กลุ่มชาติพันธุ์

|
| | | ฆ | | | | | | ฌ | | ฎ | ฎ | ฐ | ฑ | ฒ | ณ | | | | | ธ | | | | | ฝ | | ฟ | | | | | | | ศ | ษ | | | ฬ | | | ทั้งหมด
แสดง 37-45 จากทั้งหมด 57 รายการ

เมี่ยน, อิ้วเมี่ยน

 
(เย้า, เมี่ยน)
ชาวอิ้วเมี่ยน เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีถิ่นกำเนิดบริเวณเขตภูเขาสูงทางตอนกลางของประเทศจีน เมื่อประสบภัยทางการเมืองและความจำเป็นทางเศรษฐกิจจึงอพยพกระจายไปยังตอนใต้ของประเทศจีน และบริเวณภาคเหนือของเวียดนาม ลาว และไทย ในขณะที่บางส่วนได้อพยพไปตั้งถิ่นฐานในประเทศตะวันตกในช่วงหลังสงครามอินโดจีน ...

ยวน, คนเมือง

 
(ชาวล้านนา, คนไทยทางเหนือไทยวน, ไตยวน, โยน, ยวน, ลาว, ขะหลอม, ก้อหล่ง, เจ๊ะ, กอเลาะ, จั่นกะหลอม, ไต๋มุง)
ไทยวน มีบรรพบุรุษจากเมืองเชียงแสนหรืออาณาจักรโยนก ภายหลังการล่มสลายจึงย้ายมาสร้างเมืองที่เชียงใหม่และเรียกว่า อาณาจักรล้านนา การรวมกลุ่มภายใต้โครงสร้างเครือญาติและผสมกลมกลืนกลุ่มวัฒนธรรมอื่น ๆ ก่อให้เกิดการนิยามตัวตนใหม่ เรียกว่า "คนเมือง" เพื่อสร้างความแตกต่างและความสัมพันธ์เชิงอำนาจกับกลุ่มอื่น ...

ยอง, คนยอง

 
(ลื้อ, ไทยอง, ไตยอง, ลื้อเมืองยอง)
คนยอง เป็นชื่อเรียกของกลุ่มคนเชื้อสายไทลื้อกลุ่มหนึ่ง ที่ตั้งบ้านเรือนอยู่ที่เมืองยองหรือเวียงยอง ซึ่งมีชื่อในภาษาบาลีว่า มหิยังคนคร ผู้เฒ่าผู้แก่ชาวยอง เรียกว่า เมืองเจงจ้าง ปัจจุบันยังคงเรียกตนเองว่า คนยอง เพื่อแสดงให้เห็นถึงอัตลักษณ์ของพวกเขาที่ผูกติดกับพื้นที่  ...

ยุมบรี, มลาบรี, มละบริ

 
(ผีตองเหลือง, ผีป่า, ข่าตองเหลือง, ข่าป่า, ม้ากู่, จันเก้ม, ตองเหลือง, คนตองเหลือง, คนป่า, ชาวเขา)
ในอดีตคนไทยรู้จักกลุ่มชาติพันธุ์ "มลาบรี" ในชื่ออื่นที่แสดงถึงอคติทางวัฒนธรรม เช่น ผีป่า ผีตองเหลือง คำว่า "มลาบรี" แท้จริงแล้วมีความหมายว่า "คนป่า" อาศัยอยู่ในจังหวัดแพร่และน่าน ปัจจุบันทรัพยากรธรรมชาติที่เป็นรากฐานทางวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ได้ถูกทำลายลงอย่างมากจำต้องเปลี่ยนวิถีชีวิตไปจากเดิม ...

