กลุ่มชาติพันธุ์

|
| | | ฆ | | | | | | ฌ | | ฎ | ฎ | ฐ | ฑ | ฒ | ณ | | | | | ธ | | | | | ฝ | | ฟ | | | | | | | ศ | ษ | | | ฬ | | | ทั้งหมด
แสดง 46-54 จากทั้งหมด 57 รายการ

ลาวเวียง, ลาวกลาง

 
(ลาวเวียง, ลาวกลาง)
ลาวเวียง กลุ่มชาติพันธุ์ที่โยกย้ายถิ่นฐานจากเมืองเวียงจันทน์ เข้าสู่ประเทศไทยตั้งแต่สมัยกรุงธนบุรี ตั้งชุมชนกระจายอยู่ในภาคเหนือตอนล่างและภาคกลาง การเริ่มสร้างชุมชนใหม่บนแผ่นดินที่ไม่คุ้นเคย ปรับตัวรวมกลุ่ม สร้างเครือข่าย สร้างสำนึกทางชาติพันธุ์ ทั้งยังสามารถธำรงประเพณีวัฒนธรรมไว้ได้อย่างน่าสนใจ ...

ลาหู่, ลาฮู, ลาหู่นะ, ลาหู่นาเมี้ยว, ลาหู่ซิมี

 
(มูเซอ, โลไฮ, ลาหู่, ลาหู่แดง, ลาหู่ดำ, ลาหู่เซเล)
"ข้าวปุก" วิถีการผลิตและการกินที่มีความเกี่ยวข้องกับพิธีกรรมและความเชื่อ สัมพันธ์ทางสังคม จริยธรรมและสุขภาพ ของชาวลาหู่ผู้มีภูมิลำเนาเดิมอยู่บริเวณรอยต่อระหว่างธิเบตและจีน ถูกรุกรานจากชาวจีนหลายครั้งจึงอพยพลงใต้ กระทั่งบางกลุ่มเข้ามาอาศัยในประเทศลาว รัฐฉานและไทย ครอบคลุมหมู่บ้านในจังหวัดทางภาคเหนือ ...

ลีซู

 
(ลีซู, ลีซอ)
นักวิชาการสันนิษฐานว่าถิ่นเดิมของลีซูนั้น น่าจะมีจุดเริ่มต้นที่เทือกเขาหิมาลัยทางทิศตะวันออกของธิเบต และกระจายออกไปทางทิศตะวันออกของชายแดนยูนนาน-เสฉวน  อพยพไปจนถึงเมืองติงโฉ่ว ทางตอนเหนือของคุนหมิง และไกลออกไปจนถึงเมืองมิตจีนาของรัฐคะฉิ่น ประเทศพม่า และอพยพลงมาสู่ทางใต้เข้าสู่ทางตอนเหนือของประเทศไทย...

ลื้อ, ไทลื้อ, ไต, ไทยลื้อ

 
(ลื้อ, ไทลื้อ, ไต, ไทยลื้อ, ไปอี)
ไทลื้อ กลุ่มชนภาษาตระกูลไท อาศัยใช้ชีวิตตั้งถิ่นฐานมาอย่างยาวนานในเขตลุ่มน้ำโขงตอนบนหลายศตวรรษ นับถือทั้งความเชื่อดั้งเดิมและพุทธศาสนาเถรวาท จากหลักฐานตำนานประวัติศาสตร์ นับจากช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 17 เริ่มปรากฏการก่อตั้งรัฐชองชาวลื้อขึ้น ซึ่งตำนานของชาวไทถือพญาเจิงเป็นปฐมกษัตริย์ ...

แสก, แทรก(ถะ-แหรก)

 
(ไทยแสก, แสก)
กลุ่มชาติพันธุ์แสกจัดอยู่ในตระกูลพูดภาษาไท-กะได อาศัยอยู่กระจัดกระจายหนาแน่นในพื้นที่จังหวัดนครพนม ไทแสกมีภาษาพูดของกลุ่มชาติพันธุ์ตัวเอง แต่ไม่มีภาษาเขียน โดยจะใช้ภาษาแสกในการพูดจาสื่อสารกันภายใน แต่จะใช้ภาษาลาวอีสานหรือภาษาไทยกลางกับกลุ่มชาติพันธุ์อื่นแทน ...

โส้, โซร, ซี

 
(โซ่, ข่า, กะโซ่, โส้, ข่าโซ่, ข่าพร้าว)
กลุ่มชาติพันธุ์โส้ เป็นชนกลุ่มหนึ่งที่อาศัยอยู่มากทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย โดยเฉพาะในจังหวัดสกลนคร นครพนมและมุกดาหาร เป็นกลุ่มชาติพันธุ์กลุ่มหนึ่งที่มีอัตลักษณ์โดดเด่น แม้จะดำรงวิถีชีวิตท่ามกลางกลุ่มชาติพันธุ์ไทกลุ่มอื่นๆ แต่ก็ยังคงธำรงเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมและภาษาไว้ได้อย่างชัดเจน ...

เหวียต เกี่ยว

 
(ญวน, แกว, ชาวไทยเชื้อสายเวียดนาม)
ชาวเวียดนาม เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่สืบเชื้อสายมาจากชาวเวียด ซึ่งเดิมอาศัยอยู่บริเวณภาคใต้ลุ่มแม่น้ำแยงซีเกียงของจีนก่อนจะอพยพมายังอินโดจีน การอพยพของชาวเวียดนามมายังประเทศไทยเกิดจากเหตุผลหลายประการ และได้รับการเรียกขานด้วยชื่อเรียกหลากหลาย เช่น คนญวณ ญวณ ญวณอพยพ แกว เหวียต เกี่ยว เป็นต้น ...

อ่อเญอ, อ่อเญอก๊อคือ, อาเค๊อะ

 
(อาเค๊อะ, อาเข่อ, อาเค้ออาข่า)
แม้คนกลุ่มนี้จะเรียกตนเองว่า อ่อเญอ หรือ อ่อเญอก๊อคือ แต่เมื่อมีการติดต่อสื่อสารกับบุคคลภายนอกโดยใช้ภาษาอื่น ใช้คำว่า "อาเค๊อะ" เรียกกลุ่มของตนอย่างเป็นทางการ เป็นที่รู้จักของเด็กรุ่นหลังในชุมชนและคนภายนอก โดยข้อมูลชุดนี้เป็นข้อมูลจากงานภาคสนามในหมู่บ้านห้วยน้ำขุ่น ต.ท่าก๊อ อ.แม่สรวย จ.เชียงราย ...

ออแรนายู, ออแฆนายู, มลายูมุสลิม

 
(มุสลิม, อิสลาม, มาเลย์มุสลิม, ไทยมุสลิม, มาเลย์, แขก, มลายูถิ่นไทย)
คนมลายูส่วนใหญ่อาศัยอยู่ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ คือยะลา ปัตตานี นราธิวาส ประชากรเกือบทั้งหมดนับถือศาสนาอิสลาม ส่งผลให้ประเพณีและวัฒนธรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันและในช่วงชีวิตเกี่ยวเนื่องกับหลักการในศาสนาอิสลาม ผสมผสานกับประเพณีดั้งเดิมของท้องถิ่น จึงทำให้คนมลายูมีวิถีปฏิบัติแตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่...