ชื่อเรียกตนเอง ซำเร, สําเหร
ชื่อที่ผู้อื่นเรียก ซำเร สำเหร (Samre) ซำแร (Samree) ปอร (Por)
ข้อมูลสนับสนุนการเรียกชื่อกลุ่มชาติพันธุ์
ข้อมูลสนับสนุนการเรียกชื่อกลุ่มชาติพันธุ์ ทางภาษาศาสตร์
ซำเร (Samre) เป็นกลุ่มตระกูลภาษา ออสโตรเอเชียติก ที่รวมเป็นเขมรกลุ่มใหญ่ในเอเชีย ในประเทศกัมพูชาซึ่งเป็นกลุ่มผู้พูดภาษามอญ-เขมรเป็นกลุ่มใหญ่เมื่อเทียบกับประชากรหลักในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์
ข้อมูลสนับสนุนการเรียกชื่อกลุ่มชาติพันธุ์ตามสถานการณ์และการเปลี่ยนแปลง
ชาวซำเรในตำบลนนทรี อำเภอบ่อไร่ จังหวัดตราด พบการขับเคลื่อนหรือหรือแนวทางตอบสนองต่อข้อค้นพบซึ่งระบุภาวะวิกฤตทางภาษาฯ ของมหาวิทยาลัยมหิดล ไม่เป็นไปอย่างสอดคล้องเฉกเช่นเดียวกับชาวกะซองบ้านคลองแสง ชาวซำเรยังคงดำเนินชีวิตตามวิถีวัฒนธรรมสังคมของตนเองท่ามกลางความเป็นพลเมืองไทยในอำเภอบ่อไร่ แต่ละครอบครัวมีปฏิสัมพันธ์ภายในด้วยภาษาไทย ลูกหลานซำเรรุ่นใหม่ไม่ตระหนักรู้ในภาวะวิกฤตดังกล่าว พวกเขาสื่อสารผ่านภาษาไทยเป็นสำคัญ ส่วนผู้รู้ภาษาซำเรที่มักพร่ำบ่นว่า คนที่พูดซำเรได้หมดลงไปเรื่อย ๆ ก็ไม่ได้กระตือรือร้นต่อแนวทางการฟื้นฟูหรือพัฒนาการสื่อสารด้วยภาษาดั้งเดิม ดังคำกล่าวทิ้งท้ายของนักภาษาศาสตร์ที่เคยศึกษาภาษานี้ว่า "สภาวะวิกฤตของภาษาในขณะนี้ แทบไม่มีโอกาสที่จะฟื้นฟูให้ภาษาคงอยู่ต่อไปได้ อีกประมาณ 20 ปีข้างหน้า ภาษาซำเรในประเทศไทยก็คงจะสูญหายไป" (Ploykaew, 2001: abstract)
ข้อมูลสนับสนุนการเรียกชื่อกลุ่มชาติพันธุ์ ที่อ้างอิงตามการเรียกชื่อในประเทศไกล้เคียงที่มีกลุ่มชาติพันธุ์นี้อยู่
Hean Sokhom (2009) กล่าวถึงกลุ่มชาติพันธุ์ทั้งหมดในประเทศกัมพูชา (Ethnic groups in Cambodia) ถือเป็นการแนะนำกลุ่มชาติพันธุ์ทั้งหมดในประเทศกัมพูชาทั้งกลุ่มหลักและกลุ่มย่อย โดยเนื้อความรายละเอียดของแต่ละกลุ่มชาติพันธุ์จะอธิบายถึง ลักษณะทางกายภาพของผู้คนและถิ่นฐานที่อยู่ทั้งในอดีตจนถึงปัจจุบัน ศาสนาความเชื่อ ประเพณี การจัดการทางสังคม ตลอดจนความสัมพันธ์ภายในกลุ่มที่กระจายตัวอยู่ทั้งภายในและภายนอกประเทศและความสัมพันธ์กับกลุ่มชาติพันธุ์อื่น ๆ ระหว่างกลุ่มอันเนื่องมาจากเหตุการณ์ทางการเมืองหรือทางเศรษฐกิจ เป็นต้น
Joachim Schliesinger (2011) ซึ่งประมวลเกี่ยวกับกลุ่มชาติพันธุ์ในกัมพูชาในหนังสือ 2 เล่ม ได้แก่ "Ethnic Groups of Cambodia Volume 1 Introduction and Overview" และ "Ethnic Groups of Cambodia Volume 2 Profile of Austro-Asiatic-Speaking Peoples" กล่าวถึง กลุ่มชาติพันธุ์ที่เกี่ยวข้องกับกะซองและซำเรว่า "Khmer Loeu - "Highland Khmers" Umbrella term used to designate all hilltribes in Cambodia, irrespective of their language family." ถือเป็น กลุ่มที่พูดภาษามอญ - เขมร และ กลุ่มในตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติก ซึ่งกลุ่มในตระกูลภาษา ออสโตรเอเชียติก จะแบ่งเป็น จะไร - พบมากในจังหวัดรัตนคีรี และกลุ่มระเด ส่วนกลุ่มที่พูดภาษามอญ - เขมร แบ่งเป็น หลายกลุ่มได้แก่ กะชก, กรุงหรือ กรึง, บราว, กะแวด หรือ กะแวต, สเตรียง - มักสับสนกับกลุ่ม Degar (Montagnard), โกรล, มีล, กุย - ชนกลุ่มน้อยที่อยู่ในที่สูงของกัมพูชา, Phnong หรือ Mnong อาศัยอยู่ทางตะวันออกของจังหวัดมณฑลคีรี, ตำ ปวน - กลุ่มชาติพันธุ์ที่อาศัยอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของจังหวัดรัตนคีรี โดยซำเรในกัมพูชาแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มย่อย ได้แก่ ชอง, ซะโอ (Sa'och), ซำเร และส่วย
