คำศัพท์

A | B | C | D | E | F | G | H | I | J | K | L | M | N | O | P | Q | R | S | T | U | V | W | X | Y | Z | ทั้งหมด
แสดง 61-70 จากทั้งหมด 232 รายการ

การแสดงออกทางท่าทาง (Gesture) ของมนุษย์เป็นการสื่อสารความหมายชนิดหนึ่ง ซึ่งท่าทางอาจใช้เป็นสัญลักษณ์ มีการจัดระเบียบของการเคลื่อนไหวทางร่างกายและอวัยวะต่างๆ  ท่าทางการเคลื่อนไหวนี้อาจปรากฎอยู่ในกิจกรรมต่างๆ เช่น ศิลปะการป้องกันตัว การเล่นกีฬา การเต้นรำ การแสดง การประกอบพิธีกรรมและงานเฉลิมฉลองต่างๆ การเคลื่อนไหวร่างกายเหล่านี้ล้วนมีแบบแผนที่ชัดเจน       

อ่านต่อ..
ผู้เขียน: ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ

หัวเรื่องอิสระ: การแสดงออกทางท่าทาง

          การนินทา เป็นพฤติกรรมทางสังคมชนิดหนึ่งซึ่งเกิดขึ้นเหมือนเป็นเกมส์ สมาชิกในกลุ่มจะใช้การนินทาเพื่อธำรงรักษาความแน่นแฟ้นของกลุ่ม ซึ่งเมื่อมีการนินทาใครสักคนก็จะเกิดการตัดสินและประเมินคุณค่าพฤติกรรมของคนๆนั้น  แม็ก กลั๊กแมน(1963) กล่าวว่าการนินทาเป็นเครื่องมือในการควบคุมทางสังคมและสร้างสังคมของกลุ่ม เป็นการควบคุมพฤติกรรมที่ยอมรับไม่ได้ให้อยู่ในขอบเขต  กลั๊กแมน  ศึกษาการนินทาด้วยทฤษฎีโครงสร้างหน้าที่   ซึ่งมองว่าการนินทาจะช่วยให้สังคมดำรงอยู่ได้  การนินทาได้แยกพรมแดนระหว่างพฤติกรรมที่น่ายกย่องกับพฤติกรรมที่น่าตำหนิออกจากกัน ซึ่งทำให้สังคมกลมเกลียว และช่วยควบคุมความขัดแย้งไม่ให้ปะทุขึ้นมา  

อ่านต่อ..
ผู้เขียน: ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ

หัวเรื่องอิสระ: การนินทา

ความเสียใจหมายถึงการตอบสนองทางอารมณ์และความคิดของบุคคลที่รู้สึกสูญเสีย  การไว้ทุกข์หมายถึงพฤติกรรมหรือการกระทำในพิธีกรรม ในแต่ละวัฒนธรรมจะมีคำอธิบายเพื่อความโศกเศร้า หรือเพื่อให้ที่กำลังโศกเศร้าเนื่องจากสูญเสียคนที่รัก  ความแตกต่างระหว่างความเศร้ากับการไว้ทุกข์ คือ ความเศร้าเป็นพฤติกรรมส่วนบุคคลที่วัฒนธรรมมีส่วนกำหนด  แต่ความเศร้ากับการไว้ทุกข์มีความหมายที่ใกล้เคียงกัน เนื่องจากเป็นเรื่องยากที่จะตั้งกฏเกณฑ์ที่แน่นอนว่าผู้ที่สูญเสียจะแสดงความเศร้าอย่างไร และเมื่อไหร่จึงจะต้องไว้ทุกข์

