กลุ่มชาติพันธุ์

|
| | | ฆ | | | | | | ฌ | | ฎ | ฎ | ฐ | ฑ | ฒ | ณ | | | | | ธ | | | | | ฝ | | ฟ | | | | | | | ศ | ษ | | | ฬ | | | ทั้งหมด
แสดง 19-27 จากทั้งหมด 57 รายการ

ดาระอั้ง, ดาระอาง, ดาละอั้ง

 
(ปะหล่อง, ว้าปะหล่อง)
"ดาราอาง" กลุ่มชาติพันธุ์ที่อพยพมาจากประเทศเมียนมาเข้ามาตั้งถิ่นฐานเมื่อราวสามสิบกว่าปีที่ผ่านมา  อาศัยอยู่ในหมู่บ้านบริเวณชายแดน ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่และเชียงราย  ส่วนใหญ่ไม่มีที่ดินทำกิน จึงดำรงชีพด้วยการรับจ้างในภาคเกษตรเป็นหลัก  ...

ตึ่งนั้ง, คนจีน, ไทยเชื้อสายจีน

 
(คนจีน, เจ๊ก)
ชาวจีนที่อพยพมานั้น มักมาจากดินแดนทางตอนใต้ของประเทศจีน ได้แก่ ชาวจีนกวางตุ้ง จีนแคะ จีนแต้จิ๋ว จีนฮกเกี้ยนและจีนไหหลำ รวม 5 กลุ่มภาษาใหญ่ หลักฐานที่ชี้ให้เห็นถึงการอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานของชาวจีนทั้งห้ากลุ่มภาษา เห็นได้จากศาลเจ้า สมาคมตระกูลแซ่ สมาคมกลุ่มภาษา และโรงเรียนจีน เป็นต้น ...

ไต, คนไต, ไตโหลง, ไตหลวง, ไตใหญ่, ไทหลวง

 
(ไทใหญ่, เงี้ยว, ฉาน, ชาน, ชาวไต, ไทเหนือ, ไทมาว)
กลุ่มชาติพันธุ์ "ไต" อาศัยอยู่ตั้งแต่ตอนเหนือเวียดนาม ตลอดแนวตอนใต้ของจีน ลาว ไทย ทางตอนเหนือของพม่าไปจนถึงแคว้นอัสสัมของอินเดีย ด้วยการกระจายตัวไปในพื้นที่ที่แตกต่าง พวกเขาจึงมีชื่อเรียกมากมายตามประเทศและกลุ่มคนที่อาศัยร่วม โดยคำว่า "ไทใหญ่" พบว่าเป็นคำที่คนไทยเท่านั้นใช้เรียกคนกลุ่มชาติพันธุ์นี้ ...

ไทยโคราช

 
(ลาว, ไทยโคราช)
คนไทยโคราช ไม่ใช่ชื่อเรียกชนชาติและเชื้อชาติ ไม่ใช่อัตลักษณ์ชาติพันธุ์ที่ตายตัว แต่เป็นกระบวนการสร้างอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ที่ผ่านการกรองและต่อรองกับอำนาจของรัฐศูนย์กลางของคนกลุ่มวัฒนธรรมไทย จนตกผลึกเป็น "ไทยโคราช" อัตลักษณ์ที่มีความคล้ายไปทางวัฒนธรรมไทยภาคกลางมากกว่าวัฒนธรรมลาวในอีสาน ...

ไทยเบิ้ง, ไทยเดิ้ง

 
(ไทยเบิ้ง, ไทยเดิ้ง, ไทโคราช)
ไทยเบิ้ง ไทยเดิ้งหรือไทยโคราช มีถิ่นฐานอยู่ในจังหวัดลพบุรีมานานกว่าสองทศวรรษ ในเขตรอยต่อของภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ผู้คนที่อาศัยในแถบนี้มีวัฒนธรรมเป็นเอกลักษณ์ ลักษณะวัฒนธรรมผสมผสานระหว่างภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคกลาง เหตุเพราะเป็นชุมชนที่มีปฏิสัมพันธ์กับทั้งสองภูมิภาค ...

ไทหย่า, ไตหย่า

 
(ฮวาเย่าไต, ไต)
ครั้งที่คณะมิชชันนารีเดินทางไปเผยแพร่คริสตศาสนาที่เมืองหย่า มณฑลยูนนาน ประเทศจีน ชาวเมืองหย่าบางส่วนหันมานับถือศาสนาคริสต์ เมื่อเดินทางกลับมายังประเทศไทย ชาวหย่าบางส่วนได้เดินทางมาด้วยในฐานะลูกหาบและพบว่าพื้นที่อุดมสมบูรณ์ทั้งให้เสรีภาพในศาสนา จึงกลับไปชวนครอบครัวมาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่จังหวัดเชียงราย ...

บรู

 
(ข่า, ส่วย, โซ่, กะโซ่, โส้, ข่าโซ่, ข่าพร้าว)
ชาวบรู เรียกตนเองว่า "บรู" หมายถึง "คนที่อาศัยอยู่ตามภูเขา" เคลื่อนย้ายไปมาบริเวณสองฝากฝั่งแม่น้ำโขง มีวิถีชีวิตดั้งเดิมหลอมรวมเข้ากับความเชื่อและสิ่งเหนือธรรมชาติ ภายหลังการอพยพเข้ามาอยู่ภายใต้รัฐไทยต้องเผชิญกับอำนาจรัฐและเงื่อนไขความเปลี่ยนแปลงจนเกิดการปรับตัวและการผสมผสานทางวัฒนธรรม ...

บีซู

 
(ละว้า, ลัวะ)
กลุ่มชาติพันธุ์ที่อาศัยอยู่บริเวณ จ.เชียงราย เรียกตนเองว่า บีซู ในอดีตคนบีซูถูกทางราชการไทยเรียกรวมว่า ละว้า หรือลัวะ เพราะคนบีซูไม่ค่อยเปิดเผยตัวและอยู่รวมกลุ่มกันเล็กๆ ตั้งบ้านเรือนอยู่ห่างไกลจากชุมชนอื่น ปัจจุบันคนบีซูจึงต้องการให้คนภายนอกเรียกตนเองว่า บีซู เสียมากกว่า ...

ปลัง, คาปลัง

 
(ลัวะ, ปะหล่อง, ไตหลอย, สามเต้า, ปู้หลัง)
ชาวปลังเป็นกลุ่มคนที่อพยพมาจากพื้นที่รอยต่อระหว่างประเทศพม่าและจีน ภายหลังได้เข้ามาอยู่อาศัยในแถบจังหวัดเชียงราย พบปัญหาหลักเกี่ยวกับภาวะการไร้สัญชาติของกลุ่มชาติพันธุ์ อย่างไรก็ตามชาวปลังบางส่วนก็ได้อพยพเคลื่อนย้ายมาทำงานในสวนกล้วยไม้แถบจังหวัดนครปฐมและจังหวัดใกล้เคียง ...