Joachim Schliesinger (2011) พิจารณากลุ่มชาติพันธุ์ในกัมพูชาว่า ไม่มีข้อมูลอย่างเป็นทางการ แน่นอน พบการสำรวจสถิติจำนวนประชากรอย่างเป็นทางการ ในปี ค.ศ.1962 พบว่า มีประชากรทั้งสิ้น 5,728,771 คน มีการเติบโตของประชากรประมาณ 2.2 เปอร์เซ็นต์ ในปี ค.ศ.1975 เมื่ออาณาจักรเขมรถูกตกอยู่ภายใต้อาณานิคมของฝรั่งเศสประชากรโดยประมาณ 7.3 ล้านคน สงครามที่ดำเนินมาอย่างต่อเนื่องส่งผลให้มีประชากรที่เสียชีวิตจำนวนมากประมาณ 1 ถึง 2 ล้านคน ระหว่างปี ค.ศ.1945 - 1979
ในจังหวัดเกาะกง (Koh Kong province) ที่นั่นในปี ค.ศ. 2010 มีหมู่บ้านซำเรแห่งหนึ่ง มีครอบครัวของชาวซำเร 21 ครัวเรือน ประมาณ 150 คนอาศัยในหมู่บ้าน Dai Tum Ngiep Trapaeng Rung district, Trapaeng Rung commune ลุ่มแม่น้ำ Anlong หมู่บ้านตั้งอยู่ทั้งสองฝั่งของแม่น้ำประมาณ 1 กิโลเมตร จากสะพานแห่งที่ 2 ตามทางหลวงหมายเลข 48 หากมาจากเกาะกงหรือสะพานแห่งที่ 3 หากมาจากทางหลวงหมายเลข 4 ในถิ่นที่อยู่ใหม่ของพวกเขาในเขตนี้ประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์ มีชาวบ้านซึ่งเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ไทยเขมรและจามอยู่ประมาณ 4500 คน ชาวซำเรพูดภาษาเขมรและภาษาไทยได้อย่างคล่องแคล่ว มีเพียงคนเฒ่าคนแก่เท่านั้นที่ยังคงจำคำในภาษาเพียริก (Pearic) ได้เพียงเล็กน้อย คําเรียกตัวเลขลืมไปหมดแล้ว ขณะที่ประมาณ 75 เปอร์เซ็นต์ของคำศัพท์เพียริก บางครั้งจำนวนของกลุ่มซะโอ (Saoch) จากจังหวัด Preah Sihanouk ก็มาเยี่ยมเยือนพวกเขา พวกเขาไม่สามารถสื่อสารด้วยภาษาแม่ของตนเองแล้ว แม้ว่าคนเฒ่าคนแก่จะเข้าใจบางคำจากภาษาถิ่นเพียริกทั้งสองกลุ่ม แต่ใช้ภาษาเขมรแทน กลุ่มเหล่านี้พวกเขามาตั้งถิ่นฐานอาศัยในปัจจุบันจากหมู่บ้าน Ruessei Chrum Thma Bang district พวกเขากล่าวว่า เขมรแดงซึ่งเข้ามายึดครองกัมพูชาในปี ค.ศ.1975 ซึ่งมาถึงถิ่นที่อยู่ของชาวซำเรอยู่มาก่อนแล้ว เขมรแดงทารุณกรรม และเข่นฆ่าชาวบ้านเป็นจำนวนมาก ชาวซำเรที่เอาชีวิตรอดหนีจากหมู่บ้านของพวกเขา บางคนไปทางทิศใต้และคนอื่น ๆ ได้อพยพไปทางเหนือซึ่งอยู่ไกลออกไปในหมู่บ้าน Ou Saom, Veal Veng district จังหวัด Pursat ซำเรในเกาะกงกล่าวว่าซำเรทั้งหมดเคลื่อนย้ายจาก Ruessei Chrum และไม่มีซำเรหลงเหลืออยู่ในถิ่นฐานเดิมเลย
ก่อนปี ค.ศ.1975 ชาวซำเรในหมู่บ้าน Ruessei Chrum เป็นกลุ่มผู้พูดภาษาเพียริกเท่านั้น ยังมีซำเรที่เหมือนกับซะโอ (Saoch) ในจังหวัด Preah Sihanouk เข้าใจผิดตอบคำถามของเราเกี่ยวกับการเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ชองในเขมร หัวหน้ากลุ่มกล่าวว่า ซำเรในเกาะกงอาศัยอยู่ในเพื่อนบ้านของชาวชอง เมื่อซำเรถูกถามเกี่ยวกับชาวชอง พวกเขาก็ยังยืนยันถึงความเป็นอยู่เช่นเดิม มีการตั้งถิ่นฐานไม่กี่ร้อยเมตรจากหมู่บ้านของ พวกเขา เมื่อไปเยือนกลุ่มเหล่านี้พบว่า พวกเขาไม่ใช่กลุ่มชาวชองทั้งหมดแต่เป็นจามมุสลิม ยิ่งไปกว่านั้นชาวซำเรยืนยันว่า พวกเขาไม่เคยได้ยินว่า มีชาวชองอาศัยอยู่แถวนั้นมาก่อน แต่ชาวจามมุสลิมซึ่งอาศัยอยู่ที่นั่น แต่พูดภาษาที่แตกต่างกันออกไปกลุ่มผู้พูดภาษาเพียริก ใช้สัญลักษณ์ Tchouang ในการออกเสียงซึ่งคล้ายกับชาวชองทั่วไปอย่างมาก
พบอีกว่ามี คำนิยามชื่อกลุ่มชาติพันธุ์ใกล้เคียงคือ ซำไร หรือ ซำราย หรือ ซมราย (Samrai, Samray, Somray) ซึ่งเป็นคำเรียกชื่อกลุ่ม มีประชากรประมาณ 4,000 คน (สถิติเมื่อ ปี ค.ศ. 2005 โดย SIL) และ 800 คน (อ้างอิงจาก Filippi, 2008) ซึ่งพบถิ่นอาศัยบริเวณจังหวัด Battambang หมู่บ้าน Puom Reo ในอำเภอ Samlot และ จังหวัด Pursat ในอำเภอ Veal Veng