อ่านต่อ..
ผู้เขียน: ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ

หัวเรื่องอิสระ: ความโศกเศร้า

          คำว่า Hermeneutics  หมายถึงระเบียบวิธีที่ใช้ตีความข้อเขียน โดยเฉพาะการตีความข้อเขียนในคัมภีร์ไบเบิล ตีความวรรณกรรมและงานเขียนทางปรัชญา  เป็นวิธีการสำรวจตรวจสอบด้วยการสังเกตอย่างละเอียด และเป็นการทำความเข้าใจเรื่องราวของมนุษย์ด้วยสติปัญญา   นักวิชาการที่ใช้ระเบียบวิธีนี้ ได้แก่ นักประวัติศาสตร์ศิลป์ นักวิจารณ์วรรณคดี นักประวัติศาสตร์ศาสนา นักสังคมวิทยา เทววิทยา รวมทั้งนักมานุษยวิทยาด้วย 

อ่านต่อ..
ผู้เขียน: ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ

หัวเรื่องอิสระ: การตีความข้อเขียน

         ประวัติศาสตร์นิยม (Historicism) หมายถึงวิธีคิดที่มองและสนใจเหตุการณ์เฉพาะในช่วงเวลาอดีต ในพื้นที่บางแห่ง ในวัฒนธรรมและสังคมบางแห่ง ความสนใจลักษณะเฉพาะที่เกิดขึ้นนี้นำไปสู่การมองวัฒนธรรมที่แตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ โดยมองว่าวัฒนธรรมแต่ละแห่งมีความเป็นมาไม่เหมือนกัน    โจฮันน์ กอตไฟรด์ วอน เฮอร์เดอร์คือผู้ที่นำแนวคิดประวัติศาสตร์มาศึกษามนุษย์  เขากล่าวว่า ประวัติศาสตร์ไม่ใช่สิ่งสากล   เหตุการณ์แต่ละยุคสมัยเกิดขึ้นและจบไปไม่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์อื่น

อ่านต่อ..
ผู้เขียน: ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ

หัวเรื่องอิสระ: ประวัติศาสตร์นิยม

         การไร้บ้าน หมายถึงสภาพของคนที่ไร้ที่อยู่ หรือผู้ที่ไม่สามารถหาที่อยู่เป็นของตัวเองได้ ซึ่งสาเหตุอาจจะมาจากหลายปัจจัย เช่น การถูกทอดทิ้ง การหนีออกจากบ้าน การไร้ที่พึ่ง ความยากจน เป็นต้น ผู้ที่ไร้ที่อยู่อาศัยจึงร่อนเร่พเนจรไปตามที่ต่างๆ ไม่มีอาชีพ ไม่มีรายได้ที่แน่นอน    รูปแบบของการไม่มีบ้าน อาจมี 2 ลักษณะคือ  การอยู่อาศัยตามท้องถนน และการอาศัยอยู่ในแหล่งเสื่อมโทรมในย่านอุตสาหกรรม   แต่การอยู่อาศัยแบบย้ายที่อยู่ไปเรื่อยๆ เช่น ในสังคมเร่ร่อนเลี้ยงสัตว์ของชาวยิปซี จะไม่ถือว่าเป็นการไร้บ้านเพราะเป็นรูปแบบทางวัฒนธรรมของคนกลุ่มนี้

อ่านต่อ..
ผู้เขียน: ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ

หัวเรื่องอิสระ: การไร้บ้าน

       มานุษยวิทยาสนใจศึกษาเกียรติยศและความอายในช่วงทศวรรษ 1960 โดยเข้าไปศึกษาในเขตเมดิเตอร์เรเนียน ซึ่งเป็นสังคมที่มีการแบ่งแยกเพศโดยมีศาสนาเป็นข้อกำหนด โดยเฉพาะศาสนาคริสต์และอิสลาม เรื่องเพศจะเกี่ยวข้องกับการใช้อำนาจที่สัมพันธ์กับบทบาทชายหญิง   ซึ่งผู้ชายจะถูกคาดหวังว่าต้องแข็งแกร่งอดทน ผู้หญิงต้องนุ่มนวลอ่อนหวาน ในวัฒนธรรมเมดิเตอร์เรเนียนมองว่าเกียรติยศคือระบบคุณค่าทางสังคม บุคคลจะต้องมีค่าในตัวเอง ส่วนความอายจะบ่งบอกถึงความล้มเหลวในคุณค่าของตัวเอง

