กลุ่มชาติพันธุ์

|
| | | ฆ | | | | | | ฌ | | ฎ | ฎ | ฐ | ฑ | ฒ | ณ | | | | | ธ | | | | | ฝ | | ฟ | | | | | | | ศ | ษ | | | ฬ | | | ทั้งหมด
แสดง 1-9 จากทั้งหมด 15 รายการ

กะเหรี่ยงโพล่ง, โผล่ง, ซู, กะเหรี่ยง

 
(กะเหรี่ยงโป, โพล่ง, ยางเด้าะแด้, ยางบ้าน, ยางแดง, ฮซู่, กะเหรี่ยง, โปว์กะเรน, กะหยิ่น, ยางเปียง, ตะเลงกะริน, โปว์)
คนไทยในภาคเหนือเรียกกะเหรี่ยงโพล่ง ว่า "พล่อ" หรือ "โพล่ง" มีประชากรเป็นอันดับสองรองจากกะเหรี่ยงปกาเกอะญอ ผู้คนส่วนใหญ่มักเข้าใจว่าปกาเกอะญออาศัยอยู่เฉพาะทางภาคเหนือและกะเหรี่ยงโผล่งอาศัยอยู่เฉพาะทางภาคตะวันตกเท่านั้น แต่แท้จริงแล้วพบกะเหรี่ยงทั้งสองกลุ่มอยู่ในจังหวัดเดียวกันแต่แยกหมู่บ้านไม่ปะปนกัน...

ขมุ, กำมุ, ตะมอย

 
(ขมุ, ข่ามุ)
ขมุ กลุ่มชนที่อาศัยกระจายอยู่ทางตอนเหนือของลาวและจัดอยู่ในกลุ่มลาวเทิง เข้ามาตั้งรกรากในไทยตามจังหวัดต่างๆ ทั้งเชียงใหม่ เชียงราย ฯลฯ ปัจจุบันคนขมุมีความสำคัญในแง่ของการเป็นแรงงานในภาคการเกษตรและมีการสร้างพื้นที่ทางสังคม วัฒนธรรมผ่านการสร้างกลุ่มเครือข่ายที่สัมพันธ์ไปด้วยดีกับชนพื้นราบ ...

ชอง, ตัมเร็จ, สำแร

 
(ชอง, ปัว, ซองชีขะโมย, มโนะห์, มนิก, ขำของ)
ชาวชองเป็นกลุ่มคนดั้งเดิมที่อาศัยอยู่ในเขตรอยต่อระหว่างประเทศไทยและกัมพูชามาเป็นเวลาช้านาน แต่ไม่ปรากฏหลักฐานที่เอ่ยถึงกลุ่มคนเหล่านี้เอาไว้อย่างชัดเจน ปัจจุบันพบชาวชองอาศัยอยู่เป็นบริเวณกว้าง โดยเฉพาะภาคตะวันออกของประเทศไทย จังหวัดจันทบุรี ตราด ฉะเชิงเทรา ...

ตึ่งนั้ง, คนจีน, ไทยเชื้อสายจีน

 
(คนจีน, เจ๊ก)
ชาวจีนที่อพยพมานั้น มักมาจากดินแดนทางตอนใต้ของประเทศจีน ได้แก่ ชาวจีนกวางตุ้ง จีนแคะ จีนแต้จิ๋ว จีนฮกเกี้ยนและจีนไหหลำ รวม 5 กลุ่มภาษาใหญ่ หลักฐานที่ชี้ให้เห็นถึงการอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานของชาวจีนทั้งห้ากลุ่มภาษา เห็นได้จากศาลเจ้า สมาคมตระกูลแซ่ สมาคมกลุ่มภาษา และโรงเรียนจีน เป็นต้น ...

ไต, คนไต, ไตโหลง, ไตหลวง, ไตใหญ่, ไทหลวง

 
(ไทใหญ่, เงี้ยว, ฉาน, ชาน, ชาวไต, ไทเหนือ, ไทมาว)
กลุ่มชาติพันธุ์ "ไต" อาศัยอยู่ตั้งแต่ตอนเหนือเวียดนาม ตลอดแนวตอนใต้ของจีน ลาว ไทย ทางตอนเหนือของพม่าไปจนถึงแคว้นอัสสัมของอินเดีย ด้วยการกระจายตัวไปในพื้นที่ที่แตกต่าง พวกเขาจึงมีชื่อเรียกมากมายตามประเทศและกลุ่มคนที่อาศัยร่วม โดยคำว่า "ไทใหญ่" พบว่าเป็นคำที่คนไทยเท่านั้นใช้เรียกคนกลุ่มชาติพันธุ์นี้ ...

ไทหย่า, ไตหย่า

 
(ฮวาเย่าไต, ไต)
ครั้งที่คณะมิชชันนารีเดินทางไปเผยแพร่คริสตศาสนาที่เมืองหย่า มณฑลยูนนาน ประเทศจีน ชาวเมืองหย่าบางส่วนหันมานับถือศาสนาคริสต์ เมื่อเดินทางกลับมายังประเทศไทย ชาวหย่าบางส่วนได้เดินทางมาด้วยในฐานะลูกหาบและพบว่าพื้นที่อุดมสมบูรณ์ทั้งให้เสรีภาพในศาสนา จึงกลับไปชวนครอบครัวมาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่จังหวัดเชียงราย ...

ปลัง, คาปลัง

 
(ลัวะ, ปะหล่อง, ไตหลอย, สามเต้า, ปู้หลัง)
ชาวปลังเป็นกลุ่มคนที่อพยพมาจากพื้นที่รอยต่อระหว่างประเทศพม่าและจีน ภายหลังได้เข้ามาอยู่อาศัยในแถบจังหวัดเชียงราย พบปัญหาหลักเกี่ยวกับภาวะการไร้สัญชาติของกลุ่มชาติพันธุ์ อย่างไรก็ตามชาวปลังบางส่วนก็ได้อพยพเคลื่อนย้ายมาทำงานในสวนกล้วยไม้แถบจังหวัดนครปฐมและจังหวัดใกล้เคียง ...

ปะโอ

 
(ตองซู่, กะเหรี่ยงพะโค, กะเหรี่ยงดำ)
ชาวปะโออาศัยอยู่บริเวณรัฐฉานและที่ราบริมฝั่งแม่น้ำคง (สาละวิน) รวมกับชาวไทใหญ่ รวมไปถึงบางส่วนของรัฐมอญและรัฐกระเหรี่ยง และเนื่องด้วยชาวปะโอตั้งถิ่นฐานเป็นเพื่อนบ้านกับชาวไทใหญ่จึงมีการติดต่อไปมาหาสู่จนมีวัฒนธรรมที่คล้ายคลึงกัน  ...

ผู้ย้อย, ย้อย, ลาวย้อย, ไทย้อย, โย่ย

 
(ไทโย้ย, ไทย้อย, สร้อง, โต้ย)
กลุ่มชาติพันธุ์โย้ยอพยพมาจากฝั่งลาว อาศัยอยู่หนาแน่นในเขตพื้นที่จังหวัดสกลนคร อำเภออากาศอำนวย, วานรนิวาส, พังโคนและสว่างแดนดิน ปัจจุบันชุมชนโย้ยในหลายพื้นที่ต่างพยายามสืบสานและฟื้นฟูรากเหง้า สร้างอัตลักษณ์ของตนเองเพื่อความภาคภูมิใจและรองรับการท่องเที่ยวอีกด้วย ...