Schliesinger (2011) รายงานว่า ประวัติศาสตร์ของกลุ่มนี้ Marie Alexandrine Martin นักพฤกษศาสตร์ชาวฝรั่งเศส กล่าวถึงคนท้องถิ่นในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1970 ว่า กลุ่มคนผู้พูดภาษาเพียริกบริเวณเทือกเขาบรรทัด บางทีมาจากบริเวณนครวัด แถบจังหวัดเสียมเรียบ ก่อนวัฒนธรรมเขมรจะเริ่มต้นครอบครองบริเวณแถบนี้ กลุ่มผู้พูดภาษาเพียริกทั่วไปกลุ่มนี้ มีความเชื่อมโยงและสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดกับ “กระวาน” พระมหากษัตริย์เขมรส่งพวกเขามาเก็บสมุนไพรและส่วย Martin รายงานว่า กระวานถูกใช้เป็นสมุนไพรสำคัญตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 11 พ่อค้าชาวเขมรควบคุมการค้ากระวานและทาสของพระมหากษัตริย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มผู้พูดภาษาเพียริกถูกส่งไปยังเทือกเขาบรรทัดเพื่อหาและเก็บกระวานและหาสถานที่ปลูกกระวาน กลุ่มคนเหล่านี้ถูกจับบ่อยครั้งระหว่างบริเวณนี้ซึ่งมีกองทัพสยามเข้ามา พวกเขาต่อสู้เพื่อเก็บกระวาน จับช้างป่าและขุดเผือกมันที่แถบเทือกเขา Thmar Keo
ตามคำบอกเล่าปากเปล่าของคนกลุ่มนี้บริเวณเทือกเขาบรรทัดบริเวณจังหวัด Battambang ว่า ซำไรตามเทือกเขากุเลนในจังหวัดเสียมเรียบทุกวันนี้อยู่รอดจากการอพยพนับตั้งแต่สมัยอาณาจักรนครวัด ในช่วงเวลานั้นกษัตริย์เขมรสั่งให้นายพรานชาวซมไรออกไปหาช้างบริเวณเทือกเขาบรรทัด เมื่อซมไรไปที่นั่นไม่พบช้าง แต่นำกระวาน 2 ชนิดคือ krakaor และ meliec กลับมา พระมหากษัตริย์เขมรชิมกระวานและชอบรสชาติของกระวานชนิด meliec อย่างมาก จึงส่งนายพรานกลับมาและตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณนี้ หมู่บ้านประมาณ 30 หลังคาเรือนตั้งขึ้น เป็นที่รู้จักกันดีในชื่อ Phum Ta Sanh หลังจากนั้นประมาณ 2 -3 ปีชาวบ้านก็เคลื่อนย้ายเข้าไปยังพื้นที่ Kranhung ที่พบกระวานมากขึ้น
ซำเร (Samre) พบในจังหวัดเสียมเรียบ (Siemreap province) ในบริเวณเมืองแถบตอนเหนือของทะเลสาบ ภาษาถูกจัดจำแนกในตระกูลภาษาออสโตร-เอเชียติก (Austro-Asiatic) สาขามอญ-เขมร ตะวันออก (Eastern Mon-Khmer) กลุ่มเพียริก (Pearic) (SIL Ethnogoue, 2016; Online)
นักภาษาศาสตร์ซึ่งศึกษาไวยากรณ์ภาษาซำเร (Samre Grammar) พบว่า ภาษาซำเรซึ่งเป็นภาษาที่จัดอยู่ในตระกูลออสโตรเอเชียติก สาขาเพียริกในประเทศไทย
ปัจจุบันผู้พูดภาษานี้มีจำนวนน้อย อีกทั้งผู้ที่ยังใช้ภาษาได้ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มผู้สูงอายุที่มีอายุเกิน 55 ปีขึ้นไป จึงนับเป็นภาษาที่กำลังอยู่ในภาวะวิกฤติขั้นสุดท้าย
ชาวซำเรไม่มีภาษาเขียนของตนเอง ใช้ภาษาไทยในการเขียน คนแก่คนเฒ่าส่วนมากไม่สามารถถ่ายทอดวัฒนธรรมหรือประวัติศาสตร์ของกลุ่มตนเองได้ มีเพียงคำบอกเล่าต่อ ๆ กันมา
เนื้อหาโดย ผศ. ดร.ดำรงพล อินทร์จันทร์ ภาควิชามานุษยวิทยา คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตวังท่าพระ
บรรณานุกรม
เอกสารอ้างอิงอื่นๆ
สัมภาษณ์
จังหวัดที่กระจายตัวตั้งถิ่นฐาน | จำนวนครัวเรือน | จำนวนประชากร |
---|---|---|
จันทบุรี ตราด ฉะเชิงเทรา | 1000 |
สุวิไล เปรมศรีรัตน์ และคณะ. (2547). แผนที่ภาษาของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ในประเทศไทย. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ
กลุ่มซำเร นั้น ถิ่นกำเนิดโบราณอยู่ในบริเวณเชิงเขา ทางตะวันตกของเทือกเขากุเลน (Kulen Mountain) ในจังหวัดเสียมเรียบ (Siem Riep) อยู่ในอยู่ใกล้นครวัด (Angor Wat) ไปทางเหนือเป็นศูนย์กลางของอาณาจักรเขมรโบราณ พวกเขาตั้งถิ่นฐานมายาวนานก่อนประชาชนเขมรรุ่นใหม่จะเกิดขึ้นก็มาจากบริเวณนั้น Jean Moura ชาวฝรั่งเศส เป็นชาวตะวันตกรุ่นแรกแรกให้ข้อมูลเกี่ยวกับชาวซำเรว่า เขาเห็นชาวซำเรในเสียมเรียบเป็นทหารป้องกันของราชสำนักและวัดโบราณมีจำนวนมากอยู่บริเวณรอบนครวัด สมาชิกของกลุ่มเหล่านี้ Pol Kravanh หรือ Samre Kravanh หรือซำเรของเทือกเขาบรรทัด (Cardamon Mountain) หรือ ซำเรตะวันออก (Eastern Samre) อยู่ใต้ปกครองของพระมหากษัตริย์เพื่อช่วยเก็บกระวานที่นั่น คนซำเรเป็นกลุ่มที่อยู่ตามแนวป่า กล่าวได้ว่า ซำเรถึงเป็นกลุ่มที่มีความป่าเถื่อนถูกจัดให้มีสถานะทางสังคมต่ำที่สุดในสังคมเขมร
