กลุ่มชาติพันธุ์ “ปะโอ” (Pa-O) จัดอยู่ในกลุ่มชาติพันธ์ที่พูดภาษาตระกูลจีน-ธิเบต เดิมทีปะโอมักถูกจัดอยู่ในกลุ่มย่อยของกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยง (ดู ทิพย์วิมล ศิรินุพงศ์ และ พรพรรณ กาญจนาธิวัฒน์, 2562: 13; ฟ้อน เปรมพันธุ์, 2560: 3) ก่อนที่จะถูกจัดเป็นกลุ่มชาติพันธุ์แยกในภายหลัง ตามตำนานของชาวปะโอกล่าวว่า พวกเขาอพยพมาจากตอนกลางของทวีปเอเชียมาตั้งถิ่นฐานบริเวณเมืองย่างกุ้งของพม่าและมีอาณาจักร เป็นของตนเอง จนเมื่อศตวรรษที่ 11 อาณาจักรของชาวปะโอพ่ายแพ้ให้กับอาณาจักรพุกาม จึงต้องหนีขึ้นไปอยู่บริเวณรัฐฉานของชาวไทใหญ่ รวมไปถึงบางส่วนของรัฐมอญและรัฐกระเหรี่ยง เนื่องด้วยชาวปะโอตั้งถิ่นฐานเป็นเพื่อนบ้านกับชาวไทใหญ่จึงมีการติดต่อไปมาหาสู่จนมีวัฒนธรรมที่คล้ายคลึงกัน (ล้านนาคดี มหาวิทยาลัยแม่โจ้, 2551; ศิราพร แป๊ะเส็ง, 2563) บุญช่วย ศรีสวัสดิ์ อธิบายว่า ชาวปะโออาศัยอยู่บริเวณรัฐฉานและที่ราบริมฝั่งแม่น้ำคง (สาละวิน) แต่งกายครึ่งพม่าครึ่งไตใหญ่ คือ โพกศีรษะโดยผ้าแพรสีขาว เหลือง บานเย็น ชมพู หรือเขียวอ่อน ๆ แล้วปล่อยชายผ้าห้อยลงมาทางข้างหู สวมเสื้อสีขาวหรือดำหนา ผ่าอกกลาง ติดกระดุมตามแนวผ่า นุ่งโสร่งตารางลายโต ๆ สวมรองเท้าหนังโคหัวหงอน (บุญช่วย ศรีสวัสดิ์, 2551[2493]: 65)
ชื่อเรียกตัวเอง
ปะโอ (Pa-O) เป็นชื่อที่เรียกตัวเองโดยแปลว่า “ชาวดอย” แต่ก็มีข้อสันนิษฐานว่าคำนี้น่าจะมาจากคำว่า “ผะโอ่” แปลว่า ผู้อยู่ป่า (ล้านนาคดี มหาวิทยาลัยแม่โจ้, 2551)
ปะโอ อีกความหมายหนึ่ง หมายถึง “ผู้เกิดขึ้นก่อนใคร” พระสมุหอานนท์ ปญฺญาปโชโ วัดหนองคำ ให้ความเห็นว่า จากการศึกษาของนักภาษาศาสตร์และนักโบราณคดี หลายท่าน ต่างให้ความเห็นพ้องกันว่า คำว่าปะโอ มาจำคำว่า ปยู Payu (Pyu) เมื่อแยกศัพท์แล้วจะพบว่าคำว่า ปะ หมายถึง การเกิดขึ้น การพบเจอ การเห็น หรือพบเห็นการเกิดนั้น หรือฟักออกมาจากใข่ หรือการแตกเมล็ดพันธุ์ ส่วนคำว่า อู หรือโอ หมายถึง ก่อน นำหน้า แรกเริ่ม ดั้งเดิม สูงส่ง แรกเริ่มดั้งเดิม จึงอาจกล่าวโดยสรุปว่า ปะโอ หรือปะอู ปยู ป็นชาติพันธุ์เก่าแก่ที่มีมาแต่ดั้งเดิมที่มีการบันทึกไว้ตั้งแต่ยุคสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่ในประเทศไทยรู้จักในนามของ ต่องสู้