ลัวะ, เลอเวือะ, ละเวือะ, ละว้า, ถิ่น, มัล, ไปร

 
(ลัวะ, เลอเวือะ, ละเวือะ, ละว้า, ถิ่น, มัล, ไปร)
ลัวะ ในประเทศไทยนั้น หากจำแนกตามลักษณะการตั้งถิ่นฐานแล้วจะพบว่ามีีสองกลุ่มใหญ่ คือ หนึ่ง ลัวะในเมืองเชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ที่เรียกตัวเองว่าลเวือะ ลวะ  สืบผีฝ่ายพ่อ  และสอง ลัวะ ในเมืองน่าน ที่เรียกตัวเองว่า ลัวะมัล ลัวะปรัย สืบผีฝ่ายแม่  ทั้งสองกลุ่มใช้ภาษาพูดที่แตกต่างกัน ไม่สามารถสื่อสารกันได้เข้าใ...

ลาวครั่ง

 
(ลาวครั่ง, ไทครั่ง, ลาวขี้ครั่ง, ลาวเต่าเหลือง, ลาวด่าน, คนไทยเชื้อสายลาวครั่ง)
ระยะเวลากว่า 200 ปี ที่ดำรงเผ่าพันธุ์ลาวครั่งมาถึงปัจจุบัน วัฒนธรรมบางประการกลืนกลาย รับเอาวัฒนธรรมไทยภาคกลางเข้าไปใช้ เป็นผลสืบเนื่องจากการอยู่ท่ามกลางสิ่งแวดล้อมทางสังคม ประเพณี การศึกษาแบบไทย ยังผลให้ความเป็นอยู่อันเป็นรายละเอียดปลีกย่อยของชีวิตหลายอย่างได้เสื่อมสูญ เช่น การละเล่นพื้นบ้าน ...

ลาวแง้ว

 
(ลาวแง้ว)
ปัจจุบันกลุ่มผู้เรียกตนเองว่า ลาวแง้ว ตั้งเป็นชุมชนกระจายอยู่แถบสระบุรี ลพบุรี สิงห์บุรีและนครสวรรค์ เรื่องเล่าการเดินทางที่ตกทอดสู่ลูกหลาน บ้างว่ามาจากเมืองหลวงพระบาง แต่ในขณะบางคนเล่าว่ามาจากเวียงจันทน์ในครั้งศึกเจ้าอนุวงศ์ ความทรงจำจึงค่อนข้างสับสนว่าตนเป็นลาวกลุ่มใดและถูกต้อนมาครั้งใด ...

ลาวโซ่ง, ผู้ลาว, ไทดำ, ไททรงดำ, ไทยทรงดำ

 
(ลาวโซ่ง, ผู้ลาว, ไทดำ, ไททรงดำ, ไทยทรงดำ)
ลาวโซ่ง/ไทดำมีถิ่นฐานดั้งเดิมอยู่บริเวณภาคเหนือของประเทศเวียดนาม เคลื่อนย้ายเข้ามาสู่ประเทศไทยตั้งแต่ พ.ศ. 2322 ร่วมกับบรรดาชาวลาวกลุ่มต่าง ๆ ตั้งถิ่นฐานครั้งแรกที่จังหวัดเพชรบุรี หลังจากนั้นจึงขยายออกไป ซึ่งวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ลาวโซ่งค่อนข้างเข้มแข็ง ยังคงรักษาไว้ซึ่งอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ ...

ลาวตี้

 
(ลาวตี้)
ลาวตี้ ชื่อเรียกกลุ่มคนที่มีเชื้อสายลาวอพยพจากเมืองเวียงจันทน์ ตั้งถิ่นฐานสมัยกรุงธนบุรีและกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ถูกกำหนดให้อยู่เป็นถิ่นที่ เนื่องจากเหตุผลด้านเศรษฐกิจและการปกครอง อย่างไรก็ตามการย้ายถิ่นของชาวลาวตี้เริ่มปรากฏมากขึ้นหลังมีการยกเลิกระบบไพร่ ปัจจุบันพบการตั้งถิ่นฐานในหลายพื้นที่ ...