นอกจากนั้น พบว่ามีบทความในปี ค.ศ.1941 เขียนเกี่ยวกับกลุ่มคนซำเรผู้พูดภาษาเพียริก (Pearic speaking group) ของเสียมเรียบว่า Srah, Skon, Rokar และ Peam ซึ่งติดต่อกับหมู่บ้าน Khun Ream เป็นชุมชนที่มีประชากรชาวซำเรอาศัยอย่างหนาแน่น ที่ยืนยันอย่างชัดเจนว่า เป็นสายเลือดดั้งเดิม ซึ่งแม้อาจตัดสินตามองค์ประกอบทางกายภาพ พวกเขามีการใช้ภาษาเขมรโบราณซึ่งมีระบบเสียงเบามาก การออกเสียงควบกล้ำและเสียงลงท้ายปรากฏขึ้นเมื่อมีการร้องเพลงหรือแต่งเสียงอย่างชัดเจน
ในปี ค.ศ. 2013 ซำเรซึ่งยังคงอาศัยบริเวณเชิงเขาและทางตะวันตกของเทือกเขากุเลนไม่กี่กิโลเมตร จากวัดที่มีชื่อเสียงในกลุ่มบันทายศรี (Banteay Srei) หมู่บ้านซำเรที่ตั้งถิ่นอาศัยปรากฏตั้งแต่ปี ค.ศ. 1941 จริง ๆ แล้วพวกเขาลืมภาษาแม่ของตนเองไปแล้ว และซำเรจะตระหนักได้ว่า ตนเองเป็นกลุ่มชาติพันธุ์เขมร แต่พวกเขายังคงสารภาพว่า มีรากเหง้ามาจากกลุ่มชาติพันธุ์ซำเร
ระหว่างสองทศวรรษสุดท้าย กลุ่มชาติพันธุ์เขมรจำนวนมากตั้งถิ่นฐานในหมู่บ้านเดิมและชาวซำเรซึ่งในไม่ช้าจะกลืนกลายเป็นกลุ่มชาติพันธุ์เขมรหลักทั้งหมด (Joachim Schliesinger, 2011)
ชาวซำเรบ้านมะม่วงบอกเล่าถึงความเป็นมาของหมู่บ้านของตนเองตลอดจนบรรพบุรุษยุคตั้งรกรากสมัยก่อนว่า บุพการีของนางทอง ซึ่งสันนิษฐานว่า เป็นผู้นำคนแรก ๆ ของชาวซำเรตั้งบ้านเรือนอยู่ใกล้ต้นมะม่วง จึงเป็นที่มาของการเรียกชื่อหมู่บ้านในภาษาซำเรว่า "บ้านซอก" (ซอก หมายถึง มะม่วง) ต่อมาครอบครัวนี้ได้ย้ายบ้านไปยังสถานที่อื่นเพราะเกิดโรคระบาดและมีผู้เสียชีวิตจำนวนมากบริเวณบ้านเก่าได้กลายเป็นวัดมะม่วงจวบจนทุกวันนี้ หมู่บ้านจึงถูกเรียกว่า "บ้านมะม่วง" ในภาษาไทยตามชื่อเดิมในภาษาซำเร
พื้นที่โดยรอบของชุมชนซำเรบ้านมะม่วง
ชาวซำเรยืนยันว่า บรรพบุรุษของพวกเขาอาศัยอยู่ที่บ้านมะม่วงและบ้านนนทรีย์มาเป็นเวลาช้านานแล้ว บ้านนนทรีย์ซึ่งอยู่ใกล้ ๆ กันมีชื่อเดิมในภาษาซำเร อันมีความว่า "ทุ่งนาที่อยู่ไกลออกไป" ลูกหลานของชาวซำเรตั้งรกรากอย่างถาวร ชาวซำเรจึงเป็นที่รู้จักว่าอาศัยอยู่บริเวณแถบนี้ตั้งแต่รุ่นบรรพบุรุษของตัวเอง บางคนกล่าวว่า เคยตั้งบ้านเรือนอยู่บริเวณพื้นที่สูงตามแนวเทือกเขา และทุกวันนี้บางคนก็โยกย้ายจากบ้านเดิมมาเป็นบ้านที่อยู่ในบริเวณบ้านที่หน่วยงานภาครัฐจัดสรรให้ เป็นหมู่บ้านคลองโคน หมู่ที่ 4 ขณะที่บ้านคลองโอนถือเป็นหมู่บ้านใหม่จากการจัดตั้งขึ้นของหน่วยราชการ เป็นหมู่อาสาพัฒนาป้องกันตนเอง (อพป.) ซึ่งจัดสรรที่ดินให้ชาวบ้านปลูกบ้านเรือนกันครอบครัวละ 1 ไร่ จากเดิมที่เคยอาศัยอยู่กันอย่างกระจายตัวตามแนวเทือกเขา และเขตป่าไม้
ชุมชนซำเรบ้านคลองโอน หมู่ที่ 4 ตำบลนนทรี อำเภอบ่อไร่ จังหวัดตราด
เป็นชุมชนจัดตั้งใหม่โดยหน่วยงานภาครัฐในท้องถิ่น
ชาวซำเรบ้านมะม่วงบอกเล่าถึงความเป็นมาของหมู่บ้านของตนเองตลอดจนบรรพบุรุษยุคตั้งรกรากสมัยก่อนว่า บุพการีของนางทอง ซึ่งสันนิษฐานว่า เป็นผู้นำคนแรก ๆ ของชาวซำเรตั้งบ้านเรือนอยู่ใกล้ต้นมะม่วง จึงเป็นที่มาของการเรียกชื่อหมู่บ้านในภาษาซำเรว่า "บ้านซอก" (ซอก หมายถึง มะม่วง) ต่อมาครอบครัวนี้ได้ย้ายบ้านไปยังสถานที่อื่นเพราะเกิดโรคระบาดและมีผู้เสียชีวิตจำนวนมากบริเวณบ้านเก่าได้กลายเป็นวัดมะม่วงจวบจนทุกวันนี้ หมู่บ้านจึงถูกเรียกว่า "บ้านมะม่วง" ในภาษาไทยตามชื่อเดิมในภาษาซำเร
พื้นที่โดยรอบของชุมชนซำเรบ้านมะม่วง
ชุมชนซำเรบ้านคลองโอน หมู่ที่ 4 ตำบลนนทรี อำเภอบ่อไร่ จังหวัดตราด
เป็นชุมชนจัดตั้งใหม่โดยหน่วยงานภาครัฐในท้องถิ่น
