คำศัพท์

A | B | C | D | E | F | G | H | I | J | K | L | M | N | O | P | Q | R | S | T | U | V | W | X | Y | Z | ทั้งหมด
แสดง 11-20 จากทั้งหมด 29 รายการ

การศึกษาดนตรีในทางมานุษยวิทยา เป็นการศึกษาวัฒนธรรมดนตรีที่อยู่นอกสังคมตะวันตก เพื่อสำรวจและทำความเข้าใจประสบการณ์ของการใช้อุปกรณ์สร้างเสียงชนิดต่างๆที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้น  อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบัน นักมานุษยวิทยาก็หันมาศึกษาวัฒนธรรมดนตรีในสังคมตะวันตกด้วย เพราะเชื่อว่าในแต่ละวัฒนธรรม มนุษย์จะมีกิจกรรมทางดนตรีในแบบของตัวเอง

อ่านต่อ..
ผู้เขียน: ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ

หัวเรื่องอิสระ: มานุษยวิทยาดนตรี

วิทยาศาสตร์ในมุมมองทางมานุษยวิทยา คือชุดของความรู้อย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นในสังคมตะวันตกในยุคสมัยใหม่ และมีอิทธิพลต่อการอธิบายความจริงต่างๆของสังคมและชีวิตมนุษย์ นักมานุษยวิทยาที่วิพากษ์ความรู้วิทยาศาสตร์ ตั้งคำถามเกี่ยวกับญาณวิทยาและกระบวนทัศน์ที่นักวิทยาศาสตร์ใช้สร้างทฤษฎีเกี่ยวกับมนุษย์และสังคม ซึ่งครอบงำแวดวงวิชาการ แม้แต่มานุษยวิทยาในระยะแรกๆ ก็นำเอากระบวนทัศน์แบบวิทยาศาสตร์มาใช้ศึกษาวัฒนธรรมของมนุษย์ด้วย 

อ่านต่อ..
ผู้เขียน: ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ

หัวเรื่องอิสระ: มานุษยวิทยาว่าด้วยวิทยาศาสตร์

การท่องเที่ยวในมิติมานุษยวิทยา สนใจรูปแบบและผลกระทบของการท่องเที่ยวที่มีต่อมนุษย์และชุมชนท้องถิ่น  ในแง่ของรูปแบบ จะเป็นการศึกษาพฤติกรรมนักท่องเที่ยว การจัดการท่องเที่ยว และกิจกรรมต่างๆที่สัมพันธ์กับการท่องเที่ยว ในแง่ของผลกระทบ จะเป็นการศึกษาสิ่งที่เปลี่ยนแปลงในชุมชนท้องถิ่นในมิติต่างๆ เช่น เศรษฐกิจ การทำมาหากิน วัฒนธรรม วิถีชีวิต และสิ่งแวดล้อม เป็นต้น

อ่านต่อ..
ผู้เขียน: ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ

หัวเรื่องอิสระ: มานุษยวิทยาการท่องเที่ยว

Anthrozoology คือวิชาที่ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสัตว์ หรือเป็นการศึกษาชีวิตทางสังคมของสัตว์ในวัฒนธรรมของมนุษย์ การศึกษาดังกล่าวนี้เพิ่งเกิดขึ้นมาไม่นานและเป็นศาสตร์ที่อาสัยความรู้จากหลายสาขาวิชา ทั้งมานุษยวิทยา สังคมวิทยา สัตววิทยา ชาติพันธุ์วิทยา จิตวิทยา สัตวแพทยศาสตร์ ชีววิทยา ประวัติศาสตร์ และปรัชญา เป็นต้น

อ่านต่อ..
ผู้เขียน: ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ

หัวเรื่องอิสระ: ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสัตว์

มานุษยวิทยาประยุกต์ หมายถึง การนำเอาแนวคิดทฤษฎีและระเบียบวิธีวิจัยทางมานุษยวิทยาไปประยุกต์ใช้กับการวิเคราะห์และการแก้ปัญหาทางสังคม นอกจากนั้น นักมานุษยวิทยาที่ทำงานดังกล่าวยังต้องร่วมมือกับนักวิชาการสาขาอื่นๆในการแสวงหาแนวคิดและแนวทางแก้ปัญหาในประเด็นทางสังคมและวัฒนธรรม ซึ่งอาจช่วยสร้างแนวนโยบายให้กับองค์กรของรัฐและเอกชนในการพัฒนาสังคมและช่วยเหลือมนุษย์