ปะโอ เมื่อแยกคำแล้วมีผู้สันนิษฐานที่มาของคำวำ “ปะโอ” ว่าน่าจะมาจากคำว่า “ ผะโอ่ ” แปลว่าผู้อยู่ป่า เพราะในภาษาไทยคำตี่ คำวำ “อู่”แปลว่าอยู่ ในขณะที่ Russ Christensen(2006) ระบุไว้หนังสือชื่อ The Pa-O: Rebels and Refugees เกี่ยวกับภาษาปะโอ คำวำ “ปะ” หมายถึงเสียงแตกร้าว คำวำ “โอ” หมายถึง ปอกเปลือก ชาวปะโอในเมืองตะโถ่งทางตอล่างของประเทศพม่า เรียกคนปะโอที่อาศัยอยู่บนที่ราบสูงของรัฐฉานว่า ปะโอพื้นที่สูง (Highland Pa-O) ในทางกลับกัน คนปะโอในรัฐฉานตอนใต้ เรียกคนปะโอที่อาศัยอยู่บริเวณเมืองทำตอนทางตอนล่างของประเทศพม่าว่า ปะโอที่ราบต่ำ (LowlandPa-O)
ชื่อที่เรียกโดยคนอื่น
ตองซู่,ต่องสู้, ต่องสู่ เป็นชื่อที่ชาวพม่าใช้เรียกชาวปะโอ โดยตองซู่แปลว่า ชาวเขา (บุญช่วย ศรีสวัสดิ์, 2545[2506]: 95) เช่นเดียวกับชาวไทใหญ่ที่เรียกชาวปะโอ ว่า “ตองซู่” (หรือ “ต่องสู้” หรือ “ต่องสู่” ตามการออกเสียงของแต่ละท้องถิ่น) แปลว่า ชาวหลอย หรือ ชาวดอย (ล้านนาคดี มหาวิทยาลัยแม่โจ้, 2551; ศิราพร แป๊ะเส็ง, 2563) อย่างไรก็ตาม ถึงแม้คำว่า ตองซู่ จะมีความหมายคล้ายกับคำว่า ปะโอ ที่เกี่ยวกับการเป็นชาวป่าชาวดอย แต่ชาวปะโอ ไม่ชอบคำเรียกนี้เนื่องจากแฝงนัยยะดูแคลน (ศิราพร แป๊ะเส็ง, 2563)
ต่องตู (Taungthu) เป็นคำเรียกชาวปะโอในภาษาพม่า และต่องสู่ (Taungsu) หรือตองสู่ (Tongsu) ในภาษาไทใหญ่ ซึ่งในภาษาพม่าจะหมายถึง คนใต้ ในกรณีพูดถึงกลุ่มปะโอที่อาศัยอยู่ที่ตะโถ่ง และหมายถึงคนภูเขา ในกรณีที่พูดถึงคนที่อยูํในพื้นที่รัฐฉาน แต่พวกเขาจะเรียกตัวเองว่าปะโอ (Christensen and Sann Kyaw 2006)
กะเหรี่ยงพะโค เป็นชื่อที่ชาวกะเหรี่ยงเรียกชาวปะโอ สันนิษฐานว่าน่าจะเรียกตามอย่างชาวพม่า เนื่องจากในอดีตชาวปะโอที่เคยมีอาณาจักรเป็นของตนเองที่เมืองสะเทิม มีพุทธศาสนาที่รุ่งเรือง แต่ภายหลังถูกกษัตริย์พม่าตีแตก แล้วต้อนชาวปะโอไปสร้างเจดีย์ที่เมืองพะโค จึงน่าจะถูกเรียกว่า กะเหรี่ยงพะโค (ล้านนาคดี มหาวิทยาลัยแม่โจ้, 2551)
กะเหรี่ยงดำ เป็นคำที่กะเหรี่ยงสะกอใช้เรียกชาวปะโอ (บุญช่วย ศรีสวัสดิ์, 2545[2506]: 95) เช่นเดียวกันกับเป็นคำเรียกปะโอในหมู่ชาวพม่าและไทใหญ่ ซึ่งมีที่มาจากการแต่งกายของสตรีปะโอที่เป็นชุดสีดำ (สุริยา รัตนกุล และ สมชาย บุรุษพัฒน์, 2538: 1)
ปีงบประมาณ 2564 อัปโหลดเมื่อวันที่ 18 กันยายน 2564
ทิพย์วิมล ศิรินุพงศ์ และ พรพรรณ กาญจนาธิวัฒน์. (2562). ใจแผ่นดิน แผ่นดินกลางใจกะเหรี่ยงแก่งกระจาน. กรุงเทพฯ: มูลนิธิผสานวัฒนธรรม (Cross Cultural Foundation).
บุญช่วย ศรีสวัสดิ์. (2545[2506]). ชาวเขาในไทย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มติชน.
ปิ่นมณี สาระมัย. (2561). การฟ้อนมองเซิงของชาวกุลาในจังหวัดอุบลราชธานี. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 9(2).