ชาวซำเรยืนยันว่า บรรพบุรุษของพวกเขาอาศัยอยู่ที่บ้านมะม่วงและบ้านนนทรีย์มาเป็นเวลาช้านานแล้ว บ้านนนทรีย์ซึ่งอยู่ใกล้ ๆ กันมีชื่อเดิมในภาษาซำเร อันมีความว่า "ทุ่งนาที่อยู่ไกลออกไป" ลูกหลานของชาวซำเรตั้งรกรากอย่างถาวร ชาวซำเรจึงเป็นที่รู้จักว่าอาศัยอยู่บริเวณแถบนี้ตั้งแต่รุ่นบรรพบุรุษของตัวเอง บางคนกล่าวว่า เคยตั้งบ้านเรือนอยู่บริเวณพื้นที่สูงตามแนวเทือกเขา และทุกวันนี้บางคนก็โยกย้ายจากบ้านเดิมมาเป็นบ้านที่อยู่ในบริเวณบ้านที่หน่วยงานภาครัฐจัดสรรให้ เป็นหมู่บ้านคลองโคน หมู่ที่ 4 ขณะที่บ้านคลองโอนถือเป็นหมู่บ้านใหม่จากการจัดตั้งขึ้นของหน่วยราชการ เป็นหมู่อาสาพัฒนาป้องกันตนเอง (อพป.) ซึ่งจัดสรรที่ดินให้ชาวบ้านปลูกบ้านเรือนกันครอบครัวละ 1 ไร่ จากเดิมที่เคยอาศัยอยู่กันอย่างกระจายตัวตามแนวเทือกเขา และเขตป่าไม้
ชาวซำเรในประเทศไทยส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในเขตภาคตะวันตก โดยเฉพาะในพื้นที่จังหวัดตราด กระจายตัวอยู่ในหลายอำเภอ มีความหนาแน่นในพื้นที่ตำบลนนทรีย์ อำเภอบ่อไร่ จังหวัดตราด ซึ่งมีลักษณะนิเวศน์แบบพื้นที่เขตภูเขา เหมาะแก่การทำเกษตร ดังนั้นจึงพบว่าชาวซำเรในพื้นที่นี้ส่วนใหญ่ทำการเกษตรเป็นหลัก
ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพด้านการเกษตร รับจ้างสวนปาล์ม เพาะพันธุ์กล้าไม้กฤษณา (ไม้หอม) สวนยางพารา สวนผลไม้ และอาชีพเก็บของป่าขาย อีกส่วนหนึ่งก็รับจ้างทั่วไป รายได้ของประชากรในพื้นที่ต่อปีพอประมาณจำนวน 52,000 บาทต่อ/ครอบครัว/ปี
นอกจากนั้นผลิตภัณฑ์เครื่องจักสานจากคลุ้มของ "กลุ่มวิสาหกิจชุมชนจักสานบ้านคลองโอน" ก่อตั้งเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2550 โดยใช้ งบ SML มาจัดซื้ออุปกรณ์ในการผลิตซึ่งเป็นการรวมกลุ่มเพื่ออนุรักษ์ภูมิปัญญาชาวบ้านให้อยู่คู่ชุมชนตลอดไป กลุ่มอาชีพสตรี ผลิตภัณฑ์จักสาน ได้จดวิสาหกิจแล้วเมื่อวันที่ 14 ก.พ. 2551 และยังได้รับเป็นผลิตภัณฑ์ OTOP ระดับสามดาว ได้รับมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เป็นประเภทผลิตภัณฑ์จักสานไม้ไผ่ และคลุ้ม เมื่อปี พ.ศ. 2553 และ 2555
กล่าวได้ว่า ชาวซำเรส่วนใหญ่อาศัยการเก็บของป่าแถบเทือกเขาบริเวณใกล้เคียง บางคนเก็บผลผลิตจากป่าเพื่อชายให้กับพ่อค้าที่อาจจะเข้ามารับซื้อถึงในหมู่บ้าน แม้ว่าจะเป็นสิ่งผิดกฎหมายก็ตาม บางคนล่าสัตว์ประเภท หมูป่า ไก่ป่า ผู้ชายจะทำกับดักไม้ไผ่เพื่อจับสัตว์ขนาดเล็ก เช่น นก ปลา ผู้หญิงรับผิดชอบในการดูแลบ้านเรือน เตรียมกับข้าว ทำอาหาร ชาวซำเรบางครอบครัวทำการเกษตร เพาะปลูกทำไร่สับปะรด ปลูกมะม่วง กล้วย พริกไทย พริก และผลไม้ ตลอดจนพืชผักอื่น ๆ บางคนออกไปทำงานรับจ้างเป็นแรงงานในสวน บางรายที่มีที่ดินของตนเองก็จะทำการเกษตร ทำสวนยางพารา สวนผลไม้มากขึ้น ชาวซำเรส่วนใหญ่มีฐานะยากจน ส่วนน้อยที่จะมีอาชีพอื่น ๆ เช่น เป็นครู รับราชการ ตลอดจนเป็นเจ้าของกิจการ แม้ว่าปัจจุบันสถานทางเศรษฐกิจของหมู่บ้านของชาวซำเรจะดีขึ้นแล้วก็ตาม แต่ก็ยังถือว่า ค่อนข้างต่ำกว่าชาวบ้านโดยทั่วไป
ชาวซำเรอาศัยในครอบครัวเดี่ยว (nuclear family) มีพ่อเป็นหัวหน้าครอบครัวและมีระบบการแต่งงานแบบผัวเดียวเมียเดียว (monogamy) เมื่อมีครอบครัวถึงจะแยกสมาชิกออกไป ลูกๆ จะดูแลพ่อแม่เมื่อยามแก่เฒ่า ตามประเพณีดั้งเดิมแล้ว เมื่อสมาชิกของครอบครัวต้องการแต่งงานพวกเขาจะนำเหยือกน้ำไปวางไว้ที่บ้านของบุคคลที่ชอบ ในวันต่อมาถ้าเหยือกน้ำยังอยู่ในที่เดิมและยังเต็มอยู่หมายถึง ถูกปฏิเสธ แต่ถ้าเหยือกน้ำนั้นว่างเปล่า เป็นสัญลักษณ์ของการตอบตกลง แต่ประเพณีนี้กลับหายไปแล้ว
ส่วนการสืบสายสกุล เป็นไปตามฝ่ายชายแบบไทยปัจจุบัน
ชาวบ้านใกล้เคียงให้ความเห็นว่า ชาวซำเรส่วนใหญ่มีลักษณะทางกายภาพที่ค่อนข้างเห็นความแตกต่างจากคนกลุ่มอื่นทั่วไปในทางกายภาพอย่างเห็นได้ชัด ได้แก่ มีผิวคล้ำกว่าคนไทยทั่วไป มีรูปร่างเล็กกว่าคนพื้นถิ่น ริมฝีปากหนา และมีผมหยักศก ทุกวันนี้ค่อนข้างยากจะจำแนกด้วยลักษณะทางกายภาพว่าคนกลุ่มนี้ต่างจากคนอื่น ด้วยการแต่งงานข้ามกลุ่มของคนซำเรกับกับคนไทยมากขึ้น แต่ยังพอปรากฏลักษณะเหล่านี้อยู่บ้างในผู้สูงอายุ หรือผู้อาวุโสในหมู่บ้าน ขณะที่เครื่องแต่งกายเป็นไปเหมือนกับคนไทยในแถบพื้นที่ชนบททั่วไป
