กลุ่มชาติพันธุ์

|
| | | ฆ | | | | | | ฌ | | ฎ | ฎ | ฐ | ฑ | ฒ | ณ | | | | | ธ | | | | | ฝ | | ฟ | | | | | | | ศ | ษ | | | ฬ | | | ทั้งหมด
แสดง 10-18 จากทั้งหมด 57 รายการ

ขแมร์ลือ

 
(เขมรสูง, ไทย-เขมร, เขมรถิ่นไทย, คนไทยเชื้อสายเขมร, เขมรสูง, เขมรเหนือ, เขมรป่าดง)
"เขมรถิ่นไทย" หรือชาวไทยที่มีวัฒนธรรม/เชื้อสายเขมร เรียกตนเองว่า "ขแมร์" ขณะเดียวกันชาวกัมพูชา มักเรียกคนสุรินทร์ว่า "ขะแมร์โสเร็น" ซึ่ง ขะแมร์ เขมร หรือแผ่นดินแม่ และสะเร็นหรือ โสเร็น หมายถึง สุรินทร์ ส่วนมากพูดภาษาเขมร การเรียกดังกล่าวเป็นการแสดงถึงความสัมพันธ์ที่เป็นมิตรไมตรีของชาวเขมรด้วยกัน ...

ขึน, ไทขึน, ไทเขิน

 
(ไทขึน, ไทเขิน)
กลุ่มชาติพันธุ์ไทขึนหรือไทเขิน ถูกกวาดต้อนมาตั้งถิ่นฐานที่แรกบริเวณประตูหายยา จ.เชียงใหม่ กระจายอาศัยกลืนกลายเป็นส่วนหนึ่งของรัฐจารีตล้านนา มีกลุ่มสินค้าหัตถกรรมที่เรียกว่า เครื่องเขิน และคำว่า เขิน นี้กลายเป็นชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่ง และกลายเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการรื้อฟื้นเพื่อสร้างตัวตนทางชาติพันธุ์...

ชอง, ตัมเร็จ, สำแร

 
(ชอง, ปัว, ซองชีขะโมย, มโนะห์, มนิก, ขำของ)
ชาวชองเป็นกลุ่มคนดั้งเดิมที่อาศัยอยู่ในเขตรอยต่อระหว่างประเทศไทยและกัมพูชามาเป็นเวลาช้านาน แต่ไม่ปรากฏหลักฐานที่เอ่ยถึงกลุ่มคนเหล่านี้เอาไว้อย่างชัดเจน ปัจจุบันพบชาวชองอาศัยอยู่เป็นบริเวณกว้าง โดยเฉพาะภาคตะวันออกของประเทศไทย จังหวัดจันทบุรี ตราด ฉะเชิงเทรา ...

ซะโอจ, ชอง

 
(อูด, ชุอุ้ง, ซะอูด)
ชาวซะโอจอาศัยอยู่ที่บ้านทุ่งนา ตำบลหนองเป็ด อำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี และเป็นชุมชนเดียวในประเทศไทย มีภาษาพูดแต่ไม่มีภาษาเขียน ปัจจุบันภาษาพูดของชนกลุ่มนี้ใกล้สูญหายและกำลังลดจำนวนลง เหลือประมาณ 40-50 คน ที่ยังพูดภาษาของตัวเองได้ ...

ซำเร, สําเหร

 
(ซำเร, สําเหร)
ชาวซำเรในประเทศไทยส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในเขตภาคตะวันตก โดยเฉพาะในพื้นที่จังหวัดตราด กระจายตัวอยู่ในหลายอำเภอ มีความหนาแน่นในพื้นที่ตำบลนนทรีย์ อำเภอบ่อไร่ จังหวัดตราด ซึ่งมีลักษณะนิเวศน์แบบพื้นที่เขตภูเขา เหมาะแก่การทำเกษตร ดังนั้นจึงพบว่าชาวซำเรในพื้นที่ส่วนใหญ่ทำการเกษตรเป็นหลัก ...

โซ่ (ทะวืง)

 
(โซ่, ข่า)
ชาวโซ่ (ทะวืง) ได้รับอิทธิพลของพุทธศาสนาสืบทอดประเพณีปฏิบัติตามอย่างชาวพุทธแต่ก็ยังคงมีร่องรอยของความเชื่อดั้งเดิมที่เกี่ยวกับการนับถือผีย่าปู่ (ผีปู่ตา) ที่เป็นประเพณีสำคัญของชุมชน ปัจจุบันการสืบทอดวัฒนธรรมทางภาษาค่อนข้างสุ่มเสี่ยงต่อการสูญหาย ถูกกลืนไปกับประเพณีวัฒนธรรมของกลุ่มชนอื่นที่อยู่รายรอบ ...

ญ้อ, ย้อ, ญ่อ, โย้

 
(ไทญ้อ)
กลุ่มชาติพันธุ์ญ้อจัดอยู่ในตระกูลพูดภาษาไท-กะได ซึ่งภาษาพูดของกลุ่มชาติพันธุ์ญ้อนั้นเหมือนภาษาลาวอีสานแต่มีความแตกต่างของสำเนียงเล็กน้อย อาศัยอยู่หนาแน่นในพื้นที่จังหวัดสกลนคร นครพนม บึงกาฬ กาฬสินธุ์ มหาสารคาม นอกจากนี้ยังพบว่าอาศัยอยู่ที่ภาคตะวันออกด้วย ...

ญัฮกุร, เนียะกุร, ละว้า, ชาวบน

 
(ละว้า, ชาวบน, คนดง ,ชาวดง)
ญัฮกุรพบอยู่ในสามจังหวัด คือ เพชรบูรณ์ ชัยภูมิและนครราชสีมา ในด้านภาษา วัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ของกลุ่มชาติพันธุ์ในแต่ละพื้นที่มีความแตกต่างกันพอสมควร ดังนั้นจึงได้เลือกนำเสนอกลุ่มญัฮกุรที่อาศัยอยู่ในจังหวัดชัยภูมิเป็นหลักจากสามหมู่บ้าน ได้แก่ บ้านไร่ บ้านวังอ้ายโพธิ์และบ้านวังอ้ายคง ...

เญอ

 
(กวยเยอ)
ปัจจุบันกลุ่มชาติพันธุ์เยอเกือบทั้งหมดตั้งถิ่นฐานอยู่ในจังหวัดศรีสะเกษ เมื่อเข้ามาอยู่อาศัยก่อให้เกิดการผสมผสานทางด้านชาติพันธุ์และวัฒนธรรมเข้ากับกลุ่มพื้นถิ่นอื่นๆ อาทิ ลาว เขมร ส่วย ในจังหวัดศรีสะเกษชาวเยอมีจำนวนน้อยมากเมื่อเปรียบเทียบกับชาวกูยที่เรียกกันว่า ส่วย ที่มีจำนวนมากกว่า ...