พรพิมล ตรีโชติ. (2542) ชนกลุ่มน้อยกับรัฐบาลพม่า. สานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย. กรุงเทพมหานคร
ฟ้อน เปรมพันธุ์. (2560). “ชนชาติพันธุ์กะเหรี่ยงในกาญจนบุรี”, ใน ฟ้อน เปรมพันธุ์ และคณะ, ภูมิปัญญากะเหรี่ยงในกาญจนบุรี. กาญจนบุรี: สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฎกาญจนบุรี
ล้านนาคดี มหาวิทยาลัยแม่โจ้. (2551). ชาติพันธุ์ล้านนา - ต่องสู้ ต่องสู่ หรือ ต่องซู่. สืบค้น 17 กรกฎาคม 2563, จาก http://www.openbase.in.th/node/6435.
ศิราพร แป๊ะเส็ง. (2563). “สืบค้น ตามหา ปะโอที่เชียงคำ”, ใน บทความ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์กรมหาชน) สืบค้น 17 กรกฎาคม 2563, จาก https://www.sac.or.th/main/th/article/detail/129.
สุจิตต์ วงษ์เทศ. บรรณาธิการ. 2546. ทุ่งกุลา “อาณาจักรเกลือ” 2,500 ปี จากยุคแรกเริ่มล้าหลังถึงยุคมั่งคั่งข้าวหอม. กรุงเทพฯ: มติชน.
สุธิดา ตันเลิศ และพัชรี ธานี. 2559. ประวัติศาสตร์กุลา. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 12(1).
สุริยา รัตนกุล และ สมชาย บุรุษพัฒน์. (2538). สารานุกรมกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงสะกอ. นครปฐม: สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล.
อดิศร เกิดมงคล.(2555) แรงงานข้ามชาติชาวปะโอจากพม่าในกรุงเทพฯ : ชีวิตข้ามพรมแดนบนพื้นที่ของอำนาจและการต่อรอง. วิทยานิพนธ์ศิลปาสตรมหาบัณฑิต คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. กรุงเทพมหานคร.
อิสริยะ นันท์ชัย และ โชติมา จตุรวงค์. 2562. สถาปัตยกรรมจองวัดปะโอ(ต่องสู้) ในประเทศไทยและเมืองสะเทิม ประเทศพม่า ใน หน้าจั่ว ฉบับที่ 16 ฉบับที่ 1 หน้า 8-31.กรุงเทพมหานคร.
Christensen, Russ and Sann Kyaw (2006). The Pa-O : Rebels and Refugees. Chiang Mai. Silkworm Books
จังหวัดที่กระจายตัวตั้งถิ่นฐาน | จำนวนครัวเรือน | จำนวนประชากร |
---|---|---|
แม่ฮ่องสอน เชียงราย | 42 | 226 |
แผนแม่บทการพัฒนากลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย (พ.ศ.2558-2560). กรุงเทพฯ : กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
ในประเทศไทย ชาวปะโอ เข้ามาหลากช่องทางและหลายระลอก ทั้งจากเงื่อนไขของการกวาดต้อนผู้คนในยุคเก็บผักใส่ซ้าเก็บข้าใส่เมือง จนถึงยุคของการทำไม้ของอังกฤษในช่วงอาณานิคม รวมถึงการอพยพระลอกใหญ่ในช่วงความไม่สงบภายในประเทศ และในช่วงเศรษฐกิจในประเทศไทยเฟื่องฟู ต้องการแรงงานจากต่างแดนเข้ามาทำงาน ชาวปะโอก็เคลื่อนย้ายเข้ามาอันเนื่องมาจากปัจจัยทางเศรษฐกิจอีกระลอกหนึ่ง