เครื่องแต่งกายไม่ได้สวมเครื่องแต่งกายตามประเพณีดั้งเดิมของพวกเขาแล้ว แต่สวมเครื่องแต่งกายเหมือนชาวนาเขมรทั่วไป ผู้หญิงซำเรสวมเสื้อผ้าหลายสีมีกระโปร่งยาวและมีผ้านุ่งอีกชั้น ผู้ชายซำเรสวมเสื้อเชิ้ตแขนสั้นหรือเสื้อคอกลมและกางเกงขายาวเมื่อทำงานที่บ้านหรืออยู่ในทุ่งนาพวกเขาจะถอดเสื้อออก ผู้หญิงซำเรไม่ตกแต่งหรือสวมใส่เครื่องประดับอัญมณีใดใด ผู้หญิงสูงวัยเกล้าผมมวย ส่วนผู้หญิงที่อ่อนอาวุโสลงมาจะไว้ผมยาว โดยปล่อยผม
รูปแบบบ้านดั้งเดิมมักสร้างด้วยไม้ยกพื้นสูงจากพื้นดิน ผนังกั้นด้วยไม้ อาจจะมีห้องแยกหรือไม่ก็ได้ขึ้นอยู่กับขนาดครอบครัว ปัจจุบันรูปแบบบ้านเปลี่ยนไปตามยุคสมัย มีการสร้างบ้านปูนชั้นเดียวมากขึ้น หรือบ้านสองชั้นโดยมีชั้นบนเป็นไม้ และชั้นล่างเป็นบ้านปูน บ้านแบบดั้งเดิมเริ่มลดน้อยลง ในขณะที่แบบแผนการสร้างบ้านของชาวซำเรในพื้นที่ไกล้เคียง เช่น ในพื้นที่เกาะกง พื้นที่่เสียบเรียบ มีลักษณะคล้ายคลึงกัน แต่มีบางอย่างแตกต่างกันออกไปในเชิงรายละเอียด
ชาวซำเรในเกาะกงทำบ้านขนาดใหญ่บนเสาสูงจากพื้นประมาณ 2 - 2.5 เมตร ผนังและพื้นทำจากไม้ หลังคามุงด้วยสังกะสี บันไดไม้พาดตรงขึ้นยังประตูใหญ่ ไม่มีราวบันได ภายในบ้านประกอบด้วยห้องขนาดใหญ่ห้องเดียว บางครั้งแบ่งเป็นห้องย่อย มีห้องนอนของพ่อแม่นอนต่างหาก
ชาวซำเรในเสียมเรียบสร้างบ้านยกพื้นเสาสูงพอ ๆ กับที่พบในเกาะกง แต่เสาจะสั้นกว่าประมาณ 0.5 - 1 เมตรจากพื้น วัสดุพื้นฐานเหมือนกัน เสาเรือนทำจากไม้ หลังคาและผนังทำจากไม้ไผ่ พื้นทำจากไม้ แต่ละมุมบ้านเป็นพื้นที่เก็บของภายในบ้าน เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้า วิทยุ โทรทัศน์ วีดีโอ อีกมุมหนึ่งวางกระสอบข้าวและตู้เสื้อผ้า เตียง และเสื่อไม้ไผ่สำหรับเด็ก ๆ มีอุปกรณ์อื่น ๆ อยู่อีกมุม แม้ว่าจักรยานแขวนอยู่บนผนัง บ้านที่มีขนาดใหญ่จะมีส่วนต่อออกไปเป็นห้องครัวอยู่บนเสาและเข้าออกได้โดยตรงจากห้องหลักของบ้าน ส่วนบ้านที่มีขนาดเล็กสร้างด้วยวิธีแบบดั้งเดิมและค่อนข้างคล้ายกับชาว Poarในจังหวัดพระวิหาร มีเตาไฟบนพื้นตรงกับประตูทางเข้า เตาไฟก่อขึ้นจากดินมีกรอบทำจากไม้
สภาพลำคลองโอนหลังชุมชนบ้านคลองโอน หมู่ที่ 4
ภายหลังเปลี่ยนแปลงมากขึ้น นิยมสร้างเรือนปูนชั้นเดียว มุงกระเบื้อง หรือบางครั้งก็สร้างเป็นเรือนสองชั้นโดยข้างบนเป็นไม้ และข้างล่างเป็นปูน ปัจจุบันนิยมกลับมาสร้างบ้านแบบสมัยใหม่มากขึ้น ดั้งเดิมบ้านทำจากไม้ไผ่เป็นหลัก
ลักษณะบ้านเรือนและหมู่บ้านของชาวซำเรในเสียมเรียบ อาศัยอยู่ในหลายหมู่บ้าน ไม่ได้ตั้งบ้านเรือนอยู่กันเป็นกลุ่ม จะอยู่อาศัยค่อนข้างไกลจากกัน ชาวบ้านไม่ได้มีการติดต่อต่อกันกับอีกบ้านหนึ่งซึ่งอยู่ไกลออกไป ชาวซำเรกล่าวว่า พวกเขาไม่ได้ติดต่อกับคนซำเรที่อาศัยอยู่หมู่บ้านข้างเคียงเลย
เช่นเดียวกับคนไทยทั่วไป
ชาวซำเรเป็นอีกกลุ่มหนึ่งที่มีมีประเพณีที่สืบทอดมาช้านานแล้วตั้งแต่โบราณ เรียกว่า "ผีแม่มด" ซึ่งเป็นผีประเพณีที่เกี่ยวข้องการเซ่นไหว้ผีโดยเฉพาะ ตามความเชื่อว่า มีผีอยู่รอบตัว ผีบางชนิดมาเข้าหรือทำให้ร่างกายเจ็บป่วย เช่น ผีร้าย เสือสมิง ถ้าผีเข้าทำอันตรายส่งผลทำให้เจ็บป่วยเป็นไข้หรือโชคไม่ดี จะต้องทำพิธีเซ่นไหว้ผี และ/หรือผีตนนั้นต้องการเป็นเพื่อนหรือต้องการมาเล่นกับคน ชาวซำเรเรียกพิธีนี้ว่า "เล่นผีแม่มด" ซึ่งทำกันในเวลากลางคืน พิธีหรือประเพณีนี้เป็นการแสดงออกถึงความเชื่อว่าด้วยเรื่องผี และเชื่อว่าจะนำสิ่งดีมาให้กับชุมชนและครอบครัว ขณะเดียวกันก็เป็นการปัดเป่าสิ่งชั่วร้ายออกไป ชาวซำเรจัดพิธีผีแม่มดในช่วงเดือน 2 ถึงเดือน 3 ตามปฏิทินจันทรคติ และประกอบพิธีเล่นผีแม่มดทุก ๆ ปี บางครอบครัวรวมกันจัด ขณะที่บางกลุ่มบางครอบครัวก็อาจจะแยกกัน ลักษณะของพิธีเล่นผีแม่มดคล้ายกับของชาวกะซอง
