กลุ่มชาติพันธุ์

|
| | | ฆ | | | | | | ฌ | | ฎ | ฎ | ฐ | ฑ | ฒ | ณ | | | | | ธ | | | | | ฝ | | ฟ | | | | | | | ศ | ษ | | | ฬ | | | ทั้งหมด
แสดง 1-9 จากทั้งหมด 12 รายการ

กะซอง

 
(ชอง)
ชาวกะซอง ตั้งถิ่นฐานอยู่มากที่ อ.บ่อไร่ จ.ตราด ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม บางส่วนยังใช้ชีวิตผูกพันอยู่กับป่า มีวัฒนธรรมและภาษาพูดเป็นของตนเอง แต่ทว่าสถานการณ์ทางภาษาอยู่ในภาวะวิกฤติขั้นสุดท้าย แนวโน้มในอนาคตความวิกฤติของภาษาจะรุนแรงมากขึ้นและอาจสูญหายได้หากไม่มีการสืบทอดอย่างยั่งยืน ...

ชอง, ตัมเร็จ, สำแร

 
(ชอง, ปัว, ซองชีขะโมย, มโนะห์, มนิก, ขำของ)
ชาวชองเป็นกลุ่มคนดั้งเดิมที่อาศัยอยู่ในเขตรอยต่อระหว่างประเทศไทยและกัมพูชามาเป็นเวลาช้านาน แต่ไม่ปรากฏหลักฐานที่เอ่ยถึงกลุ่มคนเหล่านี้เอาไว้อย่างชัดเจน ปัจจุบันพบชาวชองอาศัยอยู่เป็นบริเวณกว้าง โดยเฉพาะภาคตะวันออกของประเทศไทย จังหวัดจันทบุรี ตราด ฉะเชิงเทรา ...

ซะโอจ, ชอง

 
(อูด, ชุอุ้ง, ซะอูด)
ชาวซะโอจอาศัยอยู่ที่บ้านทุ่งนา ตำบลหนองเป็ด อำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี และเป็นชุมชนเดียวในประเทศไทย มีภาษาพูดแต่ไม่มีภาษาเขียน ปัจจุบันภาษาพูดของชนกลุ่มนี้ใกล้สูญหายและกำลังลดจำนวนลง เหลือประมาณ 40-50 คน ที่ยังพูดภาษาของตัวเองได้ ...

ญัฮกุร, เนียะกุร, ละว้า, ชาวบน

 
(ละว้า, ชาวบน, คนดง ,ชาวดง)
ญัฮกุรพบอยู่ในสามจังหวัด คือ เพชรบูรณ์ ชัยภูมิและนครราชสีมา ในด้านภาษา วัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ของกลุ่มชาติพันธุ์ในแต่ละพื้นที่มีความแตกต่างกันพอสมควร ดังนั้นจึงได้เลือกนำเสนอกลุ่มญัฮกุรที่อาศัยอยู่ในจังหวัดชัยภูมิเป็นหลักจากสามหมู่บ้าน ได้แก่ บ้านไร่ บ้านวังอ้ายโพธิ์และบ้านวังอ้ายคง ...

ไต, คนไต, ไตโหลง, ไตหลวง, ไตใหญ่, ไทหลวง

 
(ไทใหญ่, เงี้ยว, ฉาน, ชาน, ชาวไต, ไทเหนือ, ไทมาว)
กลุ่มชาติพันธุ์ "ไต" อาศัยอยู่ตั้งแต่ตอนเหนือเวียดนาม ตลอดแนวตอนใต้ของจีน ลาว ไทย ทางตอนเหนือของพม่าไปจนถึงแคว้นอัสสัมของอินเดีย ด้วยการกระจายตัวไปในพื้นที่ที่แตกต่าง พวกเขาจึงมีชื่อเรียกมากมายตามประเทศและกลุ่มคนที่อาศัยร่วม โดยคำว่า "ไทใหญ่" พบว่าเป็นคำที่คนไทยเท่านั้นใช้เรียกคนกลุ่มชาติพันธุ์นี้ ...

มอแกน, บะซิง, มาซิง

 
(ชาวเล, ชาวน้ำ, ชาวไทใหม่, บะซิง, มาซิง, มอแกนปูเลา, มอแกนปอลาว, ชาวเกาะ, มอแกนเล, มอแกนเกาะ, สิง)
ก่อนการขีดเส้นแบ่งพรมแดนรัฐชาติระหว่างไทยกับเมียนมา ชาวมอแกนใช้ชีวิตในเรือก่าบางเดินทางในทะเลอย่างอิสระ เส้นแบ่งพรมแดนจำให้ถูกจำกัดการเดินทาง ลงหลักปักฐานสร้างที่อยู่อาศัยถาวรตามหมู่เกาะ วิถีชีวิตถูกปรับเปลี่ยนตามบริบทของแต่ละท้องถิ่น อีกทั้งยังพบปัญหาไร้สัญชาติ ส่งผลต่อการเข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐาน ...

มอแกลน, ชาวบก

 
(มอแกลน, มอแกลนบก, ออลังตามับ, ชาวเล, โอรังลาโวท, ชาวน้ำ, ไทยใหม่, โอรังบาไร)
มอแกลน กลุ่มชาติพันธุ์ชาวเลที่อาศัยอยู่ในหลายหมู่บ้านของจังหวัดพังงาและภูเก็ต มีปฏิสัมพันธ์กับคนหลายกลุ่มเกิดการผสมผสานทางวัฒนธรรม เพื่อแก้ปัญหาความมั่นคงด้านที่อยู่อาศัย พื้นที่ทำกินและจิตวิญญาณ จึงมีความพยายามผลักดันให้เกิดพื้นที่คุ้มครองทางวัฒนธรรม ซึ่งเป็นประเด็นสำคัญที่ต้องร่วมกันแก้ไขในระยะยาว...

มานิ

 
(โอรังอัสลี, เนกริโต, เซมัง, ซาไก, ชอง, มอส, ตอนกา, เงาะ, เงาะป่า)
มานิ เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีดำรงชีพแบบหาของป่า-ล่าสัตว์ กลุ่มสุดท้ายในประเทศไทย เคลื่อนย้ายที่อยู่อาศัยไปตามความสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ ในเขตป่าเทือกเขาบรรทัดครอบคลุมพื้นที่จังหวัดตรัง สตูล สงขลาและพัทลุง  ปัจจุบันพบว่ามีบางกลุ่มมีถิ่นที่อยู่ถาวรเนื่องจากเงื่อไขทางสังคมและทรัพยากร ...

ยวน, คนเมือง

 
(ชาวล้านนา, คนไทยทางเหนือไทยวน, ไตยวน, โยน, ยวน, ลาว, ขะหลอม, ก้อหล่ง, เจ๊ะ, กอเลาะ, จั่นกะหลอม, ไต๋มุง)
ไทยวน มีบรรพบุรุษจากเมืองเชียงแสนหรืออาณาจักรโยนก ภายหลังการล่มสลายจึงย้ายมาสร้างเมืองที่เชียงใหม่และเรียกว่า อาณาจักรล้านนา การรวมกลุ่มภายใต้โครงสร้างเครือญาติและผสมกลมกลืนกลุ่มวัฒนธรรมอื่น ๆ ก่อให้เกิดการนิยามตัวตนใหม่ เรียกว่า "คนเมือง" เพื่อสร้างความแตกต่างและความสัมพันธ์เชิงอำนาจกับกลุ่มอื่น ...