ทั้งนี้พบว่า ชาวปะโอที่เคลื่อนย้ายเข้ามในประเทศไทยในยุคแรกๆ นั้น ได้กลืนกลาย แต่งงานข้มวัฒนธรรมกับคนท้องถิ่น ได้รับสถานะความเป็นคนไทย หากแต่ยังคงธำรงอัตลัษณ์ความเป็นเชื้อสายชาวปะโอเอาไว้ เหนี่ยวแน่น และเจือจางตามแต่ละเหตุปัจจัย โดยพบว่าชาวปะโอในประเทศไทยนั้นอาศัยตั้งถิ่นฐานอยู่หนาแน่นในหลายชุมชนในเขตจังหวัดแม่ฮ่องสอนและเชียงราย นอกจากนี้ยังพบว่าชาวปะโอตั้งบ้านเรือนในอำเภอต่างๆ ของจังหวัดเชียงใหม่ มีลูกหลานสืบเชื้อสายกลายเป็นคนเมืองไปหมด เช่น แถวหน้าตลาดเก่า อำเภอหางดง บ้านแม่ก๊ะ อำเภอสันป่าตอง บ้านข่วงเปา อำเภอแม่ริม อำเภอแม่อาย บ้านเวียง อำเภอฝางและบ้านบ่อหิน อำเภอพร้าว รวมถึงมีชุมชนขนาดเล็ก ๆ ปะปนไปกับคนท้องถิ่นในพื้นที่เส้นทางการค้าโบราณ ซึ่งสะท้อนมาให้เห็นในรูปแบบของสถาปัตกรรมวัดวาอารามและเรื่องเล่า เช่น วัดนันตาราม จ.พะเยา วัดศรีรองเมือง วัดม่อนปู่ยักษ์ จ.ลำปาง ดหนองคำ จ. เชียงใหม่ กลุ่มสถาปัตยกรรมกลุ่มนี้ล้วนแล้วแต่ตั้งอยู่ในพื้นที่ภคเหนือตอนบน นอกจากนี้ ประเด็นเกี่ยวการตั้งถิ่นฐานในอีสาน หากแต่กลุ่ทนี้ถูกเรียกว่ากุลา และปัจจุบันก็ยอมรับตัวเองในชื่อเรียกนั้น ชาวกุลา (ตองซู่) รุ่นแรกๆ ที่เดินทางเข้ามาค้าชายและแต่งงานกับผู้หญิงในท้องถิ่นอีสาน ต่างก็อยู่กันอย่างกระจัดกระจาย เมื่อชาวกุลาเหล่านั้นเสียชีวิต ขนบธรรมเนียมประเพณีของชาวกุลาก็สูญหายไปกับเจ้าของ หรือบางคนกลืนกลายเป็นคนในท้องถิ่นที่ตนอาศัยอยู่ จากการสำรวจเบื้องต้นในงานวิจัยพบว่ามีหมู่บ้านที่มีลูกหลานของชาวกุลา รวมทั้งประเพณีวัฒนธรรมที่ยังหลงเหลืออยู่ไม่มากนัก อยู่ใน ส่วนใหญ่ในเขตบ้านโนนใหญ่ ต.ก่อเอ้ อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี บ้านบึงแก อ. มหาชนะชัย จ.ยโสธร บ้านฝาง อ.เกษตรวิสัย จ.ร้อยเอ็ด จังหวัดกาฬสินธุ์ และจังหวัดมุกดาหาร
ในขณะที่กลุ่มที่เคลื่อนย้ายเนื่องจากเหตุปัจจัยทางด้านเศรษบกิจนั้นเข้ามาอยู่ในกิจรรมทางเศรษฐกิจฐานรากของประเทศไทย โดยเฉพาะในกิจการแปรรูปไม้ งานก่อสร้าง หรือแม่บ้าน โดยส่วนใหญ่มักพบในพื้นที่เชียงใหม่ และกรุงเทพมหานคร
คนปะโอมีความสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้องกับสังคมไทยมาตั้งแต่ช่วงสมัยสุโขทัยแล้ว เดวิด วัยอาท (David K Wyatt) นักประวัติศาสตร์ที่ศึกษาประวัติศาสตร์ไทยตั้งข้อสันนิษฐานว่า ในสมัยที่มีการเผยแพร่พุทธศาสนาแบบเถรวาทเข้ามาในประเทศไทยนั้นพระสงฆ์ที่เดินทางเข้ามาเผยแพรํในพื้นที่แถบภาคกลางและภาคเหนือของไทย เป็นพระสงฆ์ที่มาจากบริเวณเมืองตะโถ่ง ซึ่งน่าจะเป็นพระสงฆ์ชาวปะโอ และชาวมอญ (Wyatt, 1984 อ้างใน Christensen and Sann Kyaw 2006: 40) ในยุคต่อมาสมัยพระเจ้าบุเรงนอง (Bayinnaung) ที่ยกทัพไปรบกับไทใหญ่ และกวาดต้อนผู้คนจำนวนมากเข้ามารบกับอาณาจักรลานนาในช่วงประมาณปีพ.