เมื่อทำพิธีจะมีร่างทรงซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้หญิง มีเครื่องประกอบพิธีเซ่นไหว้วางอยู่เบื้องหน้าเมื่อผู้ชายจะตีกลองอย่างต่อเนื่อง จะมีการร้องเพลงเชิญผีให้เข้ากับร่างทรง บรรยากาศของงานเล่นผีแม่มดเป็นไปด้วยความสนุกสนานรื่นเริง เมื่อผีเข้าร่างทรงก็จะเริ่มแสดงแสดงอากัปกิริยา และเมื่อผีออกจากร่างทรงแล้ว ก็จะเชิญผีตนอื่นเข้ามาอีก
เช่นเดียวกับชาวกะซองและคนไทยโดยทั่วไป
ใกล้เคียงกับชาวกะซอง และปฏิบัติตามประเพณีไทยร่วมสมัย
เมื่อชาวซำเรเสียชีวิตจะใช้การเผาที่วัดในท้องถิ่น
เป็นไปตามการบูชาเซ่นไหว้ตามเทศกาลพุทธศาสนา
เช่นเดียวกับคนไทย
ตามฤดูกาลแบบคนไทยท้องถิ่นจังหวัดตราด
ตามฤดูกาลแบบคนไทยท้องถิ่นจังหวัดตราด
คนซำเรนับถือภูตผีวิญญาณ เชื่อในเรื่องผี โดยเฉพาะอย่างยิ่งผีที่เกี่ยวข้องกับบรรพบุรุษ ชาวซำเรจะประกอบพิธีบูชาผี โดยเซ่นไหว้ด้วยอาหารและเหล้า แต่เดิมทุกปีแต่ละครอบครัวจะทำพิธีเซ่นไหว้บูชาผีในช่วงเดือน 4 ถึงเดือน 6 (ตามปฏิทินจันทรคติ) เพื่อขอให้ผีบรรพบุรุษปกป้องคุ้มครองลูกหลาน และขอพรจากบรรพบุรุษ ทุกวันนี้ชาวซำเรทั้งหมู่บ้านมะม่วงและบ้านคลองโอนเป็นพุทธศาสนิกชน พุทธกลายเป็นศาสนาหลักของคนซำเร มีวัดมะม่วงเป็นศูนย์กลางทางศาสนา มีพระสงฆ์ที่เป็นชาวซำเร ตลอดจนชาวซำเรบางครอบครัวส่งเสริมให้ลูกชายบวชเป็นพระเพื่อเข้าไปเรียน ตลอดจนส่งลูกเข้าไปในเมืองเพื่อได้รับโอกาสทางการศึกษามากขึ้น
ผู้นำในการประกอบพิธีกรรม คือ พ่อหมอ, แม่มด, ครูเซ่น
ผีฝ่ายร้าย หรือที่ชาวกะซองเรียกว่า "ผีแม่มด" เป็นวิญญาณที่ชาวบ้านเชื่อว่าสามารถก่อให้เกิดเภทภัยแก่ผู้คนได้ ซึ่งหากทำอันตรายหรือก่อภัย เชื่อกันว่าผีจะติดตามต้นไม้ ป่า เขา แม่น้ำ ลำคลอง หรือวัตถุต่างๆ หากมีคนไปทำให้ผีตนใดไม่พอใจอาจทำให้ผู้นั้นเจ็บไข้ เจ็บป่วย ไม่สบายได้ เมื่อเกิดอาการเจ็บป่วยกะทันหัน มักเชื่อว่า เป็นการกระทำของผีร้ายต่างๆ ต้องให้ผู้ที่สื่อสารกับผี หรือแม่มด หรือพ่อหมอดูว่า ผีชนิดใดทำให้เจ็บป่วย หรือมีผีตนใดติดตามมากับบุคคลผู้นั้นจนทำให้เจ็บป่วย จากนั้นจึงต้องบนบานขอขมาไถ่โทษให้ผู้เจ็บป่วยด้วยของเซ่นไหว้ เป็นสัตว์เลี้ยง เช่น ไก่ ไข่ เหล้า ข้าวสาร นอกจากนั้นจะต้องทำพิธีเชิญผีมาร่วมในประเพณีเซ่นไหว้ผีแม่มดในเดือน 3 ของทุกปีอีกด้วย
กลองยาว, ตะโพน ใช้ในงานประเพณีเซ่นไหว้ผีเดือน 3
ไม่ปรากฏชัด มักเป็นการร้องสดในประเพณีเซ่นไหว้ผีแม่มด
ร่ายรำในงานประเพณีเซ่นไหว้ผีแม่มด
นักภาษาศาสตร์ (Pornsawan Ploykaew, 2001)ศึกษาไวยากรณ์ภาษา ทั้งระบบเสียง ระบบคำและลักษณะโครงสร้างประโยค ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อความรู้ในภาษาซำเร ยังไม่มีการวิจัยระบบเสียงและระบบไวยากรณ์ของภาษานี้อย่างเพียงพอ และเป็นข้อมูลพื้นฐานในการฟื้นฟูสภาวะวิกฤติของภาษาหากเจ้าของภาษาต้องการรักษาภาษาของตนไว้ ผลการศึกษา พบว่า ภาษาและจะมีลักษณะของปราสาทในตระกูลมอญ-เขมร แต่ลักษณะการใช้ภาษาในปัจจุบันแสดงให้เห็นถึงอิทธิพลของภาษาไทยอย่างเด่นชัด เช่น คำศัพท์พื้นฐานครึ่งหนึ่งของข้อมูลประมาณ 3,000 คำ เป็นคำยืมจากภาษาไทย โดยเฉพาะหมวดคําไวยากรณ์ส่วนใหญ่ที่มาจากภาษาไทย มีการใช้หน่วยเสียงวรรณยุกต์เป็นลักษณะสำคัญในการแยกความหมายของคำควบคู่ไปกับการใช้ลักษณะน้ำเสียงซึ่งเป็นองค์ประกอบรอง และเกิดเป็นบางครั้ง นอกจากนี้ยังพบว่า ผู้พูดภาษามีอยู่เพียง 20 คน เด็ก ๆ เรียนภาษาไทยและใช้แต่ภาษาไทยเท่านั้น ในกลุ่มที่ยังพูดได้มักใช้ภาษาซำเร สลับกับภาษาไทย แต่ส่วนใหญ่ใช้ภาษาไทยมากกว่า ทัศนคติต่อภาษาของตนเองเป็นไปในทางค่อนข้างลบ นับได้ว่าภาษาซำเรเป็นภาษาที่อยู่ในภาวะวิกฤตขั้นสุดท้าย (the most serious stage of endangerment) หากเทียบกับบันไดลำดับสถานภาพของภาษาของ Fisherman (1991) กล่าวคือ สภาวะวิกฤตของภาษาในขณะนี้ แทบไม่มีโอกาสที่จะฟื้นฟูให้ภาษาคงอยู่ต่อไปได้ อีกประมาณ 20 ปีข้างหน้า ภาษาซำเรในประเทศไทยก็คงจะสูญหายไป
