กลุ่มชาติพันธุ์

|
| | | ฆ | | | | | | ฌ | | ฎ | ฎ | ฐ | ฑ | ฒ | ณ | | | | | ธ | | | | | ฝ | | ฟ | | | | | | | ศ | ษ | | | ฬ | | | ทั้งหมด
แสดง 1-9 จากทั้งหมด 14 รายการ

กะเลิง

 
(ข่า, ข่าเลิง, ข่ากะเลิง)
ชาวกะเลิงเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่อยู่อาศัยบนพื้นที่ภูหรือโนนสูง แต่เดิมมีวิถีการผลิตแบบทำข้าวไร่ สันนิษฐานว่าถิ่นฐานเดิมอยู่บริเวณภาคกลางของลาวใกล้ชายแดนเวียดนาม และด้วยภาษาของชาวกะเลิงมีลักษณะใกล้เคียงกับภาษาบรู โซ่และแสก จึงคาดการณ์ว่าชาวกะเลิงอาจมีต้นกำเนิดร่วมกันโดยเฉพาะกลุ่มชาติพันธุ์บรู ...

กูย, กวย

 
(ส่วย, ไทย-เขมร, ข่า, ส่วยลาว, เขมรป่าดง, ไทยกวย)
"กูย" หรือ "กวย" เป็นคำเรียกชื่อตัวเองของกลุ่มชาติพันธุ์หนึ่งอาศัยอยู่อาณาบริเวณลุ่มน้ำโขงและเทือกเขาพนมดงรัก อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานบริเวณภาคอีสานของประเทศไทย แม้ยังไม่มีหลักฐานถึงสาเหตุการอพยพโยกย้ายที่แน่ชัด แต่กลุ่มชาติพันธุ์กูยถือว่ามีบทบาทในพื้นที่อีสานตอนใต้และอาศัยอยู่มาเป็นเวลานาน ...

ขมุ, กำมุ, ตะมอย

 
(ขมุ, ข่ามุ)
ขมุ กลุ่มชนที่อาศัยกระจายอยู่ทางตอนเหนือของลาวและจัดอยู่ในกลุ่มลาวเทิง เข้ามาตั้งรกรากในไทยตามจังหวัดต่างๆ ทั้งเชียงใหม่ เชียงราย ฯลฯ ปัจจุบันคนขมุมีความสำคัญในแง่ของการเป็นแรงงานในภาคการเกษตรและมีการสร้างพื้นที่ทางสังคม วัฒนธรรมผ่านการสร้างกลุ่มเครือข่ายที่สัมพันธ์ไปด้วยดีกับชนพื้นราบ ...

ขแมร์ลือ

 
(เขมรสูง, ไทย-เขมร, เขมรถิ่นไทย, คนไทยเชื้อสายเขมร, เขมรสูง, เขมรเหนือ, เขมรป่าดง)
"เขมรถิ่นไทย" หรือชาวไทยที่มีวัฒนธรรม/เชื้อสายเขมร เรียกตนเองว่า "ขแมร์" ขณะเดียวกันชาวกัมพูชา มักเรียกคนสุรินทร์ว่า "ขะแมร์โสเร็น" ซึ่ง ขะแมร์ เขมร หรือแผ่นดินแม่ และสะเร็นหรือ โสเร็น หมายถึง สุรินทร์ ส่วนมากพูดภาษาเขมร การเรียกดังกล่าวเป็นการแสดงถึงความสัมพันธ์ที่เป็นมิตรไมตรีของชาวเขมรด้วยกัน ...

ขึน, ไทขึน, ไทเขิน

 
(ไทขึน, ไทเขิน)
กลุ่มชาติพันธุ์ไทขึนหรือไทเขิน ถูกกวาดต้อนมาตั้งถิ่นฐานที่แรกบริเวณประตูหายยา จ.เชียงใหม่ กระจายอาศัยกลืนกลายเป็นส่วนหนึ่งของรัฐจารีตล้านนา มีกลุ่มสินค้าหัตถกรรมที่เรียกว่า เครื่องเขิน และคำว่า เขิน นี้กลายเป็นชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่ง และกลายเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการรื้อฟื้นเพื่อสร้างตัวตนทางชาติพันธุ์...

ชอง, ตัมเร็จ, สำแร

 
(ชอง, ปัว, ซองชีขะโมย, มโนะห์, มนิก, ขำของ)
ชาวชองเป็นกลุ่มคนดั้งเดิมที่อาศัยอยู่ในเขตรอยต่อระหว่างประเทศไทยและกัมพูชามาเป็นเวลาช้านาน แต่ไม่ปรากฏหลักฐานที่เอ่ยถึงกลุ่มคนเหล่านี้เอาไว้อย่างชัดเจน ปัจจุบันพบชาวชองอาศัยอยู่เป็นบริเวณกว้าง โดยเฉพาะภาคตะวันออกของประเทศไทย จังหวัดจันทบุรี ตราด ฉะเชิงเทรา ...

โซ่ (ทะวืง)

 
(โซ่, ข่า)
ชาวโซ่ (ทะวืง) ได้รับอิทธิพลของพุทธศาสนาสืบทอดประเพณีปฏิบัติตามอย่างชาวพุทธแต่ก็ยังคงมีร่องรอยของความเชื่อดั้งเดิมที่เกี่ยวกับการนับถือผีย่าปู่ (ผีปู่ตา) ที่เป็นประเพณีสำคัญของชุมชน ปัจจุบันการสืบทอดวัฒนธรรมทางภาษาค่อนข้างสุ่มเสี่ยงต่อการสูญหาย ถูกกลืนไปกับประเพณีวัฒนธรรมของกลุ่มชนอื่นที่อยู่รายรอบ ...

บรู

 
(ข่า, ส่วย, โซ่, กะโซ่, โส้, ข่าโซ่, ข่าพร้าว)
ชาวบรู เรียกตนเองว่า "บรู" หมายถึง "คนที่อาศัยอยู่ตามภูเขา" เคลื่อนย้ายไปมาบริเวณสองฝากฝั่งแม่น้ำโขง มีวิถีชีวิตดั้งเดิมหลอมรวมเข้ากับความเชื่อและสิ่งเหนือธรรมชาติ ภายหลังการอพยพเข้ามาอยู่ภายใต้รัฐไทยต้องเผชิญกับอำนาจรัฐและเงื่อนไขความเปลี่ยนแปลงจนเกิดการปรับตัวและการผสมผสานทางวัฒนธรรม ...

ม้ง

 
(แม้ว, ม้ง, เหมียว, แข่)
ตามตำนานของม้ง ดินแดนประเทศจีนในปัจจุบันเป็นถิ่นฐานบ้านเกิดของบรรพบุรุษที่อพยพจากมาอยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในประเทศไทย ชาวม้ง เดินทางเข้ามาสามเส้นทาง คือ เส้นทางชายแดนจังหวัดน่านและพะเยา เส้นทางภูชี้ฟ้าและดอยผาหม่น และเส้นทางข้ามแม่น้ำโขงบริเวณประเทศลาวและพม่าเข้าสู่บริเวณท่าขี้เหล็ก ...