ศ.2101 ซึ่งในกลุ่มนั้นก็มีชาวปะโอรวมอยู่ด้วย และเมื่อยึดล้านนาได้ ทำให้เกิดการตั้งถิ่นฐานของชาวปะโอในอาณาจักรล้านนา ต่อมาในสมัยพระเจ้ากาวิละ ได้สวามิภักดิ์กับพระเจ้ากรุงธนบุรี และช่วยขับไล่พม่าออกไปจากแผ่นดินสยามและอาณาจักรล้านนา พระเจ้ากาวิละรบชนะเมืองเชียงตุง และสิบสองปันนา จึงได้กวาดต้อนผู้คนเข้ามาในอาณาจักรล้านนา เป็นยุคที่เรียกว่า “เก็บผักใส่ซ้า เก็บข้าใส่เมือง” และอีกกลุ่มก็อพยพมาจากรัฐฉาน พม่า และลาว ล้านนา จึงเป็นกลุ่มคนหลายเชื้อชาติมาอยู่ร่วมกันมีทั้งไทยลื้อ ไทเขิน ไทยอง ไทยวน ไทใหญ่ กระเหรี่ยง มอญ ต่องสู้(ปะโอ) ลัวะ ขมุและชาวเขา เผ่าต่างๆ แต่ละชนเผ่าจะมีหมู่บ้านเป็นของตัวเอง และตั้งชื่อหมู่บ้านตามถิ่นเดิมที่จากมา เช่นเมืองวะ บ้านเลน เป็นต้น เมื่อมีการตั้งถิ่นฐานและมีสถานะเป็นพลเมืองได้ระดับหนึ่ง จึงได้ชักชวนญาติพี่น้องที่อยู่ต่างแดนอพยพมาตั้งรกรากในอาณาจักรล้านนาจนถึงปี 2502(สุเทพ2525: 133-148) ยุคต่อมา ก็จะพบชาวปะโอที่เข้ามาในฐานะพ่อค้าคนกลางที่ค้าขายสินค้าทั้งจากตะโถ่ง และตองจี เข้ามาค้าขายในบริเวณภาคเหนือของไทย
ช่วงพ.ศ. 2428 หลังจากอังกฤษเข้ามายึดครองพม่า ความวุ่นวายและความอ่อนแอในราชสำนักพระเจ้าสีป๊อยุติลง ประกาศให้พม่าเป็นมณฑลหนึ่งของอินเดีย ในหัวเมืองต่างๆ เกิดความวุ่นวาย จลาจล เกิดการแตกแยก รบพุ่งทำสงคราม ซึ่งกลุ่มชนเผ่าต่างๆ ทำการต่อต้านอังกฤษ ทำให้ชาวไทใหญ่ และปะโอ ตามเมืองต่าง ๆ ที่ถูกปราบปราม และที่ได้นับความเดือดร้อนจากสงคราม ได้อพยพเข้ามาในเมืองต่างๆ ของดินแดนล้านนา จัดว่าเป็นรุ่นที่ 1 ภายหลังที่ไทยทำสนธิสัญญาเบาว์ริง ใน พ.ศ. 2411 และการทำสนธิสัญญาเชียงใหม่ฉบับที่ 2 มีผลให้บริษัทชาวอังกฤษในพม่า เช่น บริษัทบริติชบอร์เนียว บริษัทบอมเบย์เบอร์ม่า เข้ามาทำกิจการสัมปทานป่าไม้เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง แพร่ น่าน มีชาวพม่า ไทใหญ่ ต่องสู้ เดินทางเข้ามาทำงานด้วย และกลุ่มชนเหล่านี้ได้กลายเป็นผู้รับไม้รายย่อยส่งให้บริษัทใหญ่ในพม่า
การทำไม้สักของอังกฤษในประเทศพม่าทางใต้ ได้ย้ายเข้ามาทำไม้สักยังภาคเหนือของประเทศไทยในช่วงปลาย ค.ศ.1850 และ 1860 อุตสาหกรรมการทำไม้สักในระยะเวลา 7 ปีทางภาคเหนือของประเทศไทย จึงอาศัยแรงงานชาวพม่า มอญ และไทใหญ่ ซึ่งส่วนใหญ่ถูกเกณฑ์มาจากประเทศพม่าโดยอยู่ภายใต้อังกฤษ นอกจากนี้ กลุ่มคนงานทำไม้สักทั้งชาวมอญและไทใหญ่ อาจจะมีชาวปะโอปะปนรวมอยู่ด้วย เพราะมีชาวปะโอส่วนใหญ่เป็นคนทำไม้สักบนภูเขาทางทิศตะวันออกของเมืองท่าตอน และเมาะตะมะ (Martaban / Moulmein) เมื่อข้ามชายแดนมาใกล้กับแม่สอด บางคนได้ทำงานในป่าทางตอนเหนือใกล้กับแม่สะเรียง ก่อนที่จะเคลื่อนย้ายมาทางป่าตะวันออกใกล้กับเชียงใหม่ ลำปาง แพร่และน่าน ส่วนอื่นๆ เดินทางตรงมาจากแม่สอดไปยังป่าทางภาคเหนือ
