติพันธุ์ไทขึนหรือไทเขิน ถูกกวาดต้อนมาตั้งถิ่นฐานที่แรกบริเวณประตูหายยา จ.เชียงใหม่ กระจายอาศัยกลืนกลายเป็นส่วนหนึ่งของรัฐจารีตล้านนา มีกลุ่มสินค้าหัตถกรรมที่เรียกว่า เครื่องเขิน และคำว่า เขิน นี้กลายเป็นชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่ง และกลายเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการรื้อฟื้นเพื่อสร้างตัวตนทางชาติพันธุ์...

ญ้อ, ย้อ, ญ่อ, โย้

 
(ไทญ้อ)
กลุ่มชาติพันธุ์ญ้อจัดอยู่ในตระกูลพูดภาษาไท-กะได ซึ่งภาษาพูดของกลุ่มชาติพันธุ์ญ้อนั้นเหมือนภาษาลาวอีสานแต่มีความแตกต่างของสำเนียงเล็กน้อย อาศัยอยู่หนาแน่นในพื้นที่จังหวัดสกลนคร นครพนม บึงกาฬ กาฬสินธุ์ มหาสารคาม นอกจากนี้ยังพบว่าอาศัยอยู่ที่ภาคตะวันออกด้วย ...

ตึ่งนั้ง, คนจีน, ไทยเชื้อสายจีน

 
(คนจีน, เจ๊ก)
ชาวจีนที่อพยพมานั้น มักมาจากดินแดนทางตอนใต้ของประเทศจีน ได้แก่ ชาวจีนกวางตุ้ง จีนแคะ จีนแต้จิ๋ว จีนฮกเกี้ยนและจีนไหหลำ รวม 5 กลุ่มภาษาใหญ่ หลักฐานที่ชี้ให้เห็นถึงการอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานของชาวจีนทั้งห้ากลุ่มภาษา เห็นได้จากศาลเจ้า สมาคมตระกูลแซ่ สมาคมกลุ่มภาษา และโรงเรียนจีน เป็นต้น ...

ไต, คนไต, ไตโหลง, ไตหลวง, ไตใหญ่, ไทหลวง

 
(ไทใหญ่, เงี้ยว, ฉาน, ชาน, ชาวไต, ไทเหนือ, ไทมาว)
กลุ่มชาติพันธุ์ "ไต" อาศัยอยู่ตั้งแต่ตอนเหนือเวียดนาม ตลอดแนวตอนใต้ของจีน ลาว ไทย ทางตอนเหนือของพม่าไปจนถึงแคว้นอัสสัมของอินเดีย ด้วยการกระจายตัวไปในพื้นที่ที่แตกต่าง พวกเขาจึงมีชื่อเรียกมากมายตามประเทศและกลุ่มคนที่อาศัยร่วม โดยคำว่า "ไทใหญ่" พบว่าเป็นคำที่คนไทยเท่านั้นใช้เรียกคนกลุ่มชาติพันธุ์นี้ ...

ไทยโคราช

 
(ลาว, ไทยโคราช)
คนไทยโคราช ไม่ใช่ชื่อเรียกชนชาติและเชื้อชาติ ไม่ใช่อัตลักษณ์ชาติพันธุ์ที่ตายตัว แต่เป็นกระบวนการสร้างอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ที่ผ่านการกรองและต่อรองกับอำนาจของรัฐศูนย์กลางของคนกลุ่มวัฒนธรรมไทย จนตกผลึกเป็น "ไทยโคราช" อัตลักษณ์ที่มีความคล้ายไปทางวัฒนธรรมไทยภาคกลางมากกว่าวัฒนธรรมลาวในอีสาน ...

ไทยเบิ้ง, ไทยเดิ้ง

 
(ไทยเบิ้ง, ไทยเดิ้ง, ไทโคราช)
ไทยเบิ้ง ไทยเดิ้งหรือไทยโคราช มีถิ่นฐานอยู่ในจังหวัดลพบุรีมานานกว่าสองทศวรรษ ในเขตรอยต่อของภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ผู้คนที่อาศัยในแถบนี้มีวัฒนธรรมเป็นเอกลักษณ์ ลักษณะวัฒนธรรมผสมผสานระหว่างภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคกลาง เหตุเพราะเป็นชุมชนที่มีปฏิสัมพันธ์กับทั้งสองภูมิภาค ...

ไทหย่า, ไตหย่า

 
(ฮวาเย่าไต, ไต)
ครั้งที่คณะมิชชันนารีเดินทางไปเผยแพร่คริสตศาสนาที่เมืองหย่า มณฑลยูนนาน ประเทศจีน ชาวเมืองหย่าบางส่วนหันมานับถือศาสนาคริสต์ เมื่อเดินทางกลับมายังประเทศไทย ชาวหย่าบางส่วนได้เดินทางมาด้วยในฐานะลูกหาบและพบว่าพื้นที่อุดมสมบูรณ์ทั้งให้เสรีภาพในศาสนา จึงกลับไปชวนครอบครัวมาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่จังหวัดเชียงราย ...