อ่านต่อ..
ผู้เขียน: ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ

หัวเรื่องอิสระ: มานุษยวิทยาประยุกต์

Avunculate หรือ Avunculism คือลักษณะของสังคมที่ผู้ชายที่เป็นญาติข้างแม่จะมีบทบาทหน้าที่พิเศษภายใต้ความสัมพันธ์กับหลานที่เป็นลูกของพี่สาวหรือน้องสาว โดยทั่วไป พี่ชายคนโตของแม่มักจะมีความสำคัญและจะทำหน้าที่เป็นหัวหน้าครัวเรือน ส่วนสามีของแม่ที่มาจากคนต่างตระกูลจะมีบทบาทน้อยกว่า  

อ่านต่อ..
ผู้เขียน: ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ

หัวเรื่องอิสระ: ความสัมพันธ์ระหว่างลุงกับหลาน

“แอนโทรพอซีน” (Anthropocene) เป็นศัพท์ทางวิชาการ ที่ถูกนำมาประยุกต์ใช้ในงานด้านวิทยาศาสตร์และมนุษยศาสตร์-สังคมศาสตร์ หมายถึง สมัยที่กิจกรรมของมนุษย์รบกวนสภาวะตามธรรมชาติของโลก โดยสอดคล้องกับปรากฏการณ์การเติบโตของประชากรแบบก้าวกระโดด ผลกระทบของกิจกรรมเหล่านี้ ได้ทิ้งร่องรอยไว้ในอากาศ น้ำ และตะกอนดินทับถม ซึ่งสามารถตรวจวัดได้ด้วยวิธีทางธรณีวิทยา และวิทยาศาสตร์แขนงอื่น

อ่านต่อ..
ผู้เขียน: ดร.ตรงใจ หุตางกูร และนัทกฤษ ยอดราช

หัวเรื่องอิสระ: แอนโทรพอซีน, วิทยาศาสตร์, สังคมศาสตร์

ทฤษฎีเครือข่าย-ผู้กระทำเป็นเครื่องมือวิเคราะห์ที่เริ่มต้นจากฐานคิดที่ถือว่าสิ่ง ต่าง ๆ ไม่ว่าจะดำรงอยู่ในโลกทางสังคมวัฒนธรรมหรือโลกธรรมชาติต่างก็เกาะเกี่ยวกันอยู่ภายใน “ข่ายใยความสัมพันธ์” (web of relations) และความสัมพันธ์ดังกล่าวก็เป็นสิ่งที่ก่อให้เกิด “ความจริง” (reality) หรือ “รูปร่าง” (form) ของสิ่งนั้น ๆ ก

อ่านต่อ..
ผู้เขียน: ชัชชล อัจนากิตติ

หัวเรื่องอิสระ: ทฤษฎ๊, มานุษยวิทยา, เครือข่ายผู้กระทำ

เอียน วิลคินสัน (Iian Wilkinson) และอาร์เธอร์ ไคลน์แมน (Arthur Kleinman) เสนอว่าการหันมาให้ความสนใจกับปฏิบัติการของการใส่ใจดูแลเป็นส่วนหนึ่งของการตอบสนองและแก้ไขความทุกข์ทนทางสังคม และการพัฒนาความรู้ในประเด็นนี้ทั้งในภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติมีความสำคัญไม่น้อยไปกว่ากัน โดยเฉพาะการนำความรู้เรื่องนี้ไปประยุกต์ใช้ในโลกแห่งความเป็นจริงอย่างกระตือรือร้น

อ่านต่อ..
ผู้เขียน: ชัชชล อัจนากิตติ

หัวเรื่องอิสระ: มานุษยวิทยา, การใส่ใจ, การดูแล, ความห่วงใย

โลกิยนิยม (Secularism) หมายถึงการให้คุณค่าชีวิตที่ดำรงอยู่ในกิจกรรมทางสังคมที่จับต้องและสัมผัสได้เชิงประจักษ์ บางครั้งตอบโต้กับความเชื่อทางศาสนาที่สอนให้เชื่อในอำนาจของพระเจ้าและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ความสงสัยและความหมดศรัทธาต่อพระเจ้าและคำสอนทางศาสนาคือเงื่อนไขหนึ่งที่ทำให้เกิดการโต้แย้งเกี่ยวกับคุณค่าของมนุษย์ นำไปสู่การตื่นตัวของระบบเหตุผลและการใช้สติปัญญาเพื่อหาทางออกใหม่ๆที่ต่างไปจากกฎทางศาสนา

อ่านต่อ..
ผู้เขียน: ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ

หัวเรื่องอิสระ: มานุษยวิทยา, โลกิยนิยม, เหตุผล, ความรู้วิทยาศาสตร์, สังคม