กลุ่มชาวพม่า ชาวไทใหญ่และชาวต่องสู้มีฐานะมั่งคั่งร่ำรวย ได้สร้างบูรณปฏิสังขรณ์วัดวาอารามใกล้เคียงกับสถานที่อาศัยของพวกตน ที่มีชื่อเสียงในจังหวัดเชียงใหม่ได้แก่ จองหม่องพิส ได้บูรณะเจดีย์ วิหารพระเจ้าองค์หลวง วัดมหาวัน จองจิ่งนะ บูรณะกฏิวัดหนองคำ หลวงโยนการพิจิตร (ปันโหย่ อุปโยคิน) สร้างวัดอุปคุตม่าน (ปัจจุบันถูกรื้อทิ้งและสร้างพุทธสถานขึ้นมาแทน) ประกอบกับมีชาวต่องสู้ที่เข้ามาแสวงโชคได้รับคำชักชวนและคำบอกเล่าถึงความ อุดมสมบูรณ์ความสงบสุขในล้านนา จึงเดินทางเข้ามาติดต่อค้าขายสินค้าวัวต่าง ๆ และส่วนหนึ่งได้แต่งงานกับผู้หญิงล้านนา ชาวต่องสู้ได้มาตั้งบ้านเรือนที่อยู่อาศัยใกล้เคียงชาวไทใหญ่และชาวพม่า อย่างสงบสุข พบหลักฐานจากคำบอกเล่าว่าชาวปะโอ ชาวพม่า ชาวไทใหญ่ ตั้งร้านค้าเป็นแบบ “เรือนแพ” หรือเรือนแถว ขายของอยู่ย่านท่าแพ อุปคุต ใกล้ศาลต่างประเทศ ตลาดวโรรส (กาดหลวง) ย่านช้างม่อย ที่มีอาชีพเดินทางค้าขาย ก็ตั้งบ้านเรือนในตรอกซอกซอยแถววัดมหาวัน วัดบูรพาราม วัดเชตวัน วัดหนองคำ
ดังกล่าวข้างต้นว่าชาวปะโอในยุคแรกเริ่มนั้นเดินทางเข้ามาทำไม้และค้าขายในกลุ่มพ่อค้นทางไกล ซึ่งมีหลากหลายกลุ่มชาติพันธุ์ ทั้งชาวจีนยูนนาน ชาวพม่า ชาวไทใหญ่ และชาวปะโอ โดยเส้นทางโบราณที่เดินทางเข้ามาค้าขายนั้นมีสี่เส้นทางหลัก ได้แก่
1. เส้นทางแม่ฮ่องสอน มาทางบ้านผาปูน ผ่านเมืองปาย เมืองยวม ส่วนใหญ่เดินทางมาจากเมืองหมอกใหม่ เมืองป๋อน เมืองหนองบอน
2. เส้นทางฝาง มาจากเมืองปั่น เมืองนาย
3. เส้นทางแม่สาย เป็นกลุ่มที่มาจากเมืองต่องกี เมืองหนอง
4. เส้นทางแม่สอด เป็นกลุ่มที่มาจากเมืองตะถุ่ง เมืองมะละแหม่ง
ทั้งนี้ Le May (1986) ได้ท่องเที่ยวในประเทศไทยในปี 1913-1914 และได้พบกับชาวตองซู่ทางเหนือของแพร่ และพบชาวตองซู่ที่เชียงคำ บริเวณใกล้ชายแดนไทย-ลาว พื้นที่ทางตอนใต้ของ อ.แม่สอด พ่อค้าชาวปะโอจากเมืองท่าตอน ก็เข้ามาพร้อมกับวัว ควาย และสินค้าอย่างอื่นตั้งแต่ยุคการค้าในอดีต และเส้นทางสงครามผ่านภูเขา Dawna เป็นเทือกเขาทอดยาวผ่านประเทศไทย ทุกวันนี้ เมืองชายแดนแม่สอด เป็นที่รับรู้ว่าเป็นแหล่งค้าพลอยจากประเทศพม่าและเป็นตลาดสินค้า ซึ่งมีคนทำงานในโรงงานที่แม่สอดจำนวนมากมาจากประเทศพม่า อันประกอบด้วยชาวปะโอ มอญ กะเหรี่ยง และพม่า โดยที่แม่สอดมีชุมชนชาวปะโอประมาณ 50 หลังคาเรือนอาศัยอยูํในเขตแม่ตาว ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของแม่สอด เรื่อยไปถึงบริเวณแม่น้ำเมย นอกจากนี้ ที่แม่ตาวยังมีวัดพุทธของชาวปะโอ ชื่อ วัดไทยวัฒนาราม (หรือบางครั้งคนในท้องถิ่นเรียกว่าวัดแม่ตาว หรือวัดเงี้ยว) รวมทั้งมีกลุ่มฟ้อนรำของชาวปะโอของวัดนี้ด้วยชาวปะโอกลุ่มอื่นๆ เข้ามายังประเทศไทยได้ด้วยมีทักษะฝีมือในการทำไม้ และเป็นคนขี่ช้าง