สถานการณ์เกี่ยวกับภาษาของกลุ่มซำเร จึงเป็นประเด็นหลักที่นักภาษาศาสตร์มุ่งความสนใจ และพยายามเข้าไปศึกษาทำความเข้าใจและฟื้นฟูทางภาษาเป็นสำคัญ โดยเฉพาะกิจกรรมทางวิชาการทางภาษาศาสตร์ที่พยายามส่งเสริมให้เกิดการฟื้นฟูทางภาษา แต่กลุ่มซำเรยังไม่มีการตื่นตัวในสถานการณ์ทางภาษานัก
ชาวซำเรที่บ้านคลองโอน มีการจักสานคลุ้มกันอย่างแพร่หลาย โดยทำกันมาตั้งแต่รุ่นปู่ย่าตายาย เริ่มจากการสานตะแกรงร่อนพลอย กระด้งฝัดข้าว กระบุงโรยข้าว และได้ทำสืบต่อกันมาจนรุ่นลูกหลานและได้มีการจัดตั้งกลุ่มจักสานขึ้น เพื่อเป็นการอนุรักษ์เครื่องจักสานให้ยังคงดำรงอยู่ในปัจจุบัน โดยสมาชิกภายในกลุ่มเป็นแม่บ้านและเยาวชนในหมู่บ้านและได้ช่วยกันระดมความคิดพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ๆให้สวยงามตามความต้องการของตลาดในปัจจุบัน โดยใช้วัตถุดิบในท้องถิ่นทั้งหมด ได้แก่ ต้นคลุ้ม ไม้ซี้ และหวาย ปัจจุบันกลุ่มแม่บ้านจักสานบ้านคลองโอน หมู่ 4 ตำบลนนทรีย์ได้จดทะเบียนจัดตั้งเป็นกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มจักสานคลุ้มบ้านคลองโอน และมีการดำเนินกิจการกลุ่มไปได้เป็นอย่างดี โดยมีหน่วยงานของรัฐเข้ามาให้การส่งเสริมและสนับสนุนด้านต่างๆให้กับกลุ่ม
ผลิตภัณฑ์เครื่องจักสานจากคลุ้มของ "กลุ่มวิสาหกิจชุมชนจักสานบ้านคลองโอน" ก่อตั้งเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2550 โดยใช้ งบ SML มาจัดซื้ออุปกรณ์ในการผลิตซึ่งเป็นการรวมกลุ่มเพื่ออนุรักษ์ภูมิปัญญาชาวบ้านให้อยู่คู่ชุมชนตลอดไป กลุ่มอาชีพสตรี ผลิตภัณฑ์จักสาน ได้จดวิสาหกิจแล้วเมื่อวันที่ 14 ก.พ.2551 และยังได้รับเป็นผลิตภัณฑ์ OTOP ระดับสามดาว ได้รับมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เป็นเภทผลิตภัณฑ์จักสานไม้ไผ่ และคลุ้ม เมื่อปี พ.ศ. 2553 และ 2555
สภาพพื้นที่เป็นป่าเขามีทั้งสมบูรณ์และเสื่อมโทรมมีต้นไม้หนาแน่นตามแนวชายแดนบริเวณเทือกเขาบรรทัด พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบเชิงเขาและเนินเตี้ยเตี้ยมีลำคลองหลายสายมาบรรจบกับแม่น้ำเขาสมิง ห่างจากชายแดนประมาณ 5 กิโลเมตรเป็นป่าเสื่อมโทรม พื้นที่ทำกินส่วนใหญ่เป็นพื้นที่สวนเป็นของคนนอกพื้นที่ ซึ่งส่วนมากที่เข้ามาทำกินบรรพบุรุษของ ชาวบ้านมะม่วงได้ขายไป 50 กว่าปีที่แล้ว จนเหลือเพียงเนื้อที่แถวข้างบ้านเท่านั้น คนพื้นบ้านส่วนใหญ่หาของป่าและรับจ้างทั่วไป ลูกหลานต่อมามีที่ดินทำกินน้อยจึงออกไปหากินในเมือง ทำให้เกิดปัญหาครอบครัวแตกแยก เป็นภาระต่อสังคมไม่มีอาชีพที่มั่นคงรองรับคณะกรรมการหมู่บ้านจึงดำเนิน "โครงการอยู่ดีมีสุข" เพื่อขออนุญาตจากหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องเพื่อปลูกป่าในพื้นที่สูงโทรมให้เป็นป่าชุมชนและปลูกพืชเศรษฐกิจ เช่น ยาง ไม้หอม ปาล์ม ไว้ให้ลูกหลานในชุมชนทำกินต่อไป เนื่องจากส่วนหนึ่งพื้นที่ป่าบริเวณรอบหมู่บ้านซึ่งเป็นป่าเสื่อมโทรมนั้นอยู่ในเขตป่าสงวนป่าอนุรักษ์และแหล่งกำเนิดต้นน้ำ ชาวบ้านจึงอยากริเริ่มโครงการป่าชุมชนและไม้เศรษฐกิจเพื่อจะทำให้ลูกหลานไม่ต้องไปรับจ้างนอกหมู่บ้านชุมชนจะได้มีความเข้มแข็ง และจัดการแบ่งแนวเขตให้ชัดเจนและป้องกันหน่วยงานของรัฐขัดแย้งกับชาวบ้าน
Access Point |
---|
No results found. |
ชาวซำเรที่บ้านคลองโอน ต.นนทรี อ.บ่อไร่ จ.ตราด ยังดำรงชีพกับวิถีเกษตรกรรม ทำไร่ทำสวน รวมถึงเก็บหาของป่า ผัก เห็ด ล่าสัตว์ขนาดเล็ก ในแถบเทือกเขาบริเวณใกล้เคียงชุมชน ทั้งเพื่อเป็นอาหารและเป็นรายได้เสริม ผลผลิตที่สำคัญของชุมชนคือผลิตภัณฑ์เครื่องจักสานจากคลุ้มและไม้ไผ่ของ “กลุ่มวิสาหกิจชุมชนจักสานบ้านคลองโอน” เป็นกิจกรรมที่รวมกลุ่มเพื่ออนุรักษ์ภูมิปัญญาชาวบ้านให้อยู่คู่ชุมชนตลอดไป