กลุ่มชาติพันธุ์

|
| | | ฆ | | | | | | ฌ | | ฎ | ฎ | ฐ | ฑ | ฒ | ณ | | | | | ธ | | | | | ฝ | | ฟ | | | | | | | ศ | ษ | | | ฬ | | | ทั้งหมด
แสดง 1-8 จากทั้งหมด 8 รายการ

กะเหรี่ยงโพล่ง, โผล่ง, ซู, กะเหรี่ยง

 
(กะเหรี่ยงโป, โพล่ง, ยางเด้าะแด้, ยางบ้าน, ยางแดง, ฮซู่, กะเหรี่ยง, โปว์กะเรน, กะหยิ่น, ยางเปียง, ตะเลงกะริน, โปว์)
คนไทยในภาคเหนือเรียกกะเหรี่ยงโพล่ง ว่า "พล่อ" หรือ "โพล่ง" มีประชากรเป็นอันดับสองรองจากกะเหรี่ยงปกาเกอะญอ ผู้คนส่วนใหญ่มักเข้าใจว่าปกาเกอะญออาศัยอยู่เฉพาะทางภาคเหนือและกะเหรี่ยงโผล่งอาศัยอยู่เฉพาะทางภาคตะวันตกเท่านั้น แต่แท้จริงแล้วพบกะเหรี่ยงทั้งสองกลุ่มอยู่ในจังหวัดเดียวกันแต่แยกหมู่บ้านไม่ปะปนกัน...

ชอง, ตัมเร็จ, สำแร

 
(ชอง, ปัว, ซองชีขะโมย, มโนะห์, มนิก, ขำของ)
ชาวชองเป็นกลุ่มคนดั้งเดิมที่อาศัยอยู่ในเขตรอยต่อระหว่างประเทศไทยและกัมพูชามาเป็นเวลาช้านาน แต่ไม่ปรากฏหลักฐานที่เอ่ยถึงกลุ่มคนเหล่านี้เอาไว้อย่างชัดเจน ปัจจุบันพบชาวชองอาศัยอยู่เป็นบริเวณกว้าง โดยเฉพาะภาคตะวันออกของประเทศไทย จังหวัดจันทบุรี ตราด ฉะเชิงเทรา ...

ซะโอจ, ชอง

 
(อูด, ชุอุ้ง, ซะอูด)
ชาวซะโอจอาศัยอยู่ที่บ้านทุ่งนา ตำบลหนองเป็ด อำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี และเป็นชุมชนเดียวในประเทศไทย มีภาษาพูดแต่ไม่มีภาษาเขียน ปัจจุบันภาษาพูดของชนกลุ่มนี้ใกล้สูญหายและกำลังลดจำนวนลง เหลือประมาณ 40-50 คน ที่ยังพูดภาษาของตัวเองได้ ...

ซำเร, สําเหร

 
(ซำเร, สําเหร)
ชาวซำเรในประเทศไทยส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในเขตภาคตะวันตก โดยเฉพาะในพื้นที่จังหวัดตราด กระจายตัวอยู่ในหลายอำเภอ มีความหนาแน่นในพื้นที่ตำบลนนทรีย์ อำเภอบ่อไร่ จังหวัดตราด ซึ่งมีลักษณะนิเวศน์แบบพื้นที่เขตภูเขา เหมาะแก่การทำเกษตร ดังนั้นจึงพบว่าชาวซำเรในพื้นที่ส่วนใหญ่ทำการเกษตรเป็นหลัก ...

โซ่ (ทะวืง)

 
(โซ่, ข่า)
ชาวโซ่ (ทะวืง) ได้รับอิทธิพลของพุทธศาสนาสืบทอดประเพณีปฏิบัติตามอย่างชาวพุทธแต่ก็ยังคงมีร่องรอยของความเชื่อดั้งเดิมที่เกี่ยวกับการนับถือผีย่าปู่ (ผีปู่ตา) ที่เป็นประเพณีสำคัญของชุมชน ปัจจุบันการสืบทอดวัฒนธรรมทางภาษาค่อนข้างสุ่มเสี่ยงต่อการสูญหาย ถูกกลืนไปกับประเพณีวัฒนธรรมของกลุ่มชนอื่นที่อยู่รายรอบ ...

บรู

 
(ข่า, ส่วย, โซ่, กะโซ่, โส้, ข่าโซ่, ข่าพร้าว)
ชาวบรู เรียกตนเองว่า "บรู" หมายถึง "คนที่อาศัยอยู่ตามภูเขา" เคลื่อนย้ายไปมาบริเวณสองฝากฝั่งแม่น้ำโขง มีวิถีชีวิตดั้งเดิมหลอมรวมเข้ากับความเชื่อและสิ่งเหนือธรรมชาติ ภายหลังการอพยพเข้ามาอยู่ภายใต้รัฐไทยต้องเผชิญกับอำนาจรัฐและเงื่อนไขความเปลี่ยนแปลงจนเกิดการปรับตัวและการผสมผสานทางวัฒนธรรม ...

มานิ

 
(โอรังอัสลี, เนกริโต, เซมัง, ซาไก, ชอง, มอส, ตอนกา, เงาะ, เงาะป่า)
มานิ เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีดำรงชีพแบบหาของป่า-ล่าสัตว์ กลุ่มสุดท้ายในประเทศไทย เคลื่อนย้ายที่อยู่อาศัยไปตามความสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ ในเขตป่าเทือกเขาบรรทัดครอบคลุมพื้นที่จังหวัดตรัง สตูล สงขลาและพัทลุง  ปัจจุบันพบว่ามีบางกลุ่มมีถิ่นที่อยู่ถาวรเนื่องจากเงื่อไขทางสังคมและทรัพยากร ...

โส้, โซร, ซี

 
(โซ่, ข่า, กะโซ่, โส้, ข่าโซ่, ข่าพร้าว)
กลุ่มชาติพันธุ์โส้ เป็นชนกลุ่มหนึ่งที่อาศัยอยู่มากทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย โดยเฉพาะในจังหวัดสกลนคร นครพนมและมุกดาหาร เป็นกลุ่มชาติพันธุ์กลุ่มหนึ่งที่มีอัตลักษณ์โดดเด่น แม้จะดำรงวิถีชีวิตท่ามกลางกลุ่มชาติพันธุ์ไทกลุ่มอื่นๆ แต่ก็ยังคงธำรงเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมและภาษาไว้ได้อย่างชัดเจน ...