ชาวปะโอเดินทางผ่านเส้นทางค้าขายในอดีตจากเมืองตะโถ่ง ทางตอนล่างของพม่า และจากเมืองตองจี ทางรัฐฉานตอนใต้ เข้ามายังภาคเหนือของประเทศไทย ในปี 1876Scott ได้กล่าวถึง พ่อค้าชาวต่องตู และพ่อค้าเร่ทำการค้าในเส้นทางระหว่างเชียงตุง(Kengtung) เชียงใหม่ และลำปางในขณะที่คนทางภาคเหนือของประเทศไทยระบุถึงชื่อเสียงของชาวปะโอ หรือ ตองซู่ ด้านการปศุสัตว์และคนเลี้ยงม้า พวกเขานำวัว ควาย จากรัฐฉานตอนใต้เข้ามายังภาคเหนือของประเทศไทย จากที่แนวชายแดนเป็นที่รู้จักด้วยการพบปะกับผู้ซื้อในรัฐฉานฝั่งที่อยู่ด้านชายแดน พ่อค้านำเอายาสมุนไพรและสิ่งของ ข้ามเส้นชายแดนเข้ามาสู่เชียงใหม่ หรือที่ไหนสักแห่งที่จะขายของได้จนหมด บางคนทำการค้าภายในประเทศไทย ซึ่งโดยทั่วไปอยู่ระหว่างเส้นทางเมืองชายแดน เช่น อ.แม่สาย อ.ฝาง และเมืองใหญ่อย่างเช่น เชียงราย เชียงใหม่ พ่อค้ารายเล็กๆ หลายคนได้ลงหลักปักฐานในภาคเหนือของประเทศไทย (Scott 1944 อ้างในChristensen and Sann Kyaw 2006: 46)
ในประเทศพม่า มีชาวปะโอจำนวนมากที่สุดในรัฐฉาน โดยตั้งถิ่นฐานอยู่ทางด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ของรัฐฉาน รองลงมาอยู่ในเขตตะโถ่ง รัฐมอญ และยังมีชุมชนบางส่วนกระจัดกระจายอยู่ในย่างกุ้ง และมัณฑเลย์ มีภาษาเป็นของตนเอง โดยส่วนใหญ่ใช้ภาษาปะโอในชีวิตประจำวัน และบางส่วนสามารถสื่อสารภาษาไทใหญ่ และภาษาพม่าได้ จากการสำรวจทางภาษาศาสตร์โดยรัฐบาลอักฤษในช่วงปี คศ. 1931 พบว่ามีกลุ่มคนที่พูดภาษาปะโอประมาณ 750,000 โดยการสำรวจนี้ไม่ได้สำรวจในลักษณะทางชาติพันธุ์ จึงอนุมานได้ว่าน่าจะมีชาวปะโอจำนวนมากกว่านี้ ที่ใช้ภาษาอื่น ๆ ในการสื่อสารนอกเหนือจากภาษาปะโอ
ตำนานชาวปะโอ ที่ระบุว่า พวกเขาอพยพมาจากทิศใต้บนที่ราบสูงของทวีปเอเชียตอนกลาง เข้ามายังพม่า ในประเทศพม่าตอนล่างพวกเขาได้สถาปนาเมืองตะโถ่ง ซึ่งเป็นทิศตะวันออกของเมืองย่างกุ้งในปัจจุบัน พวกเขาเฟื่องฟู พัฒนาอาณาจักร และมีวัฒนธรรมชาวเมืองที่มีความสลับซับซ้อนมากขึ้น (sophisticated) ภายหลังจากการเสื่อมสลายของตะโถ่ง ตั้งแต่ปี A.D. 10571(ชาวปะโออ้างว่าตะโถ่งเป็นเมืองหลวงที่มีกษัตริย์ของตนปกครอง แม้ว่านักประวัติศาสตร์ทุกคนล้วนเห็นตรงกันว่าตะโถ่งเคยเป็นอาณาจักรของชาวมอญก็ตาม)
คำอธิบายเกี่ยวกับการเคลื่อนย้ายตัวของชาวปะโอก็มุ่งไปที่เส้นทางการอพยพของชาวปะโอจากเมืองตะโถ่งไปยังเมืองสะทุง (Hsa Htung)ขณะเดียวกัน Christensen and Sann Kyaw (2006)ระบุว่า มีจำนวนประชากรชาวปะโอทางอยู่ตอนเหนือของที่ราบริมแมํน้ำซิททาง (Sittang) อันเป็นเส้นทางหลักในการเดินจากท่าตอนขึ้นมาทางทิศเหนือ พบชาวปะโอจำนวนมากอยู่ทางตะวันออกของท่าตอน ตลอดเส้นทางจาก ตะโถ่ง-พะอัน กอกาเรก-ถนนแม่สอด (Thaton-Pa-an-Kawkareik-Mae Sod