อ่านต่อ..
ผู้เขียน: ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ

หัวเรื่องอิสระ: เกียรติยศและความอาย

        ความเป็นสากลของมนุษย์ (Human Universals) หมายถึง ลักษณะที่มนุษย์มีร่วมกันไม่ว่าจะเป็นเชื้อชาติหรือเผ่าพันธุ์ใด ซึ่งโดนัลด์ บราวน์ (1991) นักมานุษยวิทยาอเมริกันได้แยกประเด็นความเป็นสากลของมนุษย์เป็น 67 ประเด็น ประเด็นที่สำคัญได้แก่ การรู้จักทำอาหาร สร้างที่อยู่อาศัย สร้างชุมชน สร้างระบบการปกครอง การสื่อสารด้วยภาษา ระบบเครือญาติ  คติความเชื่อ การสร้างกฎระเบียบทางสังคม การสร้างเครื่องมือเครื่องใช้ และการแสดงออกทางศิลปะและดนตรี เป็นต้น

อ่านต่อ..
ผู้เขียน: ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ

หัวเรื่องอิสระ: ความเป็นสากลของมนุษย์

         มานุษยวิทยาแนวมนุษยนิยม (Humanistic Anthropology) หมายถึง การศึกษาระบบคุณค่าและความหมายที่มนุษย์สร้างขึ้นในรูปแบบต่างๆ เช่น งานวรรณกรรม งานศิลปะ งานสร้างสรรค์ต่างๆ อย่างไรก็ตามแนวคิดเกี่ยวกับมนุษยนิยม (humanism) คือรากฐานของการสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับมนุษย์ เพราะแนวคิดนี้วางประสบการณ์ของมนุษย์ไว้ตรงกลางและปฏิเสธอำนาจที่มองไม่เห็น หรืออำนาจเหนือธรรมชาติ   humanism จึงเชื่อมั่นในการกระทำของมนุษย์เหนือสิ่งอื่นใด หรืออาจกล่าวได้ว่าเป็นความศรัทธาในตัวมนุษย์ การให้ความสำคัญกับมนุษย์นี้อาจนำไปประยุกต์ใช้ในการศึกษาทางมานุษยวิทยา จนเกิดแนวคิดเรื่อง humanistic anthropology ขึ้น

อ่านต่อ..
ผู้เขียน: ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ

หัวเรื่องอิสระ: มานุษยวิทยาแนวมนุษยนิยม

        ข้อห้ามการมีเพศสัมพันธ์กับญาติพี่น้อง (Incest Taboo) เป็นกฎสำหรับพี่น้องร่วมสายโลหิตในครอบครัวเดี่ยว และอาจรวมถึงญาติที่เกิดจากการแต่งงาน  ข้อห้ามนี้พบเห็นได้ในหลายวัฒนธรรม ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม ข้อห้ามการร่วมประเวณีในครอบครัวเป็นปรากฏการณ์ที่ก่อให้เกิดแนวคิดทฤษฎี ครอบครัวถูกนิยามด้วยระบบคุณค่าที่ต่างกันสองแบบ  แบบแรกโดยฟอร์เตส นิยามความหมายของครอบครัวว่าเป็นหลักเกณฑ์ของการสร้างมิตร ซึ่งจำเป็นต้องมีญาติพี่น้องที่ปฏิบัติต่อกันอย่างซื่อสัตย์และเป็นเอกภาพเดียวกัน  แบบที่สอง ตามความหมายของข้อห้ามการร่วมประเวณี ครอบครัวหมายถึงบุคคลที่มีพลังขับทางเพศที่ต้องการระบาย และอยู่นอกกฎเกณฑ์ข้อผูกมัดทางสังคม

อ่านต่อ..
ผู้เขียน: ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ

หัวเรื่องอิสระ: ข้อห้ามการมีเพศสัมพันธ์ระหว่างญาติพี่น้อง