road) ซึ่งเคยเป็นเส้นทางสงคราม/และเส้นทางค้าขายโบราณมายังประเทศไทย ซึ่งมีแนวโน้มที่นำเชื่อว่าบรรพบุรุษชาวปะโอน่าจะอพยพมาทางตะวันออกมากกว่าจะขึ้นไปทางเหนือ ชาวปะโอเหล่านั้นเดินทาง มาถึงที่ราบสูงรัฐฉานและปักหลักในพื้นที่ฟากตะวันตกของทะเลสาบอินเล ทั้งนี้ถัดจากชาวอินทา แล้ว ชาวปะโอเป็นชาติพันธุ์กลุ่มใหญ่รองลงมาซึ่งอาศัยอยู่บริเวณทะเลสาบอินเลส่วนใหญ่อยูํในพื้นที่รัฐฉาน และกระจายตัวอยูํในรัฐกะเหรี่ยง รัฐกะเรนนีและทางตอนกลางของพม่าแล้ว
การเคลื่อนย้ายเข้ามาของชาวปะโอในช่วงความไม่สงบในประเทศพม่มีหลายระลอกด้วยกัน ทั้งนี้ไม่เฉพาะชาวปะโอเท่านั้น แต่ชนกลุ่มน้อยอื่น ๆ ในประเทศพม่าเคลื่อนย้ายเข้าสู่ประเทศไทยจำนวนมากในช่วงสงครามภายในระหว่างรับบาลทหารกับกองกำลังชนกลุ่มน้อย
ในช่วงปี 2493 หลังจากที่กองกำลังของพรรคก๊กมินตั๋งพ่ายแพ้ต่อพรรคคอมนิวนิสต์จีน และได้มีการถอยทัพเข้ามาในเขตรัฐฉาน ผู้คนจำนวนหนึ่งในรัฐฉานก็อพยพโยกย้ายมาทางชายแดนตอนเหนือของไทย
ในช่วงปี พ.ศ. 2505 นับเป็นปีที่มีความสำคัญของกระบวนการอพยพข้ามถิ่นของประชาชนจากพม่าทั้งที่เป็นชาวพม่าเองและชนกลุ่มน้อยชาติพันธุ์แต่กลุ่มบุคคลที่ได้รับผลกระทบทางการเมืองและการปราบปรามอย่างรุนแรงกลับเป็นกลุ่มชาติพันธุ์หรือชนกลุ่มน้อย (พรพิมล ตรีโชติ 2548:16)
ในช่วงปี พ.ศ. 2520 สถานการณ์ความรุนแรงในประเทศพม่า ส่งผลให้ชาวปะโอมีการอพยพย้ายถิ่นเข้ามาในประเทศไทยแต่กระจายตัวอยู่ตามแนวชายแดนไทย-พม่าแต่เน้นฝั่งพม่มากกว่า และเริ่มเข้ามาในประเทศไทยแถบจังหวัดแม่ฮ่องสอนที่จำนวนเพิ่มมากขึ้นในช่วงปี 2536
ในช่วงปี 2527การสู้รบกันระหว่าง กองทัพเมิงไต (Mong Tai Army) ของขุนส่ากับทหารพม่า ทำให้ชาวบ้านในรัฐฉานซึ่งมีกลุ่มปะโอประมาณสี่ร้อยคน ต้องอพยพหลบหนีเข้ามายังพื้นที่ชายแดนของไทย และเมื่อขุนส่าเจรจาหยุดยิงและเข้าร่วมกับพม่า
ในช่วงนปี พ.ศ. 2531 เมื่อรัฐบาลพม่าได้วางนโยบายในการจัดการกับปัญหากองกำลังชนกลุ่มน้อยอย่างเบ็ดเสร็จ เพื่อแก้ไขความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลพม่ากับกองกำลังชนกลุ่มน้อยกลุ่มต่าง ๆ (พรพิมล ตรีโชติ 2548:42)
ในช่วงปี 2540 กองทัพรัฐฉาน (ShanState Army – SSA) ก็เข้ายึดบริเวณบ้านหัวเมืองฝั่งตรงข้ามกับชายแดนจังหวัดแม่ฮ่องสอน ซึ่งทำให้เกิดการอพยพเข้ามาของกลุ่มปะโอมายังชายแดนจังหวัดแม่ฮ่องสอนอีกระลอกหนึ่ง
ในระยะเวลา 26 ปี (ค.ศ. 1962-1988) ที่พลเอกเนวินและกลุ่มทหารพม่าได้อยู่ในอำนาจปกครองสหภาพพม่า โดยมีลักษณะเผด็จการที่อาศัยอุดมการณ์สังคมนิยม ทำให้สหภาพพม่าต้องประสบปัญหาทั้งทางด้านการเมือง ทางด้านเศรษฐกิจ และทางด้านสังคมส่งผลให้เกิดการเคลื่อนย้ายของผู้คนในรัฐชาติพันธุ์จำนวนมากเข้าสู่ประเทศไทย
Access